ไอที
ผลสำรวจชี้ไทยก้าวนำ ด้านการใช้ API ในชาติอาเซียน และเป็นอันดับ 2 ในชาติเอเชีย-แปซิฟิก


ผลจากการสำรวจวิจัยระดับโลกโดยบริษัทซีเอ เทคโนโลยีชี้ให่้เห็นว่าประเทศไทยก้าวเป็นผู้นำในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านการใช้งานAPI หรือ Application Programming Interface  แล้วโดยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ปัจจุบันได้ใช้งาน APIแล้วในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอล

การสำรวจนี้ใช้ชื่อว่า API สู่การสร้างความเชื่อมโยงทางธุรกิจในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่น (APIs: Building a Connected Business in the App Economy ) ได้นำข้อมูลวิเคราะห์จากการตอบแบบสอบถามจากบรรดาผู้บริหารระดับสูงทางธุรกิจและผู้บริหารไอทีจำนวน 1770 รายทั่วโลก โดยมี 799 ราย มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น(APJ)  โดยรวมประเทศไทยด้วย  ผลการสำรวจนี้มุ่งเป้าไปที่หาข้อมูลเชิงลึกว่า องค์กรบริษัทต่างๆสามารถนำ API เข้ามา ขยายธุรกิจของตนในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่นอย่างไรบ้าง

นอกจากที่ประเทศไทยจะได้รับการจัดอันดับสูงสุดในด้านอัตราการใช้งาน API ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้แล้ว  บริษัท หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยยังได้รับผลตอบแทนมหาศาลตามการวัดค่า KPIs  เชิงปริมาณ จากการลงทุนลงแรงในด้าน API โดยตัวผลการสำรวจได้ระบุดังนี้ 

  • สามารถลดจำนวนความล้มเหลวของ การตรวจสอบที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบภาครัฐ ลงได้ 55 เปอร์เซ็นต์
  • ลดค่าใช้จ่ายด้านไอทีที่เกี่ยวข้อง 55 เปอร์เซ็นต์
  • เพิ่มความพอใจของลูกค้าได้ 53 เปอร์เซ็นต์ 
  • เพิ่มปริมาณยอดการทำธุรกรรม 53% 
  • เพิ่มความพอใจในการทำงานกับ ของพาร์ตเนอร์และคู่ค้า  52 เปอร์เซ็นต์ 

อัตราการปรับปรุงพัฒนานี้ยังจัดว่าสูงที่สุดในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ สูงที่สุดเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น โดยอยู่อันดับรองจากประเทศอินเดียและยังจัดว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ซึ่งที่อยู่ที่ 43-44 เปอร์เซ็นต์ ในแต่ละการวัด KPIs

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะได้รับการจัดอันดับคะแนนที่ดีในด้านการใช้งาน API แต่บริษัทและองค์กรต่างๆ ยังคงตามหลังในเรื่องของ การนำโปรดักต์ออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็วโดย ในแง่นี้มีการปรับปรุงพัฒนาเพิ่มขึ้นเพียง 16 เปอร์เซ็นต์ ในด้านของเวลาที่ใช้ในการพัฒนาโปรดักต์ ทดสอบและออกแอพพ์ใหม่ๆ มาสู่ตลาดและอัตรานี้  เป็นการวัดหลังการใช้งาน API ด้วยซึ่งจัดว่าอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นซึ่งอยู่ที่ 21 เปอร์เซ็นต์

จะเห็นว่า เป้าหมายการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จาก APIs นั้น เส้นทางการพัฒนาก็มีอุปสรรคด้วยเช่นกัน ซึ่งแตกต่างออกไปตามแต่ละประเทศ  โดยในประเทศไทยผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ยังขาดทรัพยากรแรงงานที่มีทักษะฝีมือในการนำประโยชน์จากการใช้งาน API มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ในขณะที่มีอีก 41 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า  คือปัญหานี้ รวมกับปัญหาขีดความสามารถในการรักษาความปลอดภัยให้กับระบบ API ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ในขณะที่อีกส่วนระบุว่ามีปัญหาในด้านขีดความสามารถในการปรับขยายขนาดตามการใช้งานหรือการบริหารจัดการประสิทธิภาพการทำงานโดย 2 อันหลังนี้จะ มีผู้ตอบแบบสอบถามระบุไว้ในอัตรา  37 เปอร์เซ็นต์


"ความสำเร็จในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่นปัจจุบัน หมายความว่าการเชื่อมโยงโปรดักต์ที่มีให้ตรงกับความต้องการจำเป็นของลูกค้า เชื่อมโยงลูกค้ากับการใช้งาน app ในอุปกรณ์ต่างๆและเชื่อมโยงบริษัทองค์กรหน่วยงานต่างๆให้เข้ากับ ระบบทำงานกับพาร์ตเนอร์เป็นเรื่องสำคัญ  โดย  APIจะเป็นตัวตั้งสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบจิตอลและเป็นศูนย์กลางประสานงานสำคัญที่ช่วยให้การเชื่อมต่อต่างๆสามารถเป็นไปได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำและมีความรักษาความปลอดภัย ในขณะที่นำเสนอบริการที่มีคุณภาพได้ "  นิค ลิม รองประธานภูมิภาคอาเซียนและจีน และภูมิภาครายรอบจีน  บริษัทซีเอ เทคโนโลยีกล่าว

