เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองเศรษฐกิจไทย ปี 56 ชะลอตัวลง จีดีพีโต 4.8%


 บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ " เศรษฐกิจไทยปี 2556 อาจชะลอลงมาที่ 4.8%: หลังการฟื้นตัวของการส่งออกถูกกระทบจากผลของเงินบาท"



ประเด็นสำคัญ
 
        - จีดีพีประจำไตรมำส 4/2555 ของไทยเติบโตสูงถึงร้อยละ18.9 (YoY) จากผลของฐานเปรียบเทียบที่ต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน การเร่งตัวขึ้นของการบริโภคภาคเอกชนและการสะสมสต็อกสินค้าคงเหลือ หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 (YoY) ในไตรมาส 3/2555 โดยภาพการขยายตัวสูงของจีดีพีในช่วงไตรมาสสุดท้าย ช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยปี 2555 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4
          - สัญญาณการฟื้นตัวของการส่งออกในช่วงต้นปีที่อาจได้รับผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่า ท่าให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดกรอบประมำณกำรอัตรำกำรเติบโตของกำรส่งออกมำที่ร้อยละ 8.0-13.0 (จำกคำดกำรณ์เดิมที่ร้อยละ 10-15) ซึ่งมีผลทำให้ตัวเลขคำดกำรณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2556 ชะลอลงมำอยู่ที่กรอบร้อยละ 4.3-5.3 (จำกคำดกำรณ์เดิมร้อยละ 4.5-5.5)
          - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่ำ กำรแข็งค่ำร้อยละ 1.0 ของค่ำเฉลี่ยเงินบำท อำจมีผลกระทบต่อจีดีพีในปี 2556 รำวร้อยละ 0.1-0.3

ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/2555 และทั้งปี 2555 ... ดีกว่าที่คาด
 
เศรษฐกิจไทยในช่วงท้ายปี 2555 เร่งตัวขึ้น โดยมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ขยายตัวร้อยละ 18.9 ในไตรมาส 4/2555 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (Year-on-Year: YoY) ซึ่งนับเป็นอัตราการขยายตัวรายไตรมาสที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา และสูงขึ้นกว่าตัวเลขทบทวนใหม่ที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 (YoY) ในไตรมาส 3/2555 ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2555 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 แข็งแกร่งกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ และเร่งขึ้นหลังจากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ในปี 2554 ขณะที่ จีดีพีที่ปรับฤดูกาลในไตรมาส 4/2555 ขยายตัวร้อยละ 3.6 (Seasonally Adjusted Quarter-on-Quarter: QoQ, s.a.) แข็งแกร่งกว่า 2 เท่าตัวเมื่อเทียบกับที่เติบโตร้อยละ 1.5 (QoQ, s.a.) ในไตรมาส 3/2555
          
ทั้งนี้ สัญญาณการขยายตัวสูงของกิจกรรมการทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 นอกจากจะเป็นผลมาจากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำของไตรมาส 4/2554 จากผลของอุทกภัยแล้ว ยังเป็นผลมาจากโมเมนตัมที่เร่งตัวขึ้นในช่วงโค้งสุดท้ายของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการเติบโตของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและกิจกรรมในภาคก่อสร้าง ขณะที่ ส่วนเปลี่ยนในสินค้าคงเหลือ ก็เพิ่มสูงขึ้นตามการสต็อกทองค่า สินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรบางประเภทด้วยเช่นกัน

เงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็วในช่วงต้นปี...ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของการส่งออก
          
จากการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่มีจังหวะการแข็งค่าที่ค่อนข้างรวดเร็วในช่วงต้นปี 2556 (เงินบาทแข็งค่าแล้วเกือบร้อยละ 3.0 นับจากต้นปี 2556) ท่าให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ทิศทางเงินบาทที่แข็งค่าดังกล่าว อาจมีผลชะลอเส้นทางการฟื้นตัวของการส่งออกของไทยในช่วงไตรมาสที่ 1/2556 และทั้งปี 2556 ให้ลดต่าลงกว่าประมาณการเดิมผ่าน 2 ช่องทางส่าคัญ ได้แก่
          
รายรับของมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทลดน้อยลงจากผลของค่าเงิน แม้ผู้ส่งออกน่าจะมีการกระจายรายรับ/รายได้จากต่างประเทศเป็นสกุลเงินอื่นๆ นอกเหนือจากเงินดอลลาร์ฯ ในช่วงที่ผ่านมาเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์ฯ อย่างไรก็ดี เงินบาทที่ไม่เพียงจะปรับตัวแข็งค่าขึ้นค่อนข้างรวดเร็วเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักเท่านั้น (ทั้งดอลลาร์ฯ เยน และยูโร) แต่ยังมีอัตราการแข็งค่าน่ามาเป็นอันดับที่ 1 เมื่อเทียบกับสกุลเงินภูมิภาคเอเชีย (ซึ่งส่วนใหญ่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ ) ท่าให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เงินบาทที่แข็งค่าดังกล่าว น่าจะมีผลกระทบต่อรายได้ของผู้ส่งออกบางส่วนที่ต้องท่าการปรับเปลี่ยนรายรับในรูปเงินตราต่างประเทศกลับมาเป็นรูปเงินบาท
          
