เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
สหกรณ์ สถาบันการเงินเพื่อสมาชิก บนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง+ธรรมาภิบาล


เมื่อผมได้ฟังการบรรยายของ ดร.เฉลิมพล ดุลสัมพันธ์ ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จากัด ทำให้เห็นว่า สถาบันเช่นสหกรณ์ในสังคมไทยนั้นเป็น สถาบันการเงินเพื่อสมาชิก ที่ทำงานบนบนพื้นฐานหลัก ปรัชญาเศรษฐกิพอเพียง และ หลักธรรมาภิบาล ด้วยเหตุที่ว่า สหกรณ์นั้นมาจากคำว่า สห-คือร่วมกัน กรณ์คือการกระทำ ที่มุ่งทำให้สมาชิก มีเงินใช้+ไม่เป็นหนี้มาก+มีสุขภาพที่ดี สหกรณ์มีลักษณะสำคัญ 5ประการ

·        เป็นองค์การทางเศรษฐกิจและสังคม (ย้ำว่าต้องมีคำว่าสังคมเสมอ)

·        เป็นองค์การทางธุรกิจรูปแบบพิเศษคือ ทำธุรกิจกับสมาชิก + มีเป้าหมายไม่แสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน

·        ให้ความสำคัญกับเรื่องของคน มากกว่า เงิน

·        เป็นของสมาชิก โดยสมาชิก เพื่อสมาชิก

·        การดำเนินการจะยึดปรัชญา อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์

 

สำหรับทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทย ท่านอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ คาดว่าน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2557  ในอัตราเฉลี่ย 0.5-1.0% ดังนั้น ภาคสหกรณ์จึงสมควรที่จะหามาตรการในการลดหรือประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงไปให้ได้ทั้งนี้เพื่อคงสภาพความเข้มแข็ง มั่นคงที่ดีของสหกรณ์ โดยยึดมั่นในหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการสหกรณ์ ในการช่วยเหลือ พึ่งพาซึ่งกันและกัน "ในประการสำคัญ ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยการนำหลัก "ธรรมาภิบาล" และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการดำเนินกิจการสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน"


ท่านอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้กล่าวให้ข้อมูลกับสื่อมวลชนต่อไปอีกว่า ในปี 2558 การขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกภาคส่วนนั้นยังเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยในภาคสหกรณ์ทุกประเภทต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและนักลงทุนให้มากยิ่งขึ้น ต้องให้ความสำคัญ

1. การสะสมทุนสำรองเป็นหลัก เพราะเหตุว่า การสะสมทุนสำรองจะทำให้เกิดความมั่นคงและทุนสำรองนี้นั้นไม่มีภาระผูกพัน จึงสามารถรองรับผลกระทบที่เกิดจากภาวะธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วรุนแรงได้

2. ต้องเร่งหามาตรการเร่งรัดลูกหนี้ให้ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยการสร้างอาชีพเสริมรายได้ให้กับสมาชิก อีกทั้งพิจารณาปรับปรุงเงื่อนไข กระบวนการ มาตรฐาน การดำเนินธุรกิจการให้สินเชื่อ โดยต้องคำนึงถึงขีดความสามารถการชำระหนี้ของสมาชิก (Ability to pay the debt)

3. ต้องเร่งหาทางลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้เหมาะสม สอดคล้องกับรายได้


          นอกจากนี้เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 เริ่มทรงตัวจากที่ติดลบในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 ซึ่งในส่วนของเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไตรมาสแรกฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยที่ ร้อยละ 0.21 แต่ช่วงไตรมาส 2 สมาชิกที่ยังมั่นใจต่อสถานการณ์การเมือง ระมัดระวังการใช้จ่าย บริโภค-อุปโภคน้อยลง แต่มีการออมเงินมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจลดลงร้อยละ 1.36 ซึ่งรายได้ลดลง กำไรลดร้อยละ 0.08 มั่นใจว่าไตรมาส 3/2557 เศรษฐกิจน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งเฉลี่ยร้อยละ 0.5-1.0 ซึ่งการฟื้นตัวจะต้องติดตามการฟื้นตัวจากภาคเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ต่อเนื่อง

สุรพล โอภาสเสถียร

ผู้จัดการใหญ่

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด

 

 

 

 


บันทึกโดย : วันที่ : 13 ต.ค. 2557 เวลา : 14:49:45
19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 7:26 pm