วิทยาศาสตร์
ไทยร่วมมือสหรัฐจัดประชุมคกก.ร่วมด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการ


 


  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดประชุมคณะกรรมการร่วมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไทย-สหรัฐ (Thai-U.S. Joint Committee Meeting on Science and Technology – JCM)ภายใต้ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการไทย-สหรัฐอเมริกา (Thai - U.S.Scientific and Technical Cooperation Agreement – STA) ในวันที่ ๗ – ๘ มีนาคม ๒๕๕๙
 
 
โดยมี รศ. ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธานฝ่ายไทย และนายดับเบิลยู. แพทริค เมอร์ฟี (Mr. W. Patrick Murphy) อัครราชทูตที่ปรึกษาในประเทศไทย ของสหรัฐอเมริกาเป็นประธานฝ่ายสหรัฐฯ  โดย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเป็นเจ้าภาพให้เกียรติเลี้ยงอาหารค่ำแก่ผู้แทนทั้งสองฝ่ายในเวลา ๑๙.๓๐ น. ของวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๙

  รศ. ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไทย-สหรัฐ (Thai-U.S. Joint Committee Meeting on Science and Technology – JCM) ภายใต้ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการไทย-สหรัฐอเมริกา (Thai - U.S.Scientific and Technical Cooperation Agreement – STA) ในวันที่ ๗ – ๘ มีนาคม ๒๕๕๙ จะมีการประชุมหารือกลุ่มย่อยออกเป็น 4 สาขา ตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องและมีความพร้อมที่จะมีการพัฒนาความร่วมมือกัน ได้แก่ สาขาพลังงาน น้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ สุขภาพ และการศึกษา STEM ซึ่งหน่วยงานไทยที่เข้าร่วม มีหน่วยงานระดับกรมที่รับผิดชอบด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และหน่วยงานระดับกระทรวงที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพลังงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมด้วย โดยผู้แทนจากสหรัฐฯ ที่เข้าร่วมมาจาก Department of Energy (DOE), Oak Ridge National Laboratories, Armed Forced Research Institute of Medical Sciences (AFRIMS), Center for Disease Control and Prevention (CDC), U.S. Geological Survey และ นาง Geraldine Richmond ผู้แทนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีความคุ้นเคยกับการพัฒนาการศึกษา STEM ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากสาขาความร่วมมือใน 4 สาขาดังกล่าว ที่จะได้มีการหารือเต็มรูปแบบในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายยังตกลงที่จะให้มีการประชุมทางไกลสำหรับความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายสนใจ ได้แก่ startup ที่เกี่ยวกับการผลักดันการเริ่มต้นธุรกิจเชิงนวัตกรรม  และ ความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์ Smithsonian และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ของไทย
 

  โดยการประชุมกลุ่มย่อย 4 สาขา มีผู้แทนฝ่ายไทยเป็นประธานกลุ่มย่อย ได้แก่ 1.พลังงาน  ดร.สมนึก ศิริสุนทร ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายอำนวยการกลาง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 2.สุขภาพ  ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) 3.STEM  นายอลงกรณ์ เหล่างาม  ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ 4. น้ำและความหลากหลายทางชีว ดร.รอยล  จิตรดอน (สสนก.)  และ รศ.นสพ.ปานเทพ รัตนากร  คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  คาดหวังว่า ผลการประชุมครั้งนี้ จะก่อให้เกิดแผนปฏิบัติการร่วมที่จะบรรจุโครงการที่เป็นรูปธรรม ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกัน ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการไทย-สหรัฐอเมริกา (Thai - U.S.Scientific and Technical Cooperation Agreement – STA)  และเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์และมิตรภาพอันดีที่ไทยกับสหรัฐอเมริกายังคงมีอยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 07 มี.ค. 2559 เวลา : 16:43:59
27-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 27, 2024, 10:34 am