การค้า-อุตสาหกรรม
สนค.เปิดตัวดัชนีการค้าภาคบริการของไทยเป็นครั้งแรก ชี้ยังเติบโตต่อเนื่อง


นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้จัดทำดัชนีภาวะการค้าภาคบริการ (Trade in Services Performance and Potential Index : TSPPI) ตามข้อสั่งการของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเครื่องชี้วัดภาวะการค้าภาคบริการของประเทศเป็นครั้งแรก พบว่าภาคบริการของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปี 2559 ในหลายสาขา

 

 

ดัชนีภาคบริการนี้ เป็นการบูรณาการรวบรวมและเชื่อมโยงฐานข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการจากหน่วยงานต่าง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสำนักงาน กลต. เป็นต้น รวมทั้งหมด 12 ตัวชี้วัด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวชี้วัดด้านผลการดำเนินงานภาคบริการ (Performance) ประกอบด้วย ยอดขาย การจ้างงาน นิติบุคคลจดทะเบียน และความเชื่อมั่น SME ปัจจุบัน และกลุ่มตัวชี้วัดด้านศักยภาพและความเชื่อมั่นภาคบริการ (Potential & Confidence) ประกอบด้วย นิติบุคคลเพิ่มทุน การลงทุน และความเชื่อมั่นผู้ประกอบการอนาคต ซึ่งดัชนีจะชี้วัดสถานการณ์ภาพรวมของภาคบริการ (Overall Index) และรายสาขาย่อยจำนวน 13 สาขา (Sectoral Index) โดยใช้ข้อมูลปี 2559 เป็นปีฐาน

ดัชนีบริการนี้ เป็นการวัด ชีพจรบริการ ใน 2 ส่วนสำคัญคือ การขยายตัว และศักยภาพ ของภาคบริการไทย เราจะเห็นความเคลื่อนไหวว่า สาขาบริการไหนขยายตัว/หดตัว เกิดจากปัจจัยอะไรเป็นหลัก รัฐต้องมีมาตรการลงไปช่วยเหลือให้โตขึ้นมากกว่านี้ได้ไหม หรือมีอะไรที่ต้องระวัง (early warning) เพราะเรามีข้อมูลจากหลายมิติ ประโยชน์ของดัชนีจะใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจนนักลงทุน โดยภาครัฐใช้ประกอบการวางแผน กำหนดนโยบาย และเสนอแนะมาตรการที่เหมาะสมในการพัฒนาภาคบริการในอนาคต ส่วนภาคเอกชนและนักลงทุน สามารถนำไปใช้ในการกำหนดแผนการขยายธุรกิจ และเห็นทิศทางแนวโน้มตลอดจนศักยภาพสาขาบริการด้านต่าง ของไทย โดยต้องขอขอบคุณหน่วยงานต่าง ที่สละเวลามาร่วมประชุมกันหลายครั้ง และสนับสนุนข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการทำดัชนี ซึ่งเราจะประกาศเป็นรายเดือนต่อไปนางสาวพิมพ์ชนกกล่าว 

สรุปดัชนีภาวะการค้าภาคบริการของไทย

 

ดัชนีภาวะการค้าภาคบริการของไทยในเดือนธันวาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 106.6 สูงขึ้นร้อยละ 5.8  (YoY) เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งในหมวดผลการดำเนินงาน  และหมวดศักยภาพ/ความเชื่อมั่น แม้ว่าตัวชี้วัดย่อยบางรายการ เช่น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SMEs ภาคการค้าและบริการปัจจุบัน มูลค่ายอดขายและมูลค่าทุนจดทะเบียนนิติบุคคลเพิ่มทุน มีค่าลดลงจากปีก่อนหน้าก็ตาม และเมื่อปรับผลทางฤดูกาล ดัชนีภาวะการค้าภาคบริการของไทยในเดือนธันวาคม 2560 ลดลงร้อยละ 3.1  (MoM S.a.) อย่างไรก็ตาม ดัชนีภาวะการค้าภาคบริการไตรมาส 4/2560 ขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.5 (QoQS.a.)

รวมทั้งปี2560 ดัชนี TSPPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 (YoY) ต่อเนื่องจากร้อยละ 2.7 (YoY) ในปี 2559 สอดคล้องกับ GDP ภาคบริการที่ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องร้อยละ 5.4 (YoY) ในปี 2559 และร้อยละ 5.0 (YoY) ในช่วง 3 ไตรมาสของปี 2560 สะท้อนถึงสถานการณ์การค้าภาคบริการที่ยังอยู่ในระดับดี

 

 

เมื่อพิจารณา ภาคบริการในรายสาขา จะพบว่าเกือบทุกสาขาปรับตัวดีขึ้นในเดือนธันวาคม 2560 โดยเฉพาะสาขาอสังหาริมทรัพย์ สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่งและขายปลีก ที่มีอัตราการขยายตัวดีกว่าดัชนีรวม อย่างไรก็ตาม สาขาก่อสร้าง สาขาการศึกษา สาขาการบริหาร/สนับสนุน และสาขาการบริการด้านอื่น หดตัว โดยเฉพาะสาขาก่อสร้างที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ติดต่อกัน สอดคล้องกับทิศทางดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในหมวดก่อสร้างที่ลดลงสวนทางกับทิศทางตลาด และ GDP ก่อสร้างหดตัวต่อเนื่อง 2 ไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด โดยมีกิจกรรมสำคัญที่กระทรวงพาณิชย์ส่งเสริมการค้าภาคก่อสร้าง อาทิ ส่งเสริมการเข้าร่วมงานแสดงก่อสร้าง World Expo ที่ดูไบ จัดงาน Expo โชว์ช่าง และให้การอบรมและส่งเสริมการสร้างเครือข่ายธุรกิจ เป็นต้น

แนวโน้มภาวะการค้าภาคบริการ

 

สำหรับแนวโน้มภาวะการค้าภาคบริการในปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จากตัวชี้วัดสำคัญในหมวดศักยภาพ/ความเชื่อมั่น (Potential and Confidence) ที่ปรับตัวดีขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจ สำหรับสาขาบริการที่มีศักยภาพ และแนวโน้มขยายตัวได้ดี ได้แก่ สาขาอสังหาริมทรัพย์ สาขาบริการทางการเงิน สาขาสุขภาพ และสาขาขายส่งและการขายปลีก โดยสาขาอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มขยายตัวตามเศรษฐกิจของประเทศ และสาขาสุขภาพมีแนวโน้มขยายตัวที่ดีตามกระแส Medical Tourism ซึ่งคาดว่าในระยะต่อไปจะได้รับการตอบรับจากกลุ่มนักลงทุนมากขึ้น ทั้งในแง่ของการลงทุนและการทำการตลาดด้านสุขภาพ ในขณะที่สาขาก่อสร้างมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามการลงทุนภาครัฐและเอกชนที่ยังมีแผนการลงทุนใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 17 ม.ค. 2561 เวลา : 17:08:39
19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 7:08 pm