การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
สธ.พบชาวลัวะ,ม้งที่จ.น่าน 'ห้าม' หญิงท้องกินไข่ เนื้อหมู เพราะกลัวเด็กพิการ ส่งผลต่อน้ำหนัก -พัฒนาการลูก


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี  ทรงเปิดสุขศาลาพระราชทานบ้านป่าก๋ำ .ดงพญา .บ่อเกลือ .น่าน  ซึ่งเป็นสุขศาลา 1 ใน 3 แห่งในพระราชดำริให้จัดตั้งเพื่อดูแลประชาชนในพื้นที่ห่างไกลกว่า 1,600 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวลัวะและม้ง  ยังมีความเชื่อเรื่องจิตวิญญาน  ห้ามหญิงตั้งครรภ์กินไข่ เนื้อหมู ปลา เพราะเชื่อว่าจะทำให้เด็กพิการ ส่งผลให้เด็กหลังคลอด 1 ใน 5 มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน  มีพัฒนาการอยู่ในข่ายสงสัยล่าช้าสูงถึงร้อยละ 68   กรมสุขภาพจิตเร่งแก้ไขโดยส่งเสริมเพิ่มทักษะพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเด็ก และวางแผนตรวจระดับไอคิวเด็กป.1 ในปลายเดือนหน้า   

 

    

 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในจ.น่าน ทรงตัดริ้บบิ้นเปิดอาคารสุขศาลาพระราชทานบ้านป่าก๋ำ .ดงพญา .บ่อเกลือ ทรงเยี่ยมชมกิจกรรมบริการ โดยมีนาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง  ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วยผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 1 ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากกรมสุขภาพจิต กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่านเฝ้ารับเสด็จ

 

 

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง กราบทูลถวายรายงานว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งสุขศาลาพระราชทานจำนวน 3 แห่งในจังหวัดน่าน ประกอบด้วย สุขศาลาพระราชทานบ้านป่าก๋ำ .ดงพญา .บ่อเกลือ , สุขศาลาพระราชทานโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี 21 ตุลาคม ..2543  ที่บ้านสะไล .บ่อเกลือเหนือ .บ่อเกลือ และสุขศาลาพระราชทานบ้านห้วยปูด .ขุนน่าน .เฉลิมพระเกียรติ เพื่อให้บริการรักษาพยาบาลขั้นต้นและการสาธารณสุข แก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร โดยพระราชทานทรัพย์จำนวน 1 ล้านบาท ก่อสร้างอาคารสุขศาลาพระราชทานบ้านป่าก๋ำขนาดชั้นเดียวพร้อมครุภัณฑ์ทางการแพทย์อีก 26 รายการ อาทิ เตียงนอนผู้ป่วยชนิดปรับได้ เตียงและรถเข็นทำแผล เครื่องผลิตอ๊อกซิเจน เครื่องฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์  เครื่องวัดปริมาณอ๊อกซิเจนปลายนิ้ว เปลหามผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน  โดยมีพนักงานสาธารณสุข ซึ่งเป็นชาวลัวะให้บริการประจำ 1 คน ดูแล 4 กลุ่มบ้านได้แก่ บ้านขุนน้ำจอน บ้านป่าก๋ำ บ้านห้วยลัวะ และบ้านปางกบ  ประชาชนรวม 518 คน เป็นชาวลัวะและม้ง  เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 4มกราคม ..2561 เป็นต้นมา โดยไม่คิดมูลค่า  มีผู้ป่วยรับบริการ 30 คน ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัด ปวดเมื่อย ส่วนอีก 2 แห่ง ได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2560  เป็นต้นมา มีผู้ป่วยแห่งละประมาณ 100 คน 

สุขศาลาพระราชทานทั้ง 3 แห่งนี้  ดูแล 9 คุ้มบ้าน จำนวน 340 หลังคาเรือน ประชากรทั้งหมด 1,643 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวลัวะและม้ง  ให้บริการรักษาพยาบาลเบื้องต้นทั้งปกติและฉุกเฉิน  ฝากครรภ์ เยี่ยมบ้าน วางแผนครอบครัว ตรวจคัดกรองหาโรคเรื้อรัง  ให้สุขศึกษา  มีระบบการปรึกษาและรักษาโดยแพทย์จากโรงพยาบาลชุมชนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต  ซึ่งหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมพัฒนาระบบบริการ  โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมบริหารจัดการทั้ง 3 แห่ง ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนด้านการอบรมพัฒนาบุคลากรประจำสุขศาลาแห่งละ 1 คน ซึ่งคัดเลือกจากประชาชนในหมู่บ้าน รวมทั้งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สนับสนุนเวชภัณฑ์ยาจำเป็นพื้นฐานต่อเนื่องแห่งละ 32 รายการ อุปกรณ์ทำแผล ชุดทำคลอดฉุกเฉิน พัฒนาด้านมาตรฐานบริการ   ด้านโภชนาการเด็ก ในส่วนของกรมสุขภาพจิต ดำเนินการด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก พัฒนาไอคิว และอีคิวเด็กซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณภาพการทำงานของสมอง เพื่อให้เด็กมีคุณภาพครบถ้วนทั้งกาย ใจ สติปัญญาดี มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี     

