เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
เสียงสะท้อนปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 5-22 บาท


หลังคณะกรรมการการค่าจ้างมีมติปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำทุกจังหวัดทั่วประเทศในอัตรา  5-22 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เม.. 61  ได้มีเสียงสะท้อนทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย   โดยดร.สมคิด  จาตุศรีพิทักษ์   รองนายกรัฐมนตรี   บอกว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ตัวแทนนายจ้างและลูกจ้างได้มีการหารือกันเป็นอย่างดีแล้ว การขึ้นในอัตรานี้ถือว่าเหมาะสมเพราะสังคมต้องอยู่ร่วมกัน   เนื่องจากค่าแรงขั้นต่ำไม่มีการปรับขึ้นมา 3 ปีแล้ว

ซึ่งการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ   ทำให้แรงงานมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น  ส่งผลดีต่อการใช้จ่าย ทำให้เศรษฐกิจมีแรงหมุน    อย่างไรก็ตามกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์จะมีหน้าที่ดูแลผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น  เช่น  การดำเนินงานของภาคธุรกิจและราคาสินค้า 

 


 

ด้านนายสนธิรัตน์  สนธิจิรวงศ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์   เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้าได้เชิญกลุ่มผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่และภาคเอกชนทุกกลุ่มอุตสาหกรรมมาประชุมหารือถึงผลกระทบจากการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ    ซึ่งโดยเฉลี่ยจะกระทบต่อต้นทุนผลิตสินค้าและบริการสูงสุด 0.1%  และต่ำสุดเฉลี่ย 0.0008%   ดังนั้นจึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคเพิ่มขึ้นตามอัตราแรงงานที่เพิ่มขึ้น

แต่กระทรวงพาณิชย์จะรับฟังปัญหาและผลกระทบดังกล่าวในการประชุมร่วม หากผู้ประกอบการรายใดเห็นว่าได้รับผลกระทบจากจะปรับขึ้นค่าแรงงานครั้งนี้  สามารถชี้แจงต้นทุนการปรับเพิ่มขึ้นอย่างละเอียดและยื่นหนังสือเสนอขอปรับราคามายังกรมการค้าภายในก่อน    หากเห็นว่ากระทบจริงจะให้ปรับราคาสินค้าขึ้นตามต้นทุนที่กระทบ แต่หากเห็นว่ายังสามารถรับภาระได้  ทางกระทรวงพาณิชย์จะขอความร่วมมือช่วยกันตรึงราคาสินค้าเดิมไปก่อน เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับประชาชน

 


 

ขณะที่นายดอน  นาครทรรพ   ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้   คิดเป็นอัตราเพิ่ม 3.4% โดยเฉลี่ยทั่วประเทศนั้ ถือว่าเป็นขนาดการปรับเพิ่มที่ไม่มากไม่น้อยเกินไป และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง   แต่ยังไม่กระจายตัวมากนัก โดยจะส่งผลดีให้แรงงานมีรายได้เพิ่มขึ้น  ส่งผลดีต่อการบริโภคในภาพรวม และช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย

ซึ่งจากข้อมูลการสำรวจ พบว่ากลุ่มลูกจ้างที่มีรายได้ในปัจจุบันต่ำกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่จะประกาศใหม่มีอยู่ประมาณ 12% เมื่อประกาศใช้ค่าแรงขั้นต่ำอัตราใหม่ จะทำให้คนกลุ่มนี้มีระดับรายได้ที่เพิ่มขึ้น และช่วยบรรเทาภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงได้บ้าง  

ส่วน ในเรื่องความกังวลต่อความสามารถของผู้ประกอบการที่จะแบกรับภาระต้นทุนค่าจ้างที่สูงขึ้นนั้น เป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็ก ซึ่งมีต้นทุนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานรายได้ขั้นต่ำเป็นค่าใช้จ่ายหลักของกิจการ

อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้   เป็นการปรับในอัตราที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่   ซึ่งเป็นวิธีการที่มีความเหมาะสม   เพราะได้คำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจสังคมของพื้นที่เป็นปัจจัยสำคัญ เช่น ปรับขึ้นค่าแรงในอัตราสูงในพื้นที่ EEC  ซึ่งผู้ประกอบการมีศักยภาพในการสร้างผลิตภาพจากแรงงานที่จ้างอย่างคุ้มค่า หรือในกรณีที่ปรับขึ้นค่าแรงไม่มากนักในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  เพราะต้องการประคองภาวะเศรษฐกิจท่ามกลางเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น

 

 

ขณะที่นายเจน  นำชัยศิริ    ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(...) เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ 22 ..นี้ ...จะจัดประชุมใหญ่สมาชิก เพื่อหารือถึงผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ   ซึ่งขณะนี้ได้ให้อุตสาหกรรมแต่ละจังหวัดไปหารือกับผู้ประกอบการ และเสนอผลกระทบมาอย่างละเอียด ส่วนผลกระทบเป็นอย่างไรนั้น ยังไม่อยากออกความเห็น จนกว่าจะได้รับความเห็นจากสมาชิกอย่างเป็นทางการก่อน

 


 

นายวิบูลย์   กรมดิษฐ์   ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท อมตะคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ในส่วนของผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรม ยังไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากอัตราค่าจ้างปัจจุบันเกิน 400 บาทต่อวัน   แต่กลุ่มที่งอาจได้รับผลกระทบน่าจะเป็นกลุ่มเอสเอ็มอี ที่อยู่นอกนิคมอุตสาหกรรมมากกว่า


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 19 ม.ค. 2561 เวลา : 11:48:05
26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 11:16 pm