เงินบาทที่แข็งค่าอาจกระทบความสามารถทางการแข่งขัน และการตัดสินใจรับค่าสั่งซื้อจากต่างประเทศของผู้ส่งออกบางกลุ่ม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เงินบาทที่เคลื่อนไหวในกรอบที่แข็งค่ากว่าระดับส่าคัญทางจิตวิทยาที่ 30 บาทต่อดอลลาร์ฯ อาจมีผลท่าให้ผู้ประกอบการหลายภาคส่วนมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นต่อแนวโน้มทิศทางค่าเงินบาทในระยะข้างหน้า ซึ่งส่าหรับในบางธุรกิจที่ได้รับแรงกดดันด้านต้นทุน (อาทิ ค่าจ้าง ค่าไฟ ราคาวัตถุดิบ/พลังงาน) และต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขันที่เข้มข้นจากคู่แข่งอยู่แล้วนั้น ความสามารถในการท่าก่าไรที่ลดลง (และ/หรือเสี่ยงที่จะพลิกกลับมาเป็นขาดทุน โดยเฉพาะกลุ่มที่สูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก และมีโครงสร้างต้นทุนที่ถูกกระทบจากการปรับเพิ่มค่าจ้างค่อนข้างมาก อาทิ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงสินค้าเกษตร )อาจส่งผลให้ผู้ส่งออกชะลอการรับค่าสั่งซื้อจากต่างประเทศออกไป ซึ่งค่าสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าที่ชะลอลงในไตรมาสแรกนั้น อาจส่งผลกระทบให้ยอดส่งออกในไตรมาสที่ 2/2556 ชะลอตัวลงตามไปด้วย
         
 แม้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจะยังคงมองเช่นเดิมว่า การส่งออกของไทยน่าจะทยอยปรากฎสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาในมิติของมูลค่าในรูปเงินดอลลาร์ฯ อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่า การแข็งค่าของเงินบาทที่เป็นไปอย่างรวดเร็วนั้น เป็นหนึ่งในตัวแปรส่าคัญ (ร่วมกับสภาพการแข่งขันในตลาดโลก) ที่จะเพิ่มแรงกดดันต่อสถานการณ์การส่งออกของไทยในปี 2556 ด้วยเหตุนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตของการส่งออกส่าหรับปี 2556 ลงมาอยู่ในกรอบร้อยละ 8.0-13.0 โดยมีค่ากลางกรณีพื้นฐานที่ร้อยละ 10.5 (ภายใต้สมมติฐานที่คาดว่า เงินบาทน่าจะชะลออัตราการแข็งค่าลงในช่วงเวลาที่เหลือของปี หลังเร่งแข็งค่าขึ้นไปค่อนข้างมากในช่วงเดือนม.ค. 2556) จากกรอบคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 10-15 และค่ากลางที่ร้อยละ 12.5

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2556 อาจชะลอลงมาที่ร้อยละ 4.8 จากร้อยละ 6.4 ในปี 2555
         
ทิศทางการฟื้นตัวของการส่งออกที่น่าจะช้ากว่าประมาณการเดิม มีผลท่าให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยพิจารณาปรับลดกรอบประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2556 ลงมาที่ร้อยละ 4.3-5.3 (ค่ากลางกรณีพื้นฐานที่ร้อยละ 4.8) จากกรอบคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 4.5-5.5 (ค่ากลางกรณีพื้นฐานเดิมที่ร้อยละ 5.0) ซึ่งเป็นภาพการชะลอลงจากที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 6.4 ในปี 2555 ที่ผ่านมา
          
ทั้งนี้ แม้จะมีการปรับประมาณการการส่งออกในปี 2556 ลงเล็กน้อย อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงมุมมองเดิมว่า การฟื้นตัวของการส่งออกจะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนส่าคัญที่จะช่วยประคองทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2556 ร่วมกับเม็ดเงินการใช้จ่ายของภาครัฐที่น่าจะมีความต่อเนื่องตามแผนงบประมาณประจ่าปี 2556 (และอาจสมทบด้วยแผนการลงทุนในโครงการพิเศษอื่นๆ) ซึ่งน่าจะช่วยชดเชยบรรยากาศการชะลอตัวลงของการใช้จ่ายในภาคเอกชนที่ได้เร่งตัวไปมากแล้วในช่วงปี 2555 อย่างไรก็ดี คงต้องติดตามผลกระทบการแข็งค่าของเงินบาทที่อาจเลื่อนเวลาการฟื้นตัวของการส่งออกให้ไกลออกไปจากที่ประเมินไว้ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การแข็งค่าร้อยละ 1.0 ของค่าเฉลี่ยเงินบาท อาจมีผลกระทบต่อจีดีพีในปี 2556 ราวร้อยละ 0.1-0.3
 
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 18 ก.พ. 2556 เวลา : 16:33:20
19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 1:52 pm