เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ไทยพาณิชย์มองธปท.คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.00% เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน


Event


คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.00% ในการประชุมวันที่ 28 มกราคม 2015
 
 
Analysis


กนง. ไม่กังวลว่าจะเกิดภาวะเงินฝืดแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีความเสี่ยงหลุดกรอบเป้าหมาย แม้ว่าราคาน้ำมันที่ลดลงจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีความเสี่ยงหลุดกรอบล่างของนโยบายการเงินที่กำหนดไว้เฉลี่ย 2.5±1.5% ในปีนี้ แต่  กนง. ไม่ ได้มีความกังวลว่าจะเกิดภาวะเงินฝืดเนื่องจากว่าอุปสงค์ในประเทศยังขยายตัว และราคาสินค้าส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่น้ำมันไม่ได้ปรับลดลง นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังตามทิศ ทางราคาน้ำมันเมื่ออุปทานและอุปสงค์ทยอยปรับเข้าสู่สมดุล

ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงินเป็นสิ่งที่ กนง. ให้น้ำหนักมากกว่า โดยในการประชุมครั้งนี้ กนง. ได้กล่าวว่าการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงิน ซึ่งหมายความว่า กนง. ยังคงกังวลต่อความเสี่ยงทางด้านหนี้ครัวเรือนและการปรับตัวของราคาสินทรัพย์หากลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง

ค่าเงินบาทไม่ได้แข็งค่าเร็วเกินไปนัก และยังมีแนวโน้มอ่อนค่าในช่วงครึ่งหลังของปี แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมจากระดับ 33 มาอยู่ที่ราว 32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงปลายเดือนมกราคม ซึ่งแรงกดดันส่วนหนึ่งมาจากมาตรการ QE ของยุโรปที่จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นได้ในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทยังไม่ถือว่าแข็งค่ามากนักเมื่อเทียบกับปี 2014 ที่ผ่านมา ที่ค่าเงินบาทแข็งค่าจากระดับ 33 บาท ในช่วงต้นปีลงไปอยู่ที่ 31.8 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้ อีไอซีคาดว่าค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่าตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง

Implication


อีไอซีคงมุมมองอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะคงอยู่ที่ 2% ในปีนี้ เศรษฐกิจ ไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ในระยะข้างหน้า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ระดับต่ำเพียงชั่วคราว ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังสามารถคงอยู่ที่ระดับนี้ได้เพื่อเป็นการรักษา เสถียรภาพทางการเงินในภาวะที่หนี้ครัวเรือนยังเป็นความเสี่ยงที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม หากการใช้จ่ายในประเทศฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด หรือเงินบาทมีการแข็งค่าอย่างรวดเร็ว นโยบายการเงินอาจผ่อนคลายเพิ่มเติมได้ในภาวะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ


ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยปี 2558 มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องแต่อัตราการเติบโตจะต่ำกว่าประมาณการครั้งก่อนเพราะแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายภาคการคลังที่น้อยกว่าคาด ส่งผลต่อการลงทุนภาคเอกชนที่รอความชัดเจนของการลงทุนภาครัฐ การฟื้นตัวของการส่งออกสินค้ามีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นขณะที่การท่องเทียวมีแนวโน้มดีขึ้นแต่ยังต่ำกว่าปกติ

เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ของปี 2557 ฟื้นตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยเป็นผลจากการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้น ช่วยชดเชยอุปสงค์ในประเทศที่ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจไทยจะยังมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยราคาน้ำมันที่ลดลงมากจะช่วยให้การฟื้นตัวของ
อุปสงค์ในประเทศเข้มแข็งขึ้น

สถานการณ์เงินเฟ้อ

“อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงตามราคาพลังงานและคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะตามราคาน้ำมันโลก สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงเล็กน้อยตามแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่ลดลงจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า”

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงตามราคาพลังงาน และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะหลุดกรอบล่างของเป้าหมายในปีนี้ แต่ไม่ถือเป็นเงินฝืด อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มจะปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ตามแนวโน้มราคาน้ำมันโลก

ความเสี่ยงที่ กนง. ติดตาม

เศรษฐกิจโลก และการใช้จ่ายภาครัฐที่น้อยกว่าคาด

ปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลก (การฟื้นตัวช้าของคู่ค้าหลัก, ปัญหาการเมือง, นโยบายการเงินที่มีทิศทางแตกต่าง)

คุณภาพของสินเชื่อครัวเรือน

การปรับตัวของราคาสินทรัพย์

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย

มติ 5:2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.00%

(2 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25%)

มติ 5:2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.00%

(2 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25%)

เหตุผลของ กนง.

นโยบายการเงินผ่อนปรนเพียงพอ

สอดคล?องกับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว

นโยบายการเงินผ่อนปรนเพียงพอ

การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงิน

บันทึกโดย : วันที่ : 28 ม.ค. 2558 เวลา : 18:27:54
26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 2:36 pm