สำหรับปัญหาหลักของพื้นที่นี้ ประชาชนส่วนใหญ่ยังนับถือหมอผี หรือหมอฮีต ซึ่งเป็นความเชื่อเรื่องของจิตวิญญานควบคู่กับสิ่ชงศักดิ์สิทธิ์ในหมู่บ้านสื่บเนื่องมาจากบรรพบุรุษ  เมื่อป่วยแล้วมักจะไม่ไปพบแพทย์  ยกเว้นรายที่อาการรุนแรงจริงๆ ที่ต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจคือยังมีความเชื่อห้ามหญิงตั้งครรภ์กินปลาหนัง  เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ นม เพราะเชื่อว่าจะทำให้เด็กในครรภ์พิการ  ซึ่งขัดกับการส่งเสริมโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์   และยังให้เด็กทารกวัยเดือน กินข้าวที่แม่เคี้ยวให้ เพราะกลัวลูกตาย   ส่งผลให้เด็กมีปัญหาโภชนาการค่อนข้างมาก  โดยมีน้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คือ 2,500 กรัมมากถึงร้อยละ 22 ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการของเด็กด้วย  ผลการตรวจเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบทั้งหมด 65 คน จาก 3 หมู่บ้าน ในช่วงปลายปี 2560 พบเด็กมีพัฒนาการปกติสมตามวัยจำนวน 25 คน ส่วนที่เหลืออีก 40  คน พัฒนาการอยู่ในข่ายสงสัยล่าช้าคิดเป็นร้อยละ 68  มากที่สุดที่บ้านป่าก๋ำร้อยละ 83  บ้านห้วยปูดพบร้อยละ 80  ส่วนใหญ่ล่าช้าด้านความเข้าใจและการสื่อภาษา และการใช้มือหยิบจับสิ่งของ ส่วนด้านร่างกายพบเด็กกว่าร้อยละ 29ยังเตี้ย

ทั้งนี้เด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการล่าช้า  หากได้รับการแก้ไขกระตุ้นจากการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เนิ่นๆ จะกลับมาสมวัยได้สูงเนื่องจากเป็นช่วงที่สมองเจริญเติบโตสูงที่สุด  กรมสุขภาพจิตได้สนับสนุนชุดเครื่องมือกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัย พร้อมส่งผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ .เชียงใหม่ ดำเนินการร่วมกับพื้นที่ควบคู่กับดูแลสุขภาพกายด้านโภชนาการ น้ำหนักส่วนสูง  การให้วัคซีนป้องกันโรค โดยสร้างการมีส่วนร่วมครอบครัว ส่งเสริมเพิ่มทักษะในการเลี้ยงดูของพ่อแม่ เน้นการสร้างวินัยเชิงบวกให้เด็ก โดยการกอดลูก เล่นกับลูก เล่านิทาน เต้นประกอบเพลง และวาดรูป โดยประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย จะประเมินซ้ำอีกครั้งในวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2561 พร้อมทั้งวางแผนจะตรวจระดับไอคิวเด็กประถมศึกษาปีที่ 1ด้วย เพื่อให้เด็กในพื้นที่เหล่านี้มีไอคิว 100 จุดเท่ามาตรฐานสากล ด้วยมาตรการต่างๆ เช่น การป้องกันการขาดสารไอโอดีน ซึ่งบางหมู่บ้านยังใช้เกลือที่มีไอโอดีนเพียงร้อยละ 72  เท่านั้น รวมทั้งการเสริมธาตุเหล็ก และสารอาหาร โดยไอคิวของเด็กมาจากกรรมพันธุ์ร้อยละ 68 ที่เหลือได้มาจากการเลี้ยงดู อาหารการกินโดยเฉพาะนมแม่ โปรตีน ไอโอดีน ธาตุเหล็ก


LastUpdate 16/01/2561 22:47:03 โดย : Admin
18-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 18, 2024, 2:29 pm