เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
เอกชนกระตุ้นรัฐแก้ปัญหาตลาด CLMV ทรุด




 


ผู้ส่งออกสินค้าของไทยในปีนี้  ยังต้องเผชิญกับมรสุมที่เข้ามารุมเร้าไปไม่จบสิ้น  แม้รัฐบาลจะปรับกลยุทธ์ทางการตลาด  โดยเน้นการขยายตลาดในอาเซียน   รวมทั้ง CLMV  ซึ่งได้แก่ ประเทศกันพูชา   สปป.ลาว  เมียนมา  และเวียดนาม    เพื่อทดแทนตลาดในสหรัฐอเมริการและยุโรปที่ชะลอตัวลง  ตามภาวะเศรษฐกิจโลก 
 
แต่การส่งออกของไทยในเดือนกุมภาพันธ์  ก็เริ่มมีสัญญาณที่น่าห่วง  โดยนายวัลลภ      วิตนากร  รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย  เปิดเผยว่า  ขณะนี้ผู้ส่งออกเริ่มหวั่นใจกับสถานการณ์ส่งออกของไทยในตลาดเพื่อนบ้าน CLMV  เนื่อง  จากตัวเลขการส่งออกตลาดดังกล่าวในเดือน ก.พ.ติดลบถึง 5.8% ส่งผลให้ 2 เดือนแรกติดลบ 2.3%   และหากแยกเป็นรายตลาดจะพบว่า   เกือบทุกตลาดติดลบหมด ยกเว้นเวียดนามที่ยังบวกอยู่ 6.7%    โดยตลาดกัมพูชามีการติดลบมากที่สุดถึง 12.2% เมียนมาติดลบ 2.1%  สปป.ลาว ขยายตัวแค่ 1.8% และเวียดนามขยายตัว 2.2%

 
 
 
ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องไปดูว่า   ตลาดนี้มีปัญหาจากอะไร เป็นเพราะมีปัญหาภัยแล้งในประเทศเช่นเดียวกับไทย   หรือมีสินค้าจากเพื่อนบ้านอย่างจีน มาเลเซีย และเวียดนามเข้ามาแย่งตลาดไทย  โดยคณะประชารัฐจะต้องทำงานกันหนักขึ้นกว่าเดิมในการขับเคลื่อนตลาดCLMV ให้ยังขยายตัวต่อไป

ขณะเดียวกัน ยังต้องกำหนดยุทธ ศาสตร์ที่ชัดเจน พร้อมเข้าไปเจาะตลาดในหัวเมืองใหญ่ๆ ของประเทศเพื่อนบ้าน มากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะแค่การค้าชายแดนเท่านั้น  นอกจากนี้ ควรจะมีการจัดงานแสดงสินค้าในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น มุ่งเน้นให้เกิดการค้าขายทั้งระยะสั้น กลาง และยาว  เร่งขยายสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ในCLMV  เพื่อให้ข้อมูลและผลักดันการค้า การ ส่งออกสินค้าจากไทยเข้าไป และคณะทำงานส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศจะต้องผสานกับสภาธุรกิจในแต่ละประเทศ

ด้านนายอดุลย์  โชตินิสากรณ์  รองโฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการว่า   ขณะนี้มีสินค้าไทยจำนวนมากถูกก๊อบปี้หรือมีการปลอมเครื่องหมายการค้าจำหน่ายตามตลาดต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะตลาดเวียดนามและเมียนมา   ที่สถานการณ์รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากสินค้าไทยเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก   เพราะมีคุณภาพสูงและราคาไม่แพงเหมือนแบรนด์ดังอื่นๆ

ซึ่งสินค้าที่มีการลอกเลียนแบบหรือปลอมเครื่องหมายการค้ามากที่สุดในตลาดเวียดนาม ได้แก่  กลุ่มสินค้าแฟชั่น อาหาร และอาหารสำเร็จรูป โดยสินค้าส่วนใหญ่จะปลอมแปลงโดยพ่อค้าชาวจีน ตลอดจนพ่อค้าท้องถิ่นบางส่วน ขณะที่ตลาดเมียนมาพบว่าสินค้าที่มีการลอกเลียนแบบจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลัก   ส่วนตลาดสปป.ลาว   กัมพูชา และมาเลเซีย ก็มีการก๊อบปี้สินค้าไทยเช่นกัน  แต่สถานการณ์ยังไม่ถึงขั้นรุนแรง

ในเบื้องต้นกระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือทูตพาณิชย์ในประเทศอาเซียนเข้าไปช่วยเหลือ และการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำสินค้าไทยไปจดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าในประเทศนั้นๆ

ขณะเดียวกัน นายสุวิทย์  เมษินทรีย์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยังได้ประสานงานในระดับรัฐมนตรีของประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนที่มีการก๊อบปี้สินค้าไทยสูง เพื่อขอความร่วมมือในการแก้ปัญหา ทั้งเรื่องของการป้องกันและการปราบปรามสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะนอกจากผู้ประกอบการไทยจะเสียประโยชน์แล้ว ผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ ยังมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ 
 
 

LastUpdate 31/03/2559 09:06:47 โดย : Admin
20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 6:37 am