ชีวิตของลูกไม้หล่นใต้ต้น ดร.นิธินาถ สินธุเดชะ เตลาน ลูกสาว อาจารย์แม่
“เคยมีคนพูดไว้ว่าชีวิตของเรานั้นมีสามด้าน

คือแบบที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น

แบบที่เราคิดว่าเราเป็น

และแบบที่เราเป็นจริงๆ”


วันนี้เราจะพาทุกท่านไปคุยกับผู้หญิงเก่งรอบด้านคนหนึ่ง ที่บริหารจัดการชีวิตในทุกด้านของตัวเอง

ได้อย่างสวยงามและน่าประทับใจ

“ดร.นิธินาถ สินธุเดชะ เตลาน” หรือที่ใครๆเรียกว่า  “ด็อกเตอร์ปุ้ม”

จบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากนั้นก็บินข้ามฟ้าไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก

ที่มหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา

ไม่น่าเชื่อว่า หญิงสาวที่อยู่ตรงหน้าเราจะมีอายุขึ้นเลขสี่แล้ว

ด้วยใบหน้าที่อ่อนกว่าวัย อีกทั้งรอยยิ้มที่เปิดเผย

ทำให้เราคิดไปว่ากำลังนั่งคุยกับบัณฑิตที่เพิ่งจบใหม่มาด้วยซ้ำ 

"หลังจากจบที่อักษรฯจุฬาแล้ว ปุ้มไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยบอสตันค่ะ"

เธอเล่าว่า "ปุ้มได้ปริญญามาสามใบ คือ สองปริญญาโทกับหนึ่งปริญญาเอก"

ที่มหาวิทยาลัยบอสตัน ดร.นิธินาถ ได้รับปริญญาโทในสาขาการสื่อสารและประชาสัมพันธ์

กับสาขาการบริหารและนโยบายองค์กร และได้รับปริญญาเอกในสาขาการพัฒนาองค์กรและบุคคลากร 

"แต่เชื่อไหมว่าสมัยตอนที่ปุ้มเรียนที่โรงเรียนสาธิตฯจุฬา

ปุ้มเป็นเด็กที่มีปัญหากับการเรียนมาก เรียนไม่รู้เรื่อง อ่านหนังสือไม่ออก

ไม่ฟอลโลว์ ไม่สนใจอะไรทั้งนั้น ไม่เข้าใจที่คุณครูสอนเลย

ปุ้มจะเป็นประเภทแบบอันนี้ทำไมมันต้องเป็นแบบนี้

ถ้าเป็นแบบอื่นแล้วมันจะทำไมเหรอ ทำไมต้องแบบนี้ด้วย อะไรประมาณนี้"

ดร.นิธินาถเล่าไปหัวเราะไป
 

"เวลาผลสอบออกมา แม่ไม่เคยถามว่าได้ที่เท่าไหร่เลย

 แต่จะถามปุ้มว่าทั้งห้องมีนักเรียนเท่าไหร่

...เพราะว่าปุ้มจะได้ที่ท้ายๆตลอด"  เธอเล่า

"พอดีคุณแม่ของปุ้มเป็นคุณครูด้วยไงคะ

คุณแม่สังเกตว่าพฤติการรับรู้ของปุ้ม จะแปลกกว่านักเรียนคนอื่น

คุณแม่เลยไปปรึกษากับนักการศึกษาหลายท่านเรื่องลูกสาวตัวเอง

แล้วก็ร่วมมือกันค่อยๆ ป้อนข้อมูลต่างๆ เข้าสู่ตัวปุ้ม 

ค่อยๆ จูนกันทีละนิด จนปุ้มเรียนหนังสือรู้เรื่องในที่สุด"

คุณแม่ของคุณดร.นิธินาถก็คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สุนีย์ สินธุเดชะ 

หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า "อาจารย์แม่" นั่นเอง

เมื่อเราถามถึงคุณแม่ ดร.นิธินาถบอกว่า

"คุณแม่สบายดีค่ะ แข็งแรง อาจจะมีเดินช้าลงบ้าง แต่สมองยังเร็วและไวเหมือนเดิม"

