เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
บทบาทสถาบันการเงินกับอนาคตประเทศไทย


ในอนาคตบทบาทของสถาบันการเงินไทยจะเป็นอย่างไร และจะมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน  ไปติดตามบางช่วงบางตอนของ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ที่ได้ปาฐกถาพิเศษเรื่อง บทบาทสถาบันการเงินกับอนาคตประเทศไทย” ในงานพิธีเปิดโครงการส่งเสริมช่องทางลงทุนผ่านธนาคารพาณิชย์ 2013 Banker to Broker 2013  

โดยผู้ว่า ธปท. ยอมรับว่า ระบบการเงินประเทศไทยในวันนี้ มีระดับพัฒนาการที่ดีระดับหนึ่ง แต่ก็ยังจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรองรับความท้าทายสำคัญ 2 ประการ ที่จะมีนัยสำคัญต่ออนาคตประเทศไทย ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของภาคเศรษฐกิจจริง และการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินที่รุนแรงขึ้น

 

และขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (structural adjustments) ซึ่งเกิดจากความพยายามร่วมกันทั้งภาครัฐฯและเอกชนในการยกระดับศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ซึ่งมีนัยสำคัญต่อความท้าทายของระบบการเงินใน 3 ด้าน คือ ความท้าทายในด้านขนาดของการระดมทุน  วัฏจักรการลงทุนรอบใหม่ (new investment cycle) นี้ จะประกอบไปด้วยโครงการขนาดใหญ่ ทั้งที่ดำเนินการโดยภาครัฐฯและภาคเอกชน ขนาดของการระดมทุนนี้จะส่งผลให้ระบบธนาคารพาณิชย์ ต้องเตรียมสภาพคล่องและเงินทุนรองรับความเสี่ยงให้เพียงพอ

 

 

 

ความท้าทายด้านรูปแบบความเสี่ยงของการระดมทุน  เมื่อพิจารณาโครงการลงทุนในอนาคต ความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญมี  2 ประเภท ได้แก่ ความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศ และความเสี่ยงจากการลงทุนในโครงการใหญ่ที่ซับซ้อนและมีสภาพคล่องต่ำ 

 

 

 

ด้านการลงทุนต่างประเทศ  ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถให้บริการผู้ระดมทุนได้โดยสามารถบริหารจัดการความเสี่ยง ทั้งด้านอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงการติดตามและบริหารจัดการความเสี่ยงของคู่ค้าที่ดำเนินการในต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

ส่วนการลงทุนในรูปแบบที่ซับซ้อนและมีสภาพคล่องต่ำ อาทิ โครงสร้างพื้นฐาน  ซึ่งธนาคารพาณิชย์สามารถทำได้  ทั้งให้กู้โดยตรงหรือทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการระดมทุนของโครงการ ธนาคารพาณิชย์ก็จะต้องเตรียมระบบการติดตามและบริหารจัดการความเสี่ยงให้พร้อม

 

 

 

นอกจากนั้น ยังมีความท้าทายในด้านความจำเป็นในการเปลี่ยนรูปแบบการออมในประเทศ ปัจจุบันการออมภาคประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในรูปเงินฝากหรือกองทุนที่มีลักษณะการลงทุนระยะสั้น ซึ่งไม่สอดคล้องเมื่อเทียบกับทั้งรูปแบบการระดมทุนภาคเอกชนในอนาคต ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาวมากขึ้นและความจำเป็นในการออมเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  การส่งเสริมให้เกิดการออมระยะยาวมากขึ้น  จึงเป็นการลดความเสี่ยง "maturity mismatch" ในระบบ

 

 

 

ขณะเดียวกัน การแข่งขันในระบบสถาบันการเงินที่รุนแรงขึ้น จากกระแสโลกาภิวัตน์ที่กระทบต่อประเทศไทยก็มีแนวโน้มจะเร่งตัวขึ้น ทั้งจากการส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศโดยภาครัฐฯ ความต้องการลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจของภาคเอกชน และแนวโน้มที่ต่างประเทศจะมาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น โดยใช้ไทยเป็น logistic hub เชื่อมต่อกับ new economic corridors

 

 

 

ผู้ว่าการธปท.ย้ำด้วย  ความท้าทายที่รออยู่นั้น มีนัยสำคัญอย่างยิ่งและถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องปรับตัวให้เท่าทัน โดยแนวทางการปรับตัวต้องทำอย่างมียุทธศาสตร์ มีแผนที่ชัดเจน รอบคอบรัดกุม และทำอย่างเป็นระบบ โดยร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้ ทุกภาคส่วนต้องยื่นมือเข้ามามีบทบาทร่วมกันในการพัฒนาระบบการเงินไทย โดยบทบาทสถาบันการเงิน   การวางแผนธุรกิจที่เน้นการรุกอย่างมียุทธศาสตร์ ถือเป็นหัวใจที่จะนำไปสู่การปรับตัวรองรับสภาพแวดล้อมในอนาคต และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเทียบกับสถาบันการเงินต่างประเทศ

 

 

 

ด้านบทบาทภาครัฐและองค์กรการกำกับดูแล  การวางภูมิทัศน์ระบบสถาบันการเงิน (Financial Landscape) ซึ่งเอื้อให้มีระดับการแข่งขันที่เหมาะสม โดยไม่ส่งผลต่อเสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจการเงินนั้น เป็นบทบาทสาคัญของภาครัฐฯ ซึ่งตามแผน "Financial Sector Master Plan II" ก็จะเปิดให้มีการแข่งขันจากต่างประเทศมากขึ้น ทั้งในรูปแบบการออกใบอนุญาตใหม่ และะการเจรจาต่อรองให้ใบอนุญาตภายใต้กรอบ "Qualified ASEAN Bank"


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 09 มี.ค. 2556 เวลา : 16:25:18
19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 2:03 pm