เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
GSVC 2016 เผยโฉม แชมป์โลกแผนธุรกิจเพื่อสังคมที่ดีที่สุดในโลก






 


การแข่งขันประกวดแผนธุรกิจเพื่อสังคม รอบชิงชนะเลิศระดับโลก  (The Global Social Venture Competition 2016 - The Global Final Round) ปิดฉากการแข่งขันอย่างเข้มข้ม พร้อมเผยโฉม “แชมป์โลก” ผู้เข้าแข่งขันจากทีม Biltab  ตัวแทนจากประเทศออสเตรีย ผู้ชนะเลิศแผนธุรกิจเพื่อสังคมยอดเยี่ยม คว้าเงินรางวัลกว่า 25,000 เหรียญสหรัฐเพื่อเป็นทุนสำหรับเริ่มต้นธุรกิจ


ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศความสำเร็จในการจัดการแข่งขันประกวดแผนธุรกิจเพื่อสังคม รอบชิงชนะเลิศระดับโลก The Global Social Venture Competition 2016 - The Global Final Round หลังจากประสบความสำเร็จและเสร็จสิ้นไปได้ด้วยดี จากการแข่งขันในระหว่างวันที่ 1-2 เมษายนที่ผ่านมา ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิล์ด ซึ่งถือได้ว่าเป็นการจัดการแข่งขันนอกสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการแข่งขันมาเมื่อ 15 ปี และเป็นครั้งแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียที่ได้เป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับโลก

 
 

นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า “เป็นที่น่ายินว่าในปี 2559 นี้การแข่งขันประกวดแผนธูรกิจเพื่อสังคม GSVC 2016 ในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมงานจากนานาชาติมากกว่า 200 คน ไม่ว่าจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านธุรกิจ นักนวัตกรรมชั้นนำของโลก ไปจนถึงเจ้าของธุรกิจเพื่อสังคมที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และในทุกระดับการแข่งขันมีโครงการธุรกิจเพื่อสังคมส่งแผนธุรกิจเข้าร่วมแข่งขันกว่า 500 โครงการจากทั่วโลก และได้คัดสรรตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมเข้าร่วมแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศระดับโลกทั้งสิ้น 17 โครงการ ครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน เอเชีย ยุโรป อเมริกา และแอฟริกา
 
 
 
 
 
 
และนับเป็นความน่่าภาคภูมิใจของประเทศไทยเราที่มีโครงการธุรกิจเพื่อสังคมตัวแทนจากประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศระดับโลก ซึ่งถือได้ว่าเป็นย่างก้าวที่สำคัญที่จะส่งเสริมให้ธุรกิจเพื่อสังคมเป็นที่แพร่หลายในวงกว้างในประเทศต่อไป โและคาดว่าในปีต่อๆ ไปจะมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนมากขึ้น สอดรับกับแนวโน้มของการพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวไปในเชิงการทำธุรกิจเพื่อสังคมของโลก”

 
การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับโลกในปีนี้มีตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมทั้งสิ้น 17 โครงการจาก 14 ประเทศเข้าร่วมแข่งขัน ประกอบด้วย ฝรั่งเศส อิตาลี  ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ ตุรกี สหรัฐอเมริกา โคลอมเบีย คาเมรูน อินเดีย จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน และประเทศไทย เข้าร่วมชิงชัยเฟ้นหา “แชมป์โลก” และ “แผนธุรกิจเพื่อสังคม” ที่ดีที่สุดในโลก โดยมีโครงการครอบคลุมหลากหลายประเภท ตั้งแต่ เทคโนโลยี การสาธาณสุข โครงการเพื่อผู้สูงอายุ ไปจนกระทั่งถึงแผนธุรกิจเพื่อประเทศโลกที่สาม

 
 
 
 

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ โรจนกิจอํานวย คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “สำหรับหลักเกณฑ์การตัดสินในรอบชิงชนะเลิศระดับโลกผู้เข้าแข่งขันแต่ละรายจะต้องมีการถอดบทเรียนและเพื่อวิเคราะห์สภาพการณ์ปัจจัยปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานตามแผนธุรกิจเพื่อสังคมนั้น ทั้งนี้ผู้เข้าแข่งขันจะต้องมีแนวทางการแก้ไขปัญหาจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องจำลองกระบวนการดำเนินงานภายใต้ขอบเขตที่กำหนด ตั้งแต่แรงจูงใจ กลยุทธ์การตลาด แผนการปฏิบัติงานจริง การพิจารณาปัจจัยเสีย และการตอบข้อซักถาม โดยหลักเกณฑ์การให้คะแนนจะแบ่งออกเป็นความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ร้อยละ 33 ศักยภาพในการสร้างผลกระทบเชิงบวกทางสังคม ร้อยละ 33 และความเป็นไปได้ที่จะทำโครงการให้ประสบความสำเร็จ ร้อยละ 33 ซึ่งผู้ตัดสินประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสังคมในแต่ละภาคส่วน อาทิ มูลนิธิผู้ให้เงินทุน นักลงทุนด้านธุรกิจเพื่อสังคม ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาระหว่างประเทศ นักลงทุน และผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม” 
 

สำหรับผู้ชนะเลิศคว้าแชมป์โลกแผน ได้แก่ ทีม Biltab จากประเทศออสเตรีย ที่นำเสนอโครงการแทปเบล็ตอักษรเบลล์ เครื่องแรกของโลกซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สามารถอ่านและพิมพ์อักษรเบลล์ได้โดยตรงจากตัวแทปเบล็ต อันจะเป็นก้าวใหม่ของการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้สำหรับคนตาบอด โดยจะได้รับรางวัลเป็นเงินสนับสนุนจำนวน 25,000 เหรียญสหรัฐ ลำดับที่ 2 ได้แก่ ทีม Astraeus Technologies จากสหรัฐอเมริกา และลำดับที่ 3 ได้แก่ทีม Agruppa  จากประเทศ โคลอมเบีย 

 
 
นอกจากนี้ในการแข่งขันยังได้ประกาศผลรางวัลอื่นๆ อีก 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล The Finalist จากทีม 10Power จากประเทศสหรัฐอเมริกา USA, ทีม Otsimo จากประเทศตุรกี และทีม Dost จากประเทศอินเดีย

รางวัล The Challenger จากทีม KOPO จากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทีม Hygia Sanitation จากประเทศไทย คว้ารางวัล The 60 Second ร่วมกับทีม Agrippa จากประเทศโคลอมเบีย

 
ปัจจุบันโครงการ GSVC มีเครือข่ายพันธมิตรเพื่อร่วมกันส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคมจากสถานศึกษา และมหาวิทยาลัยด้านการบริหารธุรกิจชั้นนำ จำนวน 13 สถาบัน ครอบคลุมในทุกภูมิภาคทั่วโลก ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ เพื่อให้การสนับสนุนผู้เข้าแข่งขันทั้งในด้านการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจและในด้านการสร้างการรับรู้เพื่อให้แผนธุรกิจเพื่อสังคมมีประสิทธิผลสูงสุด
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 05 เม.ย. 2559 เวลา : 22:58:15
24-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2024, 7:53 pm