เมื่อเราถามถึงหน้าที่การงานตอนนี้ ดร.นิธินาถเล่าให้ฟังว่า

"จริงๆแล้วงานหลักของปุ้มตอนนี้มีอยู่สองที่นะคะ

ปุ้มเปิดบริษัทปรึกษาด้าน Human Resource       

and Organization หน้าที่หลักก็คือปรับปรุงภาพลักษณ์ขององค์กร

เรื่องคนเรื่องการทำงานขององค์กรให้ไปในทิศทางเดียวกัน และมีเป้าหมายที่ชัดเจน

และเป็นที่ปรึกษาเรื่อง IPO หรือ Initial public offering ของบริษัทที่ต้องการเข้าตลาดหลักทรัพย์

รวมถึงเป็นที่ปรึกษาด้าน Corporate social responsibility หรือCSR ด้วยค่ะ"

เราฟัง ดร.นิธินาถเล่าให้ฟังด้วยความทึ่ง
 

"ส่วนอีกบริษัทนึงของปุ้ม เป็นบริษัทที่ปรึกษาเรื่อง Customer Relationship Managment หรือ CRM"

ดร.นิธินาถเล่าให้เราฟังว่า

"บริษัทของปุ้มเป็นพาร์ทเนอร์กับ Saleforce.com ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ CRM ที่ดีที่สุดในโลกขณะนี้

Saleforce.com เป็นบริษัทที่มีเรทติ้งสูงมาก ได้รับ Certificate ถึง 27,000

นอกจากนั้น ยังมีระบบที่แข็งแกร่งสามารถรองรับได้ทุกสถานการณ์เลยทีเดียว"

"ปัจจุบันนี้ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

ในขณะเดียวกันปุ้มก็ย้อนกลับมาถามตัวเองว่าเราได้ประโยชน์จาก CRM

แค่การดูแลรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นโจทย์ใหญ่เท่านั้นหรือ....

ซึ่งคำตอบในปัจจุบันนี้ มันไม่ใช่ ยิ่งการเจริญเติบโตแบบทะลุกราฟ ของกระแสโซเชียล มีเดีย

ทำให้เราต้องนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

และเราต้องวางกลยุทธ์การใช้โซเชียลมีเดีย เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่สุดเช่นเดียวกัน

นั่นคือหมายความว่า เราต้องหารายได้จาก CRM ให้ได้นั่นเอง

ซึ่งตรงนี้มีโซลลูชั่นที่เยี่ยมยอดมาก ปุ้มเองก็ดีใจและภูมิใจมาก

ที่เขาให้ความไว้วางใจให้เราเป็นพาร์ทเนอร์ในเมืองไทย"

มาถึงตรงนี้เราเห็นด้วยกับ ดร.นิธินาถว่า

การหารายได้จาก CRM นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย

แต่ว่ากระบวนการสร้างความพึงพอใจให้เกิดแก่ลูกค้าต่างหากที่สำคัญที่สุด

ทำอย่างไรให้ win-win เราขายของได้ ลูกค้าแฮปปี้มีความสุข ไม่รู้สึกว่าถูกยัดเยียด

อันนี้ซิที่ถือว่าเป็นศิลปะในการทำงานเลยก็ว่าได้
 
 

"ลูกค้าของปุ้มท่านนึง คือ คุณจันทนา สุขุมานนท์ แห่งปูนซีเมนต์นครหลวง

ท่านเป็นเจ้าแม่แห่ง CRM เลยก็ว่าได้ ปุ้มทำงานกับท่านสนุกมาก

เพราะท่านมีไอเดียดีๆ มากมาย

 มีอยู่ครั้งนึงท่านต้องการอวยพรวันเกิดให้กับดีลเลอร์ของท่าน

ท่านต้องการให้ทุกช่องทางที่ดีลเลอร์ท่านนั้นที่ติดต่อมากับทางบริษัท

จะได้พบกับการอวยพรวันเกิดของดีลเลอร์ท่านนั้น

เรียกว่าพอโทรไปที่คอลเซนเตอร์

กริ๊งแรกที่ยกหูขึ้นมาก็จะได้รับคำอวยพรจากบริษัทเลย

นอกจากนั้นในเวลาเจ็ดโมงเช้า

คำอวยพรต้องไปถึงท่านในทุกช่องการสื่อสารด้วย……เป็นไงคะมันส์มั้ย"

