ข่าวประชาสัมพันธ์
โครงการ 'ไทยนิยม ยั่งยืน'


กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพลสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง โครงการไทยนิยม ยั่งยืนทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2561 จากประชาชน ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,050 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการรับรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นที่มีต่อโครงการไทยนิยม ยั่งยืนการสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บวิธีด้วยวิธีการลงพื้นที่สัมภาษณ์แบบพบตัว โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95

 

 

จากการสำรวจ เมื่อถามถึง โครงการไทยนิยม ยั่งยืนพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.46 เคยได้ยินชื่อ โครงการไทยนิยม ยั่งยืนมาบ้าง แต่ไม่รู้ว่าทำอะไร ร้อยละ 37.81 ระบุว่า รู้จัก โครงการไทยนิยม ยั่งยืนและร้อยละ 20.73 ระบุว่า ไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินชื่อ โครงการไทยนิยม ยั่งยืนเลย

สำหรับช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ โครงการไทยนิยม ยั่งยืนพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.77 ระบุว่าเคยได้ยินหรือรับรู้ข้อมูลข่าวสารของ โครงการไทยนิยม ยั่งยืนผ่านทางสื่อโทรทัศน์ รองลงมา ร้อยละ 52.00 จากผู้นำชุมชน ร้อยละ 29.97 จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร้อยละ 24.74 จากสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook หรือ Line ร้อยละ 17.35 ครอบครัว เพื่อน หรือคนรู้จัก ร้อยละ 14.71 สื่อวิทยุ ร้อยละ 6.58 สื่อสิ่งพิมพ์ ร้อยละ 5.05 ป้ายประกาศ แผ่นพับ หรือใบปลิว ร้อยละ 0.92 ช่องทางอื่น เช่น การลงพื้นที่ ของนายกรัฐมนตรี หรือเสียงตามสายภายในชุมชน และร้อยละ 0.62 ทางเว็บไซต์ เช่น Mthai Manager เป็นต้น

สำหรับความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการไทยนิยม ยั่งยืนจากผลสำรวจพบว่า โดยภาพรวมประชาชนส่วนใหญ่ ระบุว่าค่อนข้างเข้าใจในหลักการหรือแนวคิดของโครงการ เมื่อพิจารณาตามกรอบการดำเนินการทั้ง 10 เรื่อง ดังนี้ (1) เรื่องสัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง ร้อยละ 51.71 (2) เรื่องคนไทยไม่ทิ้งกัน ร้อยละ 47.27 (3) เรื่องชุมชนอยู่ดีมีสุข ร้อยละ 48.39 (4) เรื่องวิถีไทยวิถีพอเพียง ร้อยละ 45.22 (5) เรื่องรู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย ร้อยละ 44.78 (6) เรื่องรู้กลไกการบริหารราชการ ร้อยละ 47.27 (7) เรื่องรู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม ร้อยละ 48.20 (8) เรื่องรู้เท่าทันเทคโนโลยี ร้อยละ 48.78 (9) เรื่องร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด ร้อยละ 47.51 และ (10) เรื่องงานตามภารกิจ ของทุกหน่วยงาน ร้อยละ 46.34

 

 

เมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการไทยนิยม ยั่งยืนตามกรอบการดำเนินการทั้ง 10 เรื่อง (เฉพาะผู้ที่เข้าใจ หรือค่อนข้างเข้าใจเกี่ยวกับหลักการหรือแนวคิดของโครงการ ) พบว่า (1) เรื่องสัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง ร้อยละ 49.93 ค่อนข้างเห็นด้วย (2) เรื่องคนไทยไม่ทิ้งกัน ร้อยละ 58.02 เห็นด้วยมากที่สุด (3) เรื่องชุมชนอยู่ดีมีสุข ร้อยละ 54.80 เห็นด้วยมากที่สุด (4) เรื่องวิถีไทยวิถีพอเพียง ร้อยละ 57.88 เห็นด้วยมากที่สุด (5) เรื่องรู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย ร้อยละ 50.40 เห็นด้วยมากที่สุด (6) เรื่องรู้กลไกการบริหารราชการ ร้อยละ 53.94 ค่อนข้างเห็นด้วย (7) เรื่องรู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม ร้อยละ 51.72 ค่อนข้างเห็นด้วย (8) เรื่องรู้เท่าทันเทคโนโลยี ร้อยละ 50.33 ค่อนข้างเห็นด้วย (9) เรื่องร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด ร้อยละ 55.80 เห็นด้วยมากที่สุด และ (10) เรื่องงานตามภารกิจของทุกหน่วยงาน ร้อยละ 49.50 เห็นด้วยมากที่สุด

ความต้องการและความคิดเห็นเพิ่มเติมที่ตัวอย่างต้องการให้รัฐบาลดำเนินงานในโครงการไทยนิยม ยั่งยืน” 10 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 อยากให้รัฐบาลส่งเสริมการประกอบอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน และเพิ่มสวัสดิการให้แก่ คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุไร้ญาติหรือไร้ที่อยู่ ร้อยละ 15.53 อันดับ 2 อยากให้รัฐบาลเพิ่มราคาพืชผลทางการเกษตรให้สูงขึ้น เช่น ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น

ร้อยละ 13.11 อันดับ 3 อยากให้ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ร้อยละ 11.29 อันดับ 4 อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยหรือคนจนอย่างทั่วถึง ร้อยละ 8.13 อันดับ 5 อยากให้พัฒนาและส่งเสริมด้านการเกษตรให้มากขึ้น เช่น สนับสนุนที่ดินทำการเกษตร จัดสรรแหล่งน้ำทำการเกษตร มีตลาดรองรับสินค้าทางการเกษตร เป็นต้น ร้อยละ 6.67 อันดับ 6 อยากให้รัฐบาลช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง ร้อยละ 5.83 อันดับ 7 อยากให้รัฐบาลดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง จริงจัง และโปร่งใส ร้อยละ 4.98 อันดับ 8 อยากให้รัฐบาลเพิ่มเงินสวัสดิการของรัฐให้มากขึ้น และอยากให้ช่วยส่งเสริมการศึกษาและจัดกองทุนการศึกษาเพื่อเด็กด้อยโอกาสหรือเด็กยากจน ร้อยละ 4.61 อันดับ 9 อยากให้รัฐบาลเพิ่มงบประมาณในการพัฒนาชุมชน ร้อยละ 3.64 และอันดับ 10 อยากให้รัฐบาลปราบปราม และแก้ปัญหาการทุจริต ร้อยละ 3.16

สำหรับความคาดหวังของประชาชนต่อผลการดำเนินงานโครงการไทยนิยม ยั่งยืนพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.39 ค่อนข้างคาดหวังว่าผลการดำเนินโครงการจะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น และร้อยละ 30.25คาดหวังว่าผลการดำเนินโครงการจะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างแน่นอน โดยให้เหตุผลว่า การดำเนินโครงการฯ จะทำให้ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น สามารถนำเงินไปใช้จ่ายแบ่งเบาภาระในครัวเรือนได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ทำให้ได้รับความรู้ และความเข้าใจในหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน ก่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ รวมถึงหลักการหรือแนวคิดตามกรอบการดำเนินงานทั้ง 10 เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด การยกระดับคุณภาพชีวิต การสร้างจิตสำนึกที่ดี การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง และการให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการบริหารงานราชการในระดับต่าง ถือเป็นนโยบายที่ดี เพราะทำให้รัฐบาลเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของประชาชน เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามารับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น และมีหลักการดำเนินงานที่ชัดเจน ประชาชนสามารถเห็นถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการทำโครงการได้ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าการดำเนินโครงการไทยนิยม ยั่งยืนของรัฐบาลจะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น นอกจากนี้ พบว่า ยังมีประชาชนบางส่วน ร้อยละ 13.51 ไม่ค่อยคาดหวังว่าผลการดำเนินโครงการจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น และร้อยละ 4.78 ไม่คาดหวังเลยว่าผลการดำเนินโครงการ จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยให้เหตุผลว่า การดำเนินโครงการยังขาดความต่อเนื่อง และวงเงินงบประมาณมีอยู่อย่างจำกัด จึงไม่สามารถเห็นผลสำเร็จของโครงการได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งการประชาสัมพันธ์และการกระจายข้อมูลข่าวสารยังไม่ทั่วถึง ทำให้ประชาชนไม่ทราบรายละเอียดและประโยชน์ที่แท้จริงจากการทำโครงการ ที่สำคัญประชาชนมองว่ายังขาดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือแม้กระทั่งในกลุ่มประชาชนเอง ทำให้การดำเนินงานเป็นไปได้ยาก จึงไม่สามารถเข้าถึง และแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างตรงจุด

เมื่อถามถึงการมีส่วนร่วมใน โครงการไทยนิยม ยั่งยืนประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.98 ระบุว่า จะเข้าร่วมเวทีประชาคมรับฟังหลักการและแนวคิดของโครงการไทยนิยม ยั่งยืนร้อยละ 55.02 ระบุว่าจะร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางต่าง เพื่อพัฒนาชุมชนในโครงการไทยนิยม ยั่งยืนร้อยละ 48.66 ระบุว่า จะเข้าร่วมกิจกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.07 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 42.93 เป็นเพศชาย โดยตัวอย่างร้อยละ 30.59 มีอายุ 46-59 ปี ร้อยละ 25.80 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 18.15 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 14.00 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 11.46 มีอายุ 18-25 ปี ตัวอย่างร้อยละ 37.51 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.63 มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 17.17 ปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.03 อนุปริญญาหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.66 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 24.88 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 23.76 ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว อาชีพอิสระ ร้อยละ 20.88 รับจ้างทั่วไป ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 10.63 เป็นพ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณ ว่างงาน ร้อยละ 9.81 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 7.51 ข้าราชการ ลูกจ้างของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 2.24 นักเรียน นิสิต นักศึกษา และร้อยละ 0.29 ประมง ตัวอย่างร้อยละ 32.10 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 30.05 มีรายได้ 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 19.41 มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 7.12 มีรายได้ 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.56 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 3.66 ไม่ระบุรายได้ และร้อยละ 2.10 มีรายได้มากกว่า 30,000 บาท

 


 

1. ท่านรู้จักหรือเคยได้ยิน โครงการไทยนิยม ยั่งยืนหรือไม่

การรับรู้/ได้ยินข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับโครงการไทยนิยม ยั่งยืนร้อยละ

1. เคยได้ยินมาบ้าง แต่ไม่รู้ว่าทำอะไร 41.46

2. รู้จัก 37.81

3. ไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินเลย 20.73

รวม 100.00

2. ท่านรู้จักหรือเคยได้ยินโครงการไทยนิยม ยั่งยืนผ่านช่องทางใด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของ โครงการไทยนิยม ยั่งยืนร้อยละ

1. สื่อโทรทัศน์ 62.77

2. ผู้นำชุมชน 52.00

3. เจ้าหน้าที่ของรัฐ 29.97

4. สื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Line เป็นต้น 24.74

5. ครอบครัว/เพื่อน/คนรู้จัก 17.35

6. สื่อวิทยุ 14.71

7. สื่อสิ่งพิมพ์ 6.58

8. ป้ายประกาศ/แผ่นพับ/ใบปลิว 5.05

9. สื่อเว็บไซต์ เช่น Mthai Manager เป็นต้น 0.62

10. อื่น เช่น นายกรัฐมนตรีมาลงพื้นที่ เสียงตามสาย 0.92

หมายเหตุ : จำนวนผู้ตอบ 1,625 คน โดยเลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ

3. ท่านมีความเข้าใจอย่างไรกับหลักการ/แนวคิดของ โครงการไทยนิยม ยั่งยืนในประเด็นต่าง ต่อไปนี้

ความเข้าใจในหลักการ/แนวคิด ของโครงการไทยนิยม ยั่งยืนความเข้าใจ เข้าใจมาก ค่อนข้างเข้าใจ ไม่ค่อยเข้าใจ ไม่เข้าใจเลย

1. สัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง : สร้างความสามัคคีปรองดองของ

คนในชาติ โดยการแก้ปัญหาร่วมกันอย่างสันติวิธีตามแนวทางประชาธิปไตย 20.68 51.71 18.39 9.22

2. คนไทยไม่ทิ้งกัน : ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชนพึ่งพาตนเองได้

เช่น โครงการสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรผู้มีรายได้น้อย) บัตรผู้พิการ

บัตรผู้สูงอายุ สิทธิผู้ป่วยฉุกเฉิน (สผฉ.) และอื่น 34.54 47.27 10.68 7.51

3. ชุมชนอยู่ดีมีสุข : พัฒนาความเป็นอยู่ อาชีพและรายได้ให้แก่ประชาชน 30.93 48.39 12.78 7.90

4. วิถีไทยวิถีพอเพียง : สร้างความเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างวินัย

การออม 34.68 45.22 12.20 7.90

5. รู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย : มีวินัย รู้หน้าที่ ปฏิบัติตามกฎหมาย

เพื่อสร้างจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่ดี 27.51 44.78 18.25 9.46

6. รู้กลไกการบริหารราชการ : ให้ความรู้และเข้าใจ การบริหารงานราชการ

ในระดับต่าง 15.22 47.27 24.68 12.83

7. รู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม : ให้ความรู้แก่ประชาชนในหลักธรรมาภิบาล

(คุณธรรม นิติธรรม คุ้มค่า โปร่งใส มีส่วนร่วม และรับผิดชอบ) 21.22 48.20 19.95 10.63

8. รู้เท่าทันเทคโนโลยี : พัฒนาโครงการอินเทอร์เน็ตหมู่บ้านให้ประชาชน

เข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง 23.61 48.78 16.49 11.12

9. ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด : ทุกภาคส่วนร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหา

ยาเสพติดอย่างครบวงจร 32.83 47.51 11.07 8.59

10. งานตามภารกิจของทุกหน่วยงาน : ทุกหน่วยงานราชการมีหน้าที่สนับสนุน

โครงการไทยนิยม ยั่งยืน” 21.56 46.34 20.15 11.95


4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับหลักการ/แนวคิดของ โครงการไทยนิยม ยั่งยืนในประเด็นต่าง ต่อไปนี้

ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการ/แนวคิด ของโครงการไทยนิยม ยั่งยืนระดับความคิดเห็น เห็นด้วย มากที่สุด ค่อนข้าง เห็นด้วย ไม่ค่อย เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยเลย

1. สัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง : สร้างความสามัคคีปรองดองของ

คนในชาติโดยการแก้ปัญหาร่วมกันอย่างสันติวิธีตามแนวทางประชาธิปไตย 47.98 49.93 2.09 0.00

2. คนไทยไม่ทิ้งกัน : ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชนพึ่งพาตนเองได้

เช่น โครงการสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรผู้มีรายได้น้อย) บัตรผู้พิการ

บัตรผู้สูงอายุ สิทธิผู้ป่วยฉุกเฉิน (สผฉ.) และอื่น 58.02 39.83 1.85 0.30

3. ชุมชนอยู่ดีมีสุข : พัฒนาความเป็นอยู่ อาชีพและรายได้ให้แก่ประชาชน 54.80 44.22 0.86 0.12

4. วิถีไทยวิถีพอเพียง : สร้างความเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างวินัย

การออม 57.88 41.21 0.85 0.06

5. รู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย : มีวินัย รู้หน้าที่ ปฏิบัติตามกฎหมาย

เพื่อสร้างจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่ดี 50.40 47.84 1.69 0.07

6. รู้กลไกการบริหารราชการ : ให้ความรู้และเข้าใจ การบริหารงานราชการ

ในระดับต่าง 43.09 53.94 2.81 0.16

7. รู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม : ให้ความรู้แก่ประชาชนในหลักธรรมาภิบาล

(คุณธรรม นิติธรรม คุ้มค่า โปร่งใส มีส่วนร่วม และรับผิดชอบ) 45.89 51.72 1.97 0.42

8. รู้เท่าทันเทคโนโลยี : พัฒนาโครงการอินเทอร์เน็ตหมู่บ้าน ให้ประชาชน

เข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง 46.97 50.33 2.63 0.07

9. ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด : ทุกภาคส่วนร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหา

ยาเสพติดอย่างครบวงจร 55.80 42.81 1.21 0.18

10. งานตามภารกิจของทุกหน่วยงาน : ทุกหน่วยงานราชการมีหน้าที่สนับสนุน

โครงการไทยนิยม ยั่งยืน” 49.50 48.92 1.44 0.14

5. ท่านต้องการให้รัฐบาลทำอะไรเพิ่มเติมภายใต้ โครงการไทยนิยม ยั่งยืน

ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โครงการไทยนิยม ยั่งยืนร้อยละ

1. ส่งเสริมการประกอบอาชีพ/สร้