เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ (EIC) คาดเงินเฟ้อทั่วไปปี 61 เพิ่มขึ้นไปที่ 1.1% จากปีก่อน 0.66% จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น


 ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ (EIC) คาดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 61 จะทยอยฟื้นตัวขึ้นไปอยู่ที่ 1.1% YOY โดยปัจจัยหลักที่จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น มาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
  
โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ยในปี 2018 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นไปอยู่ที่ 58 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลจาก 54 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในปี 2017 ประกอบกับการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตสำหรับบุหรี่และสุราที่จะยังคงมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อต่อเนื่องไปจนถึงช่วงครึ่งแรกของปี อย่างไรก็ตาม ราคาอาหารสดโดยเฉพาะราคาผักและผลไม้ยังมีแรงกดดันจากผลผลิตทางการเกษตรที่อาจมีปริมาณออกสู่ตลาดจำนวนมาก ตามแนวโน้มสภาพอากาศและปริมาณน้ำที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตในปีนี้มองอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนธันวาคมอยู่ที่ 0.78%YOY ปรับตัวลงจากเดือนก่อนที่ 0.99%YOY ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปี 2017 เฉลี่ยอยู่ที่ 0.66%YOY ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับเพิ่มขึ้นไปที่ 0.62%YOY จาก 0.61%YOY ในเดือนก่อน ส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐานปี 2017 อยู่ที่ 0.55%

 


  อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนธันวาคมลดลงเล็กน้อยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกขยายตัวน้อยลงที่ 18.8%YOY จาก 34.7%YOY ในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาอาหารสดยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ที่ -0.9%YOY โดยเฉพาะราคาเนื้อสัตว์ รวมถึงไข่และผลิตภัณฑ์นม ขณะที่ราคาผักและผลไม้ขยายตัวเล็กน้อยเพียง 0.22%YOY
  ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งยังเป็นผลต่อเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตในเดือนกันยายนส่งผลให้ราคาหมวดยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 5.8%YOY ประกอบกับการปรับอัตราค่าไฟฟ้า Ft รอบเดือนกันยายน-ธันวาคมขึ้น ก็ยังมีผลให้ดัชนีราคาหมวดไฟฟ้าในที่พักอาศัยเพิ่มขึ้น 4.2%YOY
  อีไอซีคาดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2018 จะทยอยฟื้นตัวขึ้นไปอยู่ที่ 1.1%YOY โดยปัจจัยหลักที่จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น มาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ยในปี 2018 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นไปอยู่ที่ 58 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลจาก 54 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในปี 2017 ประกอบกับการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตสำหรับบุหรี่และสุราที่จะยังคงมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อต่อเนื่องไปจนถึงช่วงครึ่งแรกของปี อย่างไรก็ตาม ราคาอาหารสดโดยเฉพาะราคาผักและผลไม้ยังมีแรงกดดันจากผลผลิตทางการเกษตรที่อาจมีปริมาณออกสู่ตลาดจำนวนมาก ตามแนวโน้มสภาพอากาศและปริมาณน้ำที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตในปีนี้
  มองว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำที่ 0.6% ในปี 2018 เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่ได้ฟื้นตัวชัดเจนนัก โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้มีรายได้ปานกลาง-น้อย ทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ จะถูกปรับราคาขึ้นได้อย่างช้าๆ


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 03 ม.ค. 2561 เวลา : 16:40:46
18-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 18, 2024, 9:08 am