ดร.นิธินาถเล่าพลางถามพลางอย่างออกรส

นอกจากนี้ ดร.นิธินาถยังเล่าให้เราฟังอีกว่า

“ปุ้มกับเพื่อนที่ร่วมหัวจมท้ายกันมาตั้งแต่สมัยเรียนที่สาธิตฯจุฬา คือ คุณปราโมทย์ พรประภา

เราหุ้นกันเปิดสถาบันพัฒนาศักยภาพมายดีเอ็นเอ

สถาบันนี้เน้นนวัตกรรม 3 ขั้น เน้นการค้นพบตัวตนและศักยภาพที่แท้จริง

พร้อมพัฒนาสู่ความเป็นเลิศตามพรสวรรค์ ความสามารถของแต่ละบุคคล

เราวิเคราะห์ศักยภาพของมนุษย์ผ่านทางลายนิ้วมือ"

ดร.นิธินาถเล่าว่า

“เราเกิดมาพร้อมกับพิมพ์เขียวประจำตัว ทุกคนมีลายมือที่แตกต่างกันนะคะ

มายดีเอ็นเอ เป็นสถาบันที่มุ่งเน้นให้เกิดการค้นพบตัวเอง และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

โดยนำศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมาใช้

ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดีมาแล้วในหลายประเทศ เช่น กลุ่มสหราชอาณาจักร สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

แบ่งกระบวนการออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ค้นพบ (Discover) ปลดปล่อยพรสวรรค์ (Unleash)

และเพิ่มพูนศักยภาพ (Enhance) ให้เป็นเลิศ

โดยในขั้นตอนของการค้นพบ (Discover) ได้นำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการตรวจเส้นผิวลายนิ้วมือ (Dermotoglyphics)

โดย Prof. Jui Pin, LIN ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการมนุษย์และสมอง

ที่พัฒนาเป็นระบบประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ และตรงกับหลักวิทยาศาสตร์มากที่สุดค่ะ”

“การค้นหาศักยภาพนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นคว้าและบันทึกเป็นข้อมูลทางวิชาการมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1800 แล้ว

ว่าลายนิ้วมือของเรานั้นได้ถูกพัฒนามาพร้อมกับการเจริญเติบโตของสมอง ตั้งแต่อายุตั้งแต่สิบสามถึงยี่สิบเอ็ดสัปดาห์แล้วค่ะ

ทุกสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนต้นทุนของชีวิต

ต้นทุนเป็นอย่างไร เราก็สามารถพัฒนาเขาได้อย่างเต็มศักยภาพ

เป็นอย่างที่เขาอยากเป็น ไม่ใช่เป็นอย่างที่เราอยากให้เป็น” 

มาถึงตรงนี้เราเลยถามกลับไปว่า แล้วผู้ใหญ่หล่ะสามารถตรวจหาได้ไหม

ดร.นิธินาถตอบแบบยิ้มๆว่า
 

“ได้ซิค ะทำไมจะไม่ได้ เพียงแต่เรามีข้อจำกัดว่า จะสามารถพัฒนาตัวเขาได้ในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่เท่านั้นเอง

ตอนที่เอาเข้ามาแรกๆ นี่ เราก็ลองสแกนลายนิ้วมือกันเองเหมือนกันนะคะ

ผลที่ได้นี่ชัดเจนมาก ยกตัวอย่างตัวเองก็ได้ว่า ลายนิ้วมือของตัวปุ้มเองนี่

จัดอยู่ในกลุ่มของประเภทที่ว่า ถ้าดีก็จะดีไปเลยสุดยอด

แต่ถ้าไม่ดีก็จะยอดแย่ไปเลยเช่นกัน

ไม่มีตรงกลาง มีสูงหรือว่าต่ำไปเลย ไม่มีมัชฉิมาเลยก็ว่าได้ ซึ่งอันตรายมาก

ถ้าหากเด็กที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้รับการพัฒนาที่ไม่ถูกต้อง ผลเสียจะเกิดกับตัวของเขาเอง

