แบงก์-นอนแบงก์
ออมสิน น้อมนำพระอัจฉริยภาพทางดนตรี รัชกาลที่ ๙ จัดประกวดดนตรีธนาคารโรงเรียน ธนาคารออมสิน ปี 2560


นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารออมสินในฐานะสถาบันเพื่อการออมได้ดำเนินภารกิจส่งเสริมการออมมาตลอดระยะเวลากว่า 104 ปี ได้มุ่งส่งเสริมการออมในระดับเยาวชนด้วยการปลูกฝังมาอย่างยาวนาน ต่อเนื่อง และหลากหลายวิธีการ ผ่านรูปแบบเงินฝากควบคู่กับกิจกรรมมากมายที่มุ่งให้เยาวชนได้มีส่วนร่วม เห็นความสำคัญและคุณค่าของการออมตั้งแต่วัยเยาว์

 

 

โดย 1 ในรูปแบบที่สำคัญ คือ ธนาคารโรงเรียน ธนาคารออมสิน ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้วกว่า 19 ปี นับเป็นช่องทางที่กระตุ้นการออมในระดับเยาวชนผ่านสถานศึกษาที่สัมฤทธิ์ผลเป็นอย่างยิ่ง จนขณะนี้มีเครือข่ายสมาชิกธนาคารโรงเรียนธนาคารออมสิน     ทั่วประเทศรวมแล้ว 1,256 แห่ง และเด็กนักเรียนที่เข้าร่วมในกิจกรรมและออมเงินในรูปแบบนี้มากกว่า 2,300,000 บัญชี มียอดเงินออมจำนวนกว่า 960 ล้านบาท

 

 

ทั้งนี้ เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้เพิ่มเติม ธนาคารออมสินจึงได้จัดกิจกรรมทั้งด้านวิชาการและสันทนาการ อาทิ การแข่งขันกีฬาธนาคารธนาคารโรงเรียนธนาคารออมสิน ซึ่งทำให้เด็กได้มีโอกาสออกกำลังกายเสริมสร้างสุขภาพ พัฒนาสรีระในวัยที่กำลังเจริญเติบโต และอีกหนึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้น คือ จัดประกวดดนตรีธนาคารโรงเรียนธนาคารออมสินซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 9 ประกวดในประเภท Symphonic Band ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งในปีนี้มีจำนวน 8 โรงเรียน ที่เข้ามาสู่รอบชิงชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนราชวินิตมัธยม กรุงเทพฯ โรงเรียนสตรีวัดระฆัง กรุงเทพฯ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพฯ โรงเรียนราชวินิตบางเขน กรุงเทพฯ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 กรุงเทพฯ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว .สมุทรปราการ โรงเรียนหอวัง กรุงเทพฯ และ โรงเรียนสุรนารีวิทยา .นครราชสีมา

 

 

เด็กๆ และเยาวชน ได้เห็นพระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งได้ทรงปลูกฝังให้แก่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จนกลายเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจให้แก่เยาชนในชาติ ธนาคารออมสินได้น้อมนำพระอัจฉริยภาพของพระองค์ทั้งในด้านการออม ด้านดนตรี มาดำเนินรอยตามเพื่อให้การดนตรีได้เสริมควบคู่ไปกับการเรียน การออม เพื่อให้เยาวชนไทยเติบโตอย่างมีศักยภาพในหลายๆ ด้านนายชาติชาย กล่าว

 

 

สำหรับการตัดสินการประกวดปีนี้ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการตัดสินผู้ทรงคุณวุฒิ 6 ท่าน ได้แก่   ดร.วินัย พันธุรักษ์ จากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อาจารย์สถาพร นิยมทอง จากกรมศิลปากร .ดร.วีรชาติ เปรมานนท์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ..ภาสกร สุวรรณพันธ์ จากกองดุริยางค์ทหารเรือ กองทัพเรือ รศ.ดร.ศรัณย์ นักรบ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และน..ดร.วรเขต ทะโกษา จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

 

 

โดยธนาคารฯ กำหนดหลักเกณฑ์การประกวดในรูปแบบนั่งบรรเลง (Concert) จำนวนผู้เข้าประกวดไม่น้อยกว่า 35 คน และไม่เกิน 50 คน ไม่นับรวมวาทยกร กำหนดบทเพลงที่ใช้ประกวดมี 3 เพลง แบ่งเป็นเพลงบังคับ 2 เพลงแรก คือ 1.เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่  2.เพลงเทิดพระเกียรติ หรือ เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ส่วนเพลงที่ 3 เป็นเพลงเลือกอิสระ

 

 

 

สำหรับผู้ชนะเลิศจะได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 300,000 บาท ได้แก่ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จ.สมุทรปราการ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 200,000 บาท ได้แก่ โรงเรียนสุรนารีวิทยา จ.นครราชสีมา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 150,000 บาท ได้แก่ โรงเรียนหอวัง จ.กรุงเทพฯ 

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 จำนวน 5 รางวัล เงินรางวัลละ 100,000 บาท ได้แก่ โรงเรียนราชวินิต มัธยมจ.กรุงเทพฯ , โรงเรียนสตรีวัดระฆัง จ.กรุงเทพฯ , โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า จ.กรุงเทพฯ , โรงเรียนราชวินิตบางเขน จ.กรุงเทพฯ , โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2


LastUpdate 09/11/2560 19:55:13 โดย : Admin
19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 8:52 pm