อสังหาริมทรัพย์
"เจแอลแอล" ฟันธงตลาดซื้อขายโรงแรมคึกคัก


เจแอลแอล ชี้ชัดการลงทุนซื้อขายโรงแรมในไทยมีมูลค่ารวม 9,600 ล้านบาทในปี 59 ขณะที่ปีนี้ มูลค่าซื้อขายรวมจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด ระบุเฉพาะดีลโรงแรมสวิสโฮเทล นายเลิศ ปาร์ค มูลค่าสูงถึง 10,800 ล้านบาท
 
ปีที่ผ่านมา ตลาดการลงทุนซื้อขายโรงแรม (รวมถึงเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์) ในประเทศไทยมีสภาวะคึกคัก โดยมีโรงแรมในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ๆ มากกว่า 10 โรงแรม ที่มีการเปลี่ยนมือ คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 9,600 ล้านบาท อย่างไรก็ดี มูลค่าดังกล่าวลดลง 15% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากในปีที่ผ่านมาไม่มีการซื้อขายโรงแรมที่มีมูลค่าสูงเหมือนในปี 2558

 

แต่ในปี 2560 ยอดการซื้อขายโรงแรมในไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากการที่การเจรจาตกลงซื้อขายโรงแรมสวิสโฮเทล นายเลิศ ปาร์ค มูลค่า 10,800 ล้านบาท จะเสร็จสมบูรณ์ในปีนี้ ยังไม่รวมการซื้อขายโรงแรมอื่นๆ อีก ที่จะเกิดขึ้น ตามการรายงานจากบริษัทที่ปรึกษาและบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เจแอลแอล

นายไมค์ แบทเชเลอร์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายขายภาคพื้นเอเชีย หน่วยธุรกิจบริการการลงทุนด้านโรงแรมของเจแอลแอล กล่าวว่า ในจำนวนโรงแรมที่มีการซื้อขายไปในปีที่ผ่านมา มีโรงแรม 5 แห่ง ที่ เจแอลแอล เป็นตัวแทนเจ้าของในการจัดหานักลงทุนเข้าซื้อ ซึ่งพบว่า ทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติ ยังคงให้ความสนใจเข้าซื้อโรงแรมในไทยอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังคงมั่นใจในปัจจัยพื้นฐานของตลาดที่แข็งแกร่งในระยะยาว

ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แสดงให้เห็นว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8.9% โดยในปี 2558 มีจำนวนนักท่องเที่ยวแตะ 30 ล้านคนเป็นปีแรก และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปถึง 35 ล้านคนในปีนี้ แม้มาตรการปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญจะส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนในช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้วก็ตาม

กรุงเทพฯ เป็นตลาดการซื้อขายหลักในปี 59


ในปีที่ผ่านมา กรุงเทพฯ เป็นตลาดโรงแรมที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดในประเทศไทย โดยมีสัดส่วนราว 50% ของมูลค่าการลงทุนซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตัวอย่างการซื้อขายรายการสำคัญๆ ได้แก่ เอท ทองหล่อ (ส่วนของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์เดิมคือ แพน แปซิฟิก เซอร์วิส สวีท เปลี่ยนเป็นโรงแรมอาคิระ ทองหล่อในปัจจุบัน) โรงแรมลิเบอร์ตี้ การ์เดน และปาร์ค 24 คอนโดมิเนียมย่านสุขุมวิท ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ภายใต้การบริหารโดยแอสคอทท์

การลงทุนซื้อขายโรงแรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา กระจายตัวอยู่ตามเมืองท่องเที่ยวหลักๆ ได้แก่ พัทยา ภูเก็ต พังงา เกาะสมุย หัวหิน และเชียงราย ตลอดไปจนถึงศรีราชาซึ่งเป็นย่านอุตสาหกรรม และนครราชสีมาซึ่งเป็นหัวเมืองหน้าด่านของอีสาน

ทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติเป็นผู้ซื้อหลัก


ในปีที่ผ่านมา นักลงทุนไทยและต่างชาติที่เข้าซื้อโรงแรมในไทยมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน โดยการลงทุนซื้อโดยนักลงทุนต่างชาติมีสัดส่วนคิดเป็น 45% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนประเภทสถาบันจากฮ่องกงและสิงคโปร์ โดยทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติยังคงให้ความสนใจเข้าลงทุนซื้อโรงแรมในไทย
 
"มีนักลงทุนสถาบันจากประเทศเอเชียจำนวนมากขึ้นที่กำลังมองโอกาสการลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่างๆ ของไทย โดยเน้นตลาดที่มีผลประกอบการดีและให้ผลตอบแทนการลงทุนในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งโรงแรมเป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากตลาดการท่องเที่ยวของไทยมีแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่งในระยะยาว ดังจะเห็นได้จากการที่มีนักลงทุนจำนวนมากเข้าร่วมแข่งขันเสนอราคา เมื่อมีโรงแรมมีศักยภาพเหมาะสำหรับการลงทุนถูกนำออกมาเสนอขาย" นายแบทเชเลอร์ก

 
 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 02 ก.พ. 2560 เวลา : 02:42:34
26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 12:08 am