แฟชั่น-เดินทาง-กินดื่ม-เที่ยว
การก่อพระเจดีย์ทรายความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนา


 

เทศการสงกรานต์ปีนี้ทีมงานของสำนักข่าวเอซีนิวส์ได้ออกสำรวจบรรยากาศตามสถานที่ต่างๆ พบว่าบรรยากาศการเล่นน้ำไม่รุนแรงเหมือนปีที่ผ่านมา เล่นกันสนุกๆเป็นกลุ่มย่อยๆ ทำให้เห็นภาพของการเล่นสาดน้ำที่ดูน่ารัก เหมือนสมัยก่อนที่เป็นประเพณีตามเทศกาลดูไม่อันตรายโลดโผนและลดอุบัติเหตุลงได้เยอะทีเดียว


มุมหนึ่งของชานเมืองซึ่งทีงานเราได้พบเห็น ยังมีการอนุรักษ์ประเพณีการขนทรายเข้าวัด ก่อพระเจดีย์ทราย ที่ได้สืบทอกมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งจัดโดยสภาวัฒนธรรมตำบลลำพญา ที่นี่เขาจัดประกวดก่อพระเจดีย์ทรายทุกปี จัดแบบเล็กๆกันเอง มีทั้งรางวัลประเภทสวยงาม และ ประเภทความคิดสร้างสรรค์ รางวัลก็เป็นขันน้ำพานรอง ปิ่นโต กระติกน้ำแข็ง ผ้าขาวม้า ดูเรียบง่ายแต่ชวนให้น่าร่วมสนุกเป็นอย่างยิ่งเพราะประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายนี้ คนกรุงเทพฯน้อยคนนักที่จะได้สัมผัสกับบรรยากาศแบบนี้


การก่อพระเจดีย์ทรายเป็นประเพณีสำคัญประเพณีหนึ่งในช่วงเทศกาลของชาวไทยประเพณีนี้มีที่มาจากหลักฐานใน พระไตรปิฎกที่กล่าวพรรณนาถึงอานิสงส์ที่พระโพธิสัตว์ก่อพระเจดีย์ทรายเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา 

ในประเทศไทยนั้น ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายถือว่าเป็นประเพณีหนึ่งที่มีที่มาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรง โดยคนไทยผูกโยงประเพณีนี้เข้ากับคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนามีการก่อพระเจดีย์ทรายถวายวัดเพื่อนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไปมาคืนวัดในรูปพระเจดีย์ทราย และเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์ และนอกจากประเพณีเพื่อเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นกุศโลบายของคนในอดีตให้มีการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันจัดประเพณีรื่นเริงเป็นการสังสรรค์สร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย

ปัจจุบันประเพณีนี้พบเพียงในประเทศไทยและลาวเท่านั้น โดยจัดในช่วงเทศกาลสำคัญเป็นการเฉลิมฉลองการเปลี่ยนศักราช เช่นในวันตรุษและวันสงกรานต์ เป็นต้น โดยในบางหมู่บ้านอาจเป็นประเพณีบุญคูนลาน บุญขวัญข้าว (ก่อเจดีย์ข้าวถวายเป็นพุทธบูชา) ก็อาจนับว่าเป็นประเพณีก่อเจดีย์ทรายได้เช่นเดียวกันเพราะไม่ได้สร้างเป็นพุทธศาสนสถานถาวรวัตถุใหญ่โตแต่เป็นเพียงเจดีย์ชั่วคราวเพื่อมุ่งถวายเป็นพุทธบูชาในการประเพณีหนึ่ง ๆ เท่านั้น

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 16 เม.ย. 2558 เวลา : 01:04:08
26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 10:24 am