เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2557 จะเติบโตได้เพียง 1.6% จากสถานการณ์ทางการเมืองที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ และการส่งออกที่ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก


 บทสรุปการวิเคราะห์มุมมองเศรษฐกิจไทย (Outlook) ไตรมาสที่ 2 ปี 2557

 
อีไอซีประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2557 จะเติบโตได้เพียง 1.6% จากสถานการณ์ทางการเมืองที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ และการส่งออกที่ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก ความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำเนินมากว่า 6 เดือน เมื่อประกอบกับความอ่อนแอของเศรษฐกิจต่อเนื่องมาจากปี 2013 ได้ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ปัจจัยทางลบเหล่านี้ส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศทั้งการบริโภคภาคครัวเรือน และการลงทุนโดยภาครัฐและภาคเอกชนมีแนวโน้มหดตัวในปีนี้ นอกจากนี้ความไม่แน่นอนทางการเมืองซึ่งหมายถึงการขาดรัฐบาลที่มีเสถียรภาพและสภาผู้แทนราษฎร ยังได้สร้างประเด็นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจจากการขาดความชัดเจนทางด้านกฎหมาย ประเด็นเหล่านี้ได้แก่ (1) การเบิกจ่ายงบลงทุนส่วนที่เหลือในปีงบประมาณปัจจุบัน และการพิจารณาจัดสรรงบลงทุนของปีงบประมาณ 2558 (2) การพิจารณาต่ออายุการปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ซึ่งการลดภาษีในปัจจุบันจะหมดลงในช่วงปลายปีนี้ และ (3) การเจรจาข้อตกลงทางการค้าฉบับใหม่กับสหภาพยุโรปเพื่อทดแทนสิทธิพิเศษทางศุลกากร (จีเอสพี) ซึ่งจะหมดลงในปีนี้
 
อีไอซีประเมินการส่งออกปีนี้ขยายตัว 4% ลดลงจากการคาดการณ์เดิมที่ 5% การส่งออกของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปีหดตัว 1% จากการหดตัวของการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบไปตลาดหลักอันได้แก่ อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย และสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ยางพารา และอาหารทะเล อย่างไรก็ตามอีไอซีพบสัญญาณการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้อีไอซีประเมินการส่งออกของไทยในปีนี้จะขยายตัวในระดับ 4% โดยมีแรงสนับสนุนหลักจากการส่งออกสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า และการส่งออกรถยนต์ไปยังตลอดรอง ซึ่งได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
 
ภาวะเงินทุนไหลออกยังอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงที่เหลือของปี ส่งผลให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงจากระดับปัจจุบัน แม้ว่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์จากต่างประเทศจะเริ่มกลับเข้ามาอีกครั้งตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่ปัจจัยทั้งในและต่างประเทศยังอาจผลักดันให้เกิดกระแสเงินทุนไหลออกอีกระลอกได้ ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ 1) อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจและผลประกอบการของธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมือง 2) อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่มีแนวโน้มปรับลดลง สวนทางกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเศรษฐกิจเพื่อนบ้าน และ 3) แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ เร็วขึ้นจากเดิม ความเสี่ยงต่อภาวะเงินทุนไหลออกดังกล่าวจะกดดันให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง โดยอีไอซีประเมินว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้นปีจะอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
 
 
ส่งออกกลับมาหดตัวอีกครั้งในเดือนมีนาคม
 
Event
Adobe Systems
กระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าการส่งออกของไทยเดือนมีนาคมอยู่ที่ 19.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว 3.1%YOY (เทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้า) ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 18.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว 14.2%YOY ดุลการค้าเกินดุล 1,460 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
Analysis
Adobe Systems
ส่งออกไปจีนและอาเซียนหดตัวอย่างรุนแรง มูลค่าการส่งออกไปจีนหดตัวตั้งแต่เริ่มปี 2014 สามเดือนติดต่อกัน โดยเฉพาะการส่งออกในเดือนมีนาคมที่หดตัวถึง 11%YOY นอกจากนี้ อาเซียนเป็นอีกหนึ่งตลาดหลักที่หดตัวรุนแรงราว 11% เช่นเดียวกัน โดยมูลค่าส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลักในอาเซียนอันได้แก่ สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย หดตัวสูงเกือบ 30% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา     
 
Adobe Systems
การส่งออกคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน มูลค่าการส่งออกคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบในเดือนมีนาคมหดตัวราว 5% ถือเป็นการหดตัวครั้งแรกหลังจากขยายตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2013 ที่ผ่านมา โดยการส่งออกไปยัง 3 ตลาดหลักอันได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐฯ และจีน ล้วนหดตัวทั้งหมดเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยเฉพาะจีนที่หดตัวถึง 40% นอกจากนี้ การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นอีกหนึ่งสินค้าส่งออกอุตสาหกรรมที่สำคัญยังชะลอลงจาก 2 เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวราว 8% เหลือเพียง 0.7% ในเดือนล่าสุด  
 
Adobe Systems
การนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบยังหดตัวในระดับสูง แต่การนำเข้าเครื่องจักรและส่วนประกอบหดตัวน้อยลง มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบในเดือนมีนาคมยังหดตัวมากกว่า 10% และเป็นการหดตัวติดต่อกันอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2013 เป็นต้นมา อย่างไรก็ดี การนำเข้าเครื่องจักรทั้งเครื่องจักรอุตสาหกรรมและเครื่องจักรไฟฟ้าในเดือนมีนาคมหดตัวลดลงมาอยู่ในระดับที่หดตัวราว 2%
 
Adobe Systems
ดุลการค้าเกินดุล 1,460 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มูลค่าการนำเข้าในระดับต่ำทำให้ดุลการค้าเกินดุลเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
 Implication
 
Adobe Systems
การส่งออกจะไม่ฟื้นตัวเร็วนัก การส่งออกในไตรมาส 1 หดตัว 1% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำกว่าหลายฝ่ายคาดการณ์ โดยการส่งออกในไตรมาสแรกที่อ่อนแอเป็นผลทั้งจากสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะรถยนต์ ซึ่งส่งออกลดลงค่อนข้างมากในตลาดหลัก (ออสเตรเลีย และ อินโดนีเซีย) และสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น ยางพารา น้ำตาล กุ้ง และทูน่า ซึ่งการส่งออกล้วนหดตัว สำหรับในระยะต่อไป อีไอซี มองว่า ด้วยการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องชี้นำที่สำคัญของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่หดตัวระดับสูงในช่วงไตรมาสแรก จะทำให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนราว 75% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดยังไม่ฟื้นตัวได้อย่างชัดเจนนักในช่วงครึ่งปีแรก  

LastUpdate 30/04/2557 13:39:34 โดย : Admin
17-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 17, 2024, 6:08 am