วิทยาศาสตร์
สดร. เผย 10 เรื่องเด่นดาราศาสตร์น่าติดตามในปี 2561


สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เผย 10 เรื่องเด่นดาราศาสตร์น่าติดตามปี 2561 ชูปี 2561 เป็นปีรำลึกครบรอบ “150 ปี สุริยุปราคาหว้ากอ  เทิดพระเกียรติ .4 เผยปรากฏการณ์เด่นเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงถึง 2 ครั้ง ดวงจันทร์ ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวอังคาร ไล่เรียงเข้าใกล้โลกตั้งแต่ต้นปีและมีฝนดาวตกให้ชมอย่างต่อเนื่อง จับตานาซาส่งยานทะลวงดาวอังคารและยานฮายาบูสะ 2 ของญี่ปุ่นลงจอดบนดาวเคราะห์น้อย ส่วนแวดวงดาราศาสตร์ไทย สดร. พร้อมเดินหน้าสู่ก้าวต่อไปมุ่งใช้ดาราศาสตร์เป็นโจทย์สร้างเทคโนโลยี สร้างคนเก่งร่วมภาคีรณรงค์ลดมลภาวะทางแสง “Dark Sky Campaign” ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เพื่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมและดาราศาสตร์ และเตรียมเปิดหอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชนเต็มรูปแบบแห่งที่ 2 ของไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ มาทรงเปิดอย่างเป็นทางการกุมภาพันธ์นี้ 

 

 

 

“10 เรื่องดาราศาสตร์น่าติดตามในปี 2561” มีดังนี้
1) 150
ปี สุริยุปราคาหว้ากอ

 

- 18 สิงหาคม 2561 วาระครบรอบ 150 ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง หว้ากอ .ประจวบคีรีขันธ์ ทรงพยากรณ์ล่วงหน้าไว้ถึง 2 ปี ว่าจะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จึงถือเป็นวาระสำคัญแห่งการรำลึกถึงปรากฏการณ์สุริยุปราคาครั้งประวัติศาสตร์ เพื่อเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถของพระองค์

 

2) ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้ไกลโลกที่สุดในรอบปี

 

ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก (2 มกราคม) และดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลก (28 กรกฏาคม) จะสังเกตเห็นดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่และเล็กกว่าปกติ 

 


 

3) จันทรุปราคาเต็มดวง 2 ครั้งในรอบปี

ในปี 2561 ประเทศไทยสามารถเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงถึง 2 ครั้ง (31 มกราคม และ 28 กรกฎาคม) แต่ละครั้งมีเวลาเกิดคราสเต็มดวงร่วมชั่วโมง

 

4) ดาวพฤหัสบดี-ดาวเสาร์ใกล้โลก 

 

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก (9 พฤษภาคม) และดาวเสาร์ใกล้โลก (27 มิถุนายน) ในวันดังกล่าวจะสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ทั้งสองปรากฏบนท้องฟ้าสุกสว่างยาวนานตลอดทั้งคืนเนื่องจากอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์

 

5) ดาวอังคารใกล้โลกที่สุดในรอบ 13 ปี

 

ช่วงวันที่ 27-31 กรกฎาคม เหมาะแก่การสังเกตการณ์ดาวอังคารเป็นอย่างยิ่ง เนื่องด้วยมีสองปรากฏการณ์ ได้แก่ ดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (27 กรกฎาคม) และดาวอังคารใกล้โลก (31 กรกฎาคม) ซึ่งเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 13 ปี นับตั้งแต่ปีี 2548  หลังจากนี้จะโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดและมีขนาดปรากฏใหญ่ที่สุดอีกครั้งอีก 17 ปีข้างหน้า ปี 2578

 

6) ฝนดาวตกน่าติดตาม 

 

ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์หรือฝนดาวตกวันแม่ (12-13 สิงหาคม) ฝนดาวตกลีโอนิดส์ (17-18 พฤศจิกายน) และฝนดาวตกเจมินิดส์ (14-15 ธันวาคม)

 

7) ความก้าวหน้าโครงการสำรวจระบบสุริยะ
   
นาซา เตรียมส่งยานสำรวจโครงสร้างภายในดาวอังคาร (Mars InSight Mission) ในเดือน .. กำหนดถึงในเดือน .. และ โครงการ Asteroid Explorer “Hayabusa2” โดย JAXA ของญี่ปุ่น ส่งยานฮายาบูสะ 2 สำรวจดาวเคราะห์น้อย 162173 ริวกิว คาดว่าจะลงจอดช่วงเดือนมิ.. – ..  

 

8) เตรียมเปิดหอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชนเต็มรูปแบบแห่งที่ 2 ของไทย
2
กุมภาพันธ์ 2561 สดร. ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นประธานในพิธีเปิดหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ .วังเย็น .แปลงยาว .ฉะเชิงเทรา ศูนย์การเรียนรู้ดาราศาสตร์ครบวงจรสำหรับประชาชน สนับสนุนการบริการวิชาการด้านดาราศาสตร์แก่ชุมชน และสถาบันการศึกษา และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิชาการที่สำคัญในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก 

 

9) โครงการลดมลภาวะทางแสง (Dark Sky Campaign)

 

สดร. ร่วมกับ กฟผ. และหน่วยงานภาคี เดินหน้าโครงการลดมลภาวะทางแสงที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์เพื่อผลักดันให้เป็นเขตอนุรักษ์ฟ้ามืดสากล รณรงค์เปลี่ยนหลอดไฟชนิดคอมแพคต์ฟลูออเรสเซนต์ (CFL) บริเวณแปลงดอกเบญจมาศ เป็นหลอดไฟชนิดแอลอีดี (LED) จำนวนกว่า 40,000 หลอด เพื่อลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสง สร้างความตระหนักในการประหยัดพลังงานและใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าส่องสว่างในชุมชนอย่างเหมาะสมกับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ และเพื่อรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศน์ในเขตพื้นที่ดอยอินทนนท์

 

10) ก้าวต่อไปของสดร. (NARIT : The Next Step) 

 

ก้าวเข้าสู่เวทีใหม่ในการนำดาราศาสตร์มาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาคน หันมาให้ความสำคัญในการออกแบบและสร้างอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการวิจัยทางดาราศาสตร์เพื่อยกระดับงานวิจัยและวิศวกรรม สามารถออกแบบและสร้างอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ระดับสูงด้วยตัวเอง เพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ รวมถึงการติดตั้งกล้องวิทยุโทรทรรศน์แห่งชาติ อีกหนึ่งโครงสร้างดาราศาสตร์ที่สำคัญของไทยในอนาคต 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 20 ธ.ค. 2560 เวลา : 22:06:01
16-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 16, 2024, 4:02 pm