ข้อดีของการบริหารจัดการ API ระดับสูง

ผลการศึกษาด้านความพร้อมของรูปแบบการจัดการ API ได้ประเมินพิจาณณาว่า บริษัทและองค์กรต่างๆได้มีการใช้งานโปรแกรมทูลและเทคโนโลยี ระบบต่างๆ รวมทั้งขั้นตอนการทำงานและศักยภาพที่จำเป็นที่จะต้องมีในการบริหารจัดการ API อย่างครบถ้วนครบวงจรอย่างไรบ้างโดย จุดนี้จะเป็นพื้นฐานของการบริหารจัดการ API ครบวงจรที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีเพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการพัฒนาระบบ API นับตั้งแต่ ขั้นตอนจากแนวคิดเริ่มต้น ไปสู่การใช้ประโยชน์ในขั้นปลาย

จากผลการสำรวจนี้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพ API ขั้นสูงมากที่สุดหรือ 63 เปอร์เซ็นต์ ตามติดประเทศอินเดียและอินโดนีเซียและสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นที่อยู่ที่ 55 เปอร์เซ็นต์  โดยผู้ตอบแบบสอบถามที่มีการใช้งานระบบบริหารจัดการ API แบบครบวงจรแล้วนั้น ได้มีการใช้งานตามศักยภาพด้านต่างๆ อย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ เช่นการเชื่อมต่อระบบเดิมเข้ากับระบบใหม่ที่ใช้งาน  การสร้างAPI อย่างรวดเร็วเพื่อที่ ส่งต่อข้อมูลในระบบได้อย่างปลอดภัย  การเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับระบบแบคเอนด์และ แอพพลิเคชั่นเดิมที่ใช้งานอยู่ การปกป้องการเชื่อมต่อที่มีด้วยระดับรักษาการความความปลอดภัยที่ถูกต้องเหมาะสม  การเร่งการพัฒนา ด้านโมไบล์ การใช้ประโยชน์จากระบบดิจิตอลที่เกี่ยวข้องด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูงและการสร้างรายได้อื่นๆ  

"น่าประทับใจอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นมีการบรรลุผลระดับสูงทางด้านการบริหารจัดการ APIในประเทศไทยซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่าบริษัทต่างๆมีความตระหนักชัดเจนในความจำเป็นที่จะต้องลงทุนในด้านศักยภาพระดับสูงเพื่อรองรับการใช้งานAPIอย่างครบวงจร ซึ่งส่งผลให้มีความสำเร็จและได้รับผลตอบแทนกลับคืนมา    อย่างไรก็ตามยังมีรายละเอียดงานที่จะต้องดำเนินการให้ลุล่วงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความคล่องตัวทางธุรกิจและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กรหน่วยงานบริษัทต่างๆ ที่จะแก้ปัญหาอุปสรรคเหล่านี้ตั้งแต่เริ่มต้นในการใช้งาน APIเพื่อให้มั่นใจว่าแนวคิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอลจะประสบความสำเร็จ"   นิค ลิม รองประธานภูมิภาคอาเซียนและจีน และภูมิภาครายรอบจีน  บริษัทซีเอ เทคโนโลยีกล่าวเสริม

เกี่ยวกับบริษัทวิจัย Coleman Parkes

รายงานการสำรวจชิ้นนี้ดำเนินงานโดยบริษัทวิจัย  Coleman Parkes Research Ltd.ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2016 โดยผ่านการมอบหมายจากบริษัทซีเอ เทคโนโลยี โดยการสำรวจครั้งนี้ได้เก็บข้อมูลจากผู้บริหารระดับสูงทางธุรกิจและผู้บริหารไอทีจำนวน 1770 รายจากบริษัทเอ็นเตอร์ไพรส์ขนาดใหญ่ใน 10 ประเภทอุตสาหกรรม จาก 21 ประเทศโดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 799ราย มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นซึ่งครอบคลุมถึง ประเทศออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดียญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และประเทศไทย

บริษัทวิจัย   Coleman Parkes ก่อตั้งขึ้นในปี 2000 โดยให้บริการการวิจัยการตลาดแบบเน้นปฏิบัติในระดับโลกโดยบริษัทนำเสนอบริการการวิจัยเต็มรูปแบบ รวมทั้งบริการให้คำปรึกษาในตลาดต่างๆโดยเน้นที่การวิจัยเชิงธุรกิจต่อธุรกิจ ซึ่งเน้นหนักในด้านไอทีเทคโนโลยีและการสื่อสารต่างๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่เว็บไซต์ของบริษัทwww.coleman-parkes.co.uk.


บันทึกโดย : วันที่ : 24 ส.ค. 2560 เวลา : 13:04:19
28-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 28, 2024, 2:40 pm