ข่าวประชาสัมพันธ์
กรมชลฯ ไขความกังวลใจทาง สื่อโซเชียลเปรียบเทียบสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา


กรมชลฯ ไขความกังวลใจทาง สื่อโซเชียลเปรียบเทียบสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาปัจจุบันและปี 54 เผยแม้สถานการณ์ฝนตกจะใกล้เคียงกัน แต่ด้วยการบริหารจัดการทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำมีปริมาณน้อยกว่าปี 54 อย่างมาก

 


 

 

ดร. สมเกียรติ ประจำวงษ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ตามที่มีกระแสความคิดเห็นในโซเชียลมีเดียจำนวนมากแสดงความคิดเห็นในเชิงวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในขณะนี้โดยมองว่ามีความเป็นไปได้ที่อาจเกิดสถานการณ์น้ำท่วมเหมือนเมื่อปี 2554 นั้น กรมชลประทานขอเรียนว่า ในช่วงฤดูฝนปี 2560 ประเทศไทยได้รับอิทธิพล จากพายุโซนร้อน ตาลัส เซินกา  พายุไต้ฝุ่นทกซูรี และพายุดีเปรสชั่น ซึ่งส่งผลให้มีปริมาณน้ำฝนรวมสะสม 1,771  มิลลิเมตร ( วันที่ 24 .. 60) เมื่อเปรียบกับ เวลาเดียวกัน ในปี 2554 มีปริมาณน้ำฝนรวมสะสม ที่ 1,798 มิลลิเมตร  นับว่ามีปริมาณใกล้เคียงกัน  แต่รัฐบาลได้วางแผนการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนไว้ล่วงหน้าแล้ว ในช่วงก่อนน้ำมา และระหว่างน้ำมา ทำให้ผลกระทบและความเสียหายที่เกิดกับประชาชนไม่ขยายเป็นวงกว้าง ดังนี้

 

1.การดำเนินการก่อนน้ำมา 

 

1.1  พัฒนาเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำ / แก้มลิง ตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งประเทศ จำนวน 5,016 โครงการ  สามารถรับน้ำได้ 1,579 ล้านลูกบาศก์เมตร

 

1.2  คาดการณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 34 แห่ง และขนาดกลาง 248 แห่ง

 

1.3  วางแผนการระบายน้ำฤดูฝน

 

1.4 ปรับเปลี่ยนปฏิทินการเพาะปลูกพืช ทุ่งบางระกำ  ทุ่งเจ้าพระยาตอนล่างใต้ .นครสวรรค์ เตรียมให้เป็นทุ่งรับน้ำหลาก 13 ทุ่ง รับน้ำได้กว่า 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

 

1.5 กำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำในทุ่งเจ้าพระยา 0.865 ล้านตัน

 

1.6 เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และเครื่องจักรกล

 

2.การดำเนินการระหว่างน้ำมา

 

2.1 การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนให้อยู่ในเกณฑ์เก็บกัก

 

2.2  ใช้อ่างเก็บน้ำในการหน่วงน้ำ (เขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์)

 

 2.3 ยกระดับน้ำเหนือเขื่อนทดน้ำเพื่อหน่วงน้ำ (เขื่อนนเรศวรและเขื่อนเจ้าพระยา)

 

2.4 การจัดจราจรน้ำ ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำชี

 

 2.5  ตัดยอดน้ำเข้าทุ่งพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (ที่ปรับปฏิทินส่งน้ำ ทำให้พื้นที่เกษตรเก็บเกี่ยวหมดแล้ว)

 

2.6 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 607 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 73เครื่อง และเรือผลักดันน้ำ 64ลำ และบูรณาการร่วมกับกองทัพเรือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

 

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์น้ำท่วมปี 2560 นี้กับ ปี 2554 ตามที่หลายฝ่ายมีความกังวลนั้นจะมีความแตกต่างกัน โดยจากข้อมูลทางด้านสถิติของปริมาณน้ำที่ไหลผ่านในแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงวันและเวลาเดียวกัน  พบว่า ปริมาณที่ไหลที่ผ่านแต่ละสถานีวัดน้ำของปี 2560 น้อยกว่า ปี 2554 กล่าวคือ ปัจจุบัน (25 ตุลาคม 2560)ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านสถานี c.2 จังหวัดนครสวรรค์ 3,019 ลบ../วินาที น้อยกว่าปี 2554 จำนวน 1,019 ลบ../วินาที (4,038 ลบ../วินาที ในปี 2554), ปริมาณน้ำไหลเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท 2,697 ลบ../วินาที น้อยกว่าปี 2554 จำนวน 729 ลบ../วินาที (3,426 ลบ../วินาที ในปี 2554) และปริมาณน้ำไหลผ่านสถานี C.29A จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2,702 ลบ../วินาที น้อยกว่าปี 2554 จำนวน 801 ลบ../วินาที (3,503 ลบ../วินาที ในปี 2554)

สำหรับการแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำนั้น กรมชลประทาน ได้มีหนังสือแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัด และกระทรวงมหาดไทย  อย่างรวดเร็วมาโดยตลอด ภายใต้การวิเคราะห์ข้อมูลจากคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ จำนวน 10 หน่วยงาน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบสถานการณ์น้ำและเตรียมความพร้อมสำหรับแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้า ตลอดจนมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ชลประทานทุกพื้นที่ร่วมประชุม วางแผน บูรณาการร่วมกับทางจังหวัดและประสานลงพื้นที่ให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงกับประชาชนที่เป็นจุดเสี่ยงและเข้าช่วยเหลือพื้นที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 27 ต.ค. 2560 เวลา : 11:59:40
03-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 3, 2024, 11:14 am