และแน่นอนมันจะแย่ไปทั้งชีวิตเลยค่ะ”

“และนื่องจากที่ลายนิ้วมือของคนเราพัฒนาขึ้นพร้อมกับการสร้างเซลล์สมองนี่เอง

ความสามารถทางสมอง ลักษณะนิสัย ศักยภาพในด้านต่างๆ ของบุคคลโดยกำเนิด

จึงสามารถเชื่อมโยงไปถึงกันและกันได้เป็นอย่างดี

ชึ่งถ้าหากเราสามารถค้นพบความจริงข้อนี้ได้ ก็สามารถนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงอย่างถูกทิศทาง

ยิ่งพบตั้งแต่วัยเด็กก็ยิ่งพัฒนาได้อีกยาวไกล และนอกจากนั้นเรายังได้นำทฤษฎีพหุปัญญา

ซึ่งสนับสนุนความคิดที่ว่า มีปัญญาหลายแบบที่สามารถพบได้ในบุคคล มีจำแนกไว้ถึง 16 ประเภท

เช่น ปัญญาด้านการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ปัญญาด้านการวางแผนและการตัดสินใจ ปัญญาด้านความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

ปัญญาด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ปัญญาด้านศิลปะ ปัญญาด้านอีคิว มาค้นหาศักยภาพได้ตรงมากขึ้นค่ะ”ดร.นิธินาถกล่าวในที่สุด

นอกจากนั้น ดร.นิธินาถกับเพื่อนสนิท อาทิ คุณดวงฤทธิ์ บุนนาค ดร.ธรณ์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ 
และคุณปราโมทย์ พรประภา ร่วมกันทำกรีนโปรเจคขึ้นมาชิ้นหนึ่ง

“โครงการนี้ปุ้มกับเพื่อนสมัยเรียนทำกันเงียบๆ มาได้สี่ห้าปีแล้วค่ะ

เพื่อนกลุ่มนี้สนิทกันมาตั้งแต่สมัยเรียน คนนึงเป็นสถาปนิกหัวก้าวหน้า

อีกคนเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล ส่วนอีกคนก็เป็นนักบริหารที่มีการวางกลยุทธ์ได้เยี่ยมมาก

แต่ละคนก็เอาองค์ความรู้ของตัวเองที่มี โดยมีปุ้มนี่แหละค่ะเป็นตัวประสาน

เรามานั่งคิดกันว่าพอจะมีวิธีทำอะไร เพื่อช่วยให้โลกที่เราอยู่ตอนนี้มันดีขึ้นบ้างไหม” 

ดร.นิธินาถเล่าให้เราฟังแบบขำๆ ว่า “เราเรียกกันว่าสาหร่ายกู้โลกโปรเจคค่ะ” 

“เราวิจัยและหาข้อมูลรอบด้านภายใต้คำแนะนำของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

แล้วเราก็พบว่าสาหร่ายเป็นพืชที่ลดคาร์บอนในอากาศได้ดีที่สุดค่ะ

เราพบว่านี่แหละ คือ อาวุธที่เราใช้ต่อสู้กับภาวะโลกร้อนได้ดีที่สุด

เนื่องจากว่าเขาสามารถดูดซับก็าซเรือนกระจกที่มีอยู่ในอากาศได้ดีที่สุด

มากกว่าต้นไม้ใหญ่ๆซะอีก” 

เมื่อถามถึงระยะเวลาของโครงการนี้ ดร.นิธินาถบอกกับเราว่า

“ปีนี้เป็นปีที่สี่แล้วค่ะ 


LastUpdate 10/03/2557 17:05:05 โดย : Admin
กลับหน้าข่าวเด่น
19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 5:49 pm