เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
SME เชื่อมั่นอนาคตธุรกิจจะดีขึ้น หลังการเมืองนิ่ง


   

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics เปิดเผยผลการจัดทำ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี พบว่า ผู้ประกอบการ SMEเชื่อมั่นในอนาคตเพิ่มขึ้นหลังวิกฤตการเมืองจบ แม้ยังต้องเผชิญภาวะธุรกิจและเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวอยู่ในปัจจุบัน

 

นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เปิดเผย “ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี” (TMB-SME Sentiment Index) ไตรมาส 2/255จากการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SME กว่า 1,000 กิจการ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในปัจจุบัน ทรงตัวจากไตรมาสก่อน โดยล่าสุดอยู่ที่ 36.6 นับว่าอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ เนื่องจากผู้ประกอบการยังเผชิญภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวต่อเนื่องในไตรมาสที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้า เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 55.7 จากไตรมาสก่อนที่ 51.1 นับเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในเดือนตุลาคม 2556 เป็นต้นมา สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นในอนาคต โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในด้านรายได้ของธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้านั้น มีการปรับตัวขึ้นอย่างชัดเจน

            

“หลังจากที่มีการยึดอำนาจการปกครอง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา เราได้ติดตามผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทราบถึงมุมมองของผู้ประกอบการ SME หลังการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และพบว่าความเชื่อมั่นผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน โดยดัชนีขึ้นมาอยู่ที่ 37.6 จากระดับ 32.8ในเดือนก่อนที่นับว่าเป็นจุดต่ำสุดในปีนี้ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในอีก เดือนข้างหน้า พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก มาอยู่ที่ 62.2 ในเดือนมิถุนายน จากระดับ 51.7 ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นระดับความเชื่อมั่นรายเดือนที่สูงที่สุดในรอบ เดือน และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในห้วงเวลาหนึ่งเดือนตั้งแต่เริ่มทำการสำรวจมา

 

            เมื่อวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลง ที่ทำให้ความเชื่อมั่นผู้ประกอบในอีก เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พบว่า ธุรกิจ SME คาดหวังผลประกอบการในอีก 3เดือนข้างหน้าจะดีขึ้นกว่าปัจจุบัน สอดคล้องกับที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมาตรการกระตุ้นและขับเคลื่อนเศรษฐกิจออกมาอย่างเร่งด่วนตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา เป็นการสร้างบรรยากาศและมุมมองที่เป็นบวกต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวมาตั้งแต่ปีก่อนและไม่มีมาตรการกระตุ้นใดๆ ออกมานับตั้งแต่เกิดความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงปลายปี 2556

 

            เมื่อสอบถามถึงปัจจัยความกังวลที่เจ้าของธุรกิจ SME กังวลมากที่สุด “การเมือง” ยังคงครองอันดับ ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ ติดต่อกัน คือ ร้อยละ 37.8 ของผู้กังวลทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 36.0 ในไตรมาส ปีนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเฉพาะผลสำรวจในเดือนมิถุนายน หลังการยึดอำนาจการปกครอง พบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลในเรื่องของปัจจัยทางการเมืองลดลงค่อนข้างมาก คือจากร้อยละ 45.6 ในเดือนพฤษภาคม เหลือที่ร้อยละ 24.9 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ เดือน นับตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมา และกลับมาให้ความสำคัญกับภาวะธุรกิจและเศรษฐกิจชะลอตัวมากขึ้น

 

            “แม้ว่า SME จะมีความกังวลในปัจจัยการเมืองน้อยลงและมีความเชื่อมั่นมากขึ้น สะท้อนได้จากผลสำรวจในเดือนมิถุนายนที่แตกต่างจากเดือนก่อนหน้านี้อย่างชัดเจน เรายังต้องติดตามผลการสำรวจในไตรมาส อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทราบถึงมุมมองของผู้ประกอบการ SME ต่อภาวะ

เศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้กลับมาเป็นประเด็นกังวลหลักอีกครั้งในเดือนมิถุนายน” นายเบญจรงค์สรุป


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 23 ก.ค. 2557 เวลา : 14:50:53
17-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 17, 2024, 2:19 am