แฟชั่น-เดินทาง-กินดื่ม-เที่ยว
อนาคตที่น่าจะสดใสของหนังโรมาเนีย ... by คุณนกฮูก


 

           ภาพยนตร์โรมาเนีย อาจไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสำหรับชาวไทยมากนัก  เพราะปกติภาพยนตร์ที่ฉายในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นภาพยนตร์จากฮอลลีวู้ด และภาพยนตร์ไทย  และก็จะมีภาพยนตร์เกาหลี จีน และญี่ปุ่น มาบ้างเป็นบางครั้ง  ส่วนภาพยนตร์จากประเทศอื่นๆนั้นน้อยมาก  นานๆจะมีมาสักเรื่อง  อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์โรมาเนีย เริ่มจะได้รับการจับตาจากชาวโลกมากยิ่งขึ้น   โดยล่าสุดเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ภาพยนตร์โรมาเนียเรื่อง "Child’s Pose " ประกาศศักดาคว้ารางวัลหมีทองคำหรือ Golden Bear อันเป็นรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่มจากเทศกาลภาพยนตร์เบอร์ลิน 

               

            Child’s Pose  เป็นผลงานการกำกับของ  คาลิน  ปีเตอร์ เนตเซอร์  บอกเล่าเรื่องราวของ คอร์นีเลีย   คุณแม่ที่ทำทุกวิถีทางที่จะไม่ให้ลูกชายติดคุก หลังจากลูกชายของเธอขับรถชนเด็กผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิต   ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นที่ถูกตาต้องใจของนักวิจารณ์ส่วนใหญ่ และเป็นความหวังว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะมีส่วนทำให้ภาพยนตร์โรมาเนียได้เป็นที่รู้จักและยอมรับในเวทีระดับนานาชาติเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

                ก่อนหน้านี้   โรมาเนีย ก็เป็นประเทศหนึ่งที่ค่อนข้างเข้มงวดในการสร้างภาพยนตร์เหมือนกัน แต่หลังจากที่จอมเผด็จการคอมมิวนิสต์อย่าง นิโคไล  เชาเชสคู  เสียชีวิตลง เมื่อปี 1989  ก็ทำให้ผู้คนมีเสรีภาพมากขึ้น รวมทั้งเรื่องของการสร้างภาพยนตร์

                ภาพยนตร์โรมาเนีย เริ่มเป็นที่พูดถึงของชาวโลกในปี 2005 เมื่อภาพยนตร์เรื่อง The Death  Of Mr.Lazarescu ได้รับการฉายในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์เมื่อปี 2005  ก่อนที่อีกสองปีต่อมาภาพยนตร์เรื่อง 4 Months 3 Weeks and 2 Days คว้ารางวัลปาล์มทองคำ หรือ Palme d’Or  หรือรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 

                ผมคิดว่าภาพยนตร์โรมาเนียในช่วงระยะหลังค่อนข้างมีคุณภาพ และทีแนวโน้มที่ดีว่าภาพยนตร์โรมาเนียน่าจะดีขึ้นและเป็นที่รู้จักมากขึ้น เนตเซอร์ กล่าว

                อย่างไรก็ตาม แม้ภาพยนตร์โรมาเนียแต่ละเรื่องจะแตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่มักจะสะท้อนออกมาในภาพยนตร์โรมาเนียคือการสะท้อนสังคมโรมาเนียออกมาได้อย่างลุ่มลึก

           

           

 

            สำหรับ  Child’s Pose นั้น เนตเซอร์ เปิกเผยว่าไม่ใช่ภาพยนตร์วิพากษ์วิจารณ์สังคม แต่เอาเข้าจริงๆ เรื่องนี้ก็กล่าวถึงสังคมอยู่ดีเพราะสะท้อนถึงเรื่องการคอรัปชั่นในหมู่คนรวย  ซึ่งก็คล้ายกับสังคมไทยที่เคยมีนักการเมืองคนหนึ่งพูดว่าตัวเองรวยแล้วไม่โกง แต่จริงๆก็มีหลักฐานให้เห็นและเป็นข่าวว่าคนพูดโกงมหาศาล

                การประสบความสำเร็จในเทศกาลภาพยนตร์เมืองเบอร์ลิน ทำให้หลายคนมองว่าเป็นผลดีต่อวงการภาพยนตร์โรมาเนีย  เพราะเชื่อว่าจะมีคนผลิตภาพยนตร์ดีๆออกมาอีกมาก หลังเห็นตัวอย่างของ

              

             

 

นอกเหนือจาก  Child’s Pose  แล้ว  มีภาพยนตร์อีกเรื่องที่คนกล่าวถึงมาก คือ ภาพยนตร์อิหร่านเรื่อง  Closed Curtain เนื่องจากเป็นภาพยนตร์ที่ จาฟาร์  พานาฮี  ผู้กำกับ แอบถ่ายทำในช่วงเวลาที่เขาถูกทางการอิหร่านห้ามสร้างภาพยนตร์ 20 ปี  และเรื่องนี้ก็ได้รับรางวัลในสาขาบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม   และเรื่องนี้ พานาฮี ก็สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้โดยสะท้อนว่าเสรีภาพของผู้คนในอิหร่านยังคงถูกแทรกแซงโดยบุคคลที่มีอำนาจ   

               

 

               สำหรับเมืองไทยแล้ว แม้จะมีปัญหาทางการเซ็นเซอร์จนทำให้ภาพยนตร์บางเรื่องไม่ได้ฉายในประเทศ  อย่างเช่น Insect In The Backyard ของ อ็อฟธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์   หรือแม้แต่ในละครโทรทัศน์ก็มีกรณีของละครเหนือเมฆ 2 ที่ช่องสามยุติการออกอากาศกลางคัน ทำให้หลายคนกังขาเรื่องการที่บุคคลผู้มีอำนาจเข้ามาแทรกแซง  แต่ถ้าเทียบกับประเทศแล้ว  ปัญหาทางด้านภาพยนตร์ของไทยยังน้อยกว่า  บางทีถ้าได้รับการส่งเสริมดีๆ  ก็เชื่อว่ามีโอกาสที่วงการภาพยนตร์ไทยจะเติบโตมากกว่าที่เป็นอยู่

 **

 รางวัลสำคัญๆในงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองเบอร์ลิน

 

-  ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม                           :          Child’s Pose                                                           

 - ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมอันดับสอง           :          An Episode in the Life of an Iron Picker

-ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม                 :            เดวิด กอร์ดอน กรีน (Prince Avalanche)

- นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม                 :            พอลลินา การ์เซีย (Gloria)

- นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม                   :            นาซิฟ มูจิช (An Episode in the Life of an Iron Picker)

- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม                      :            จาฟาร์ พานาฮี และ คัมโบซิยา พาร์โทวี (Closed Curtain)

 

 


LastUpdate 18/02/2556 16:18:07 โดย : Admin
25-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 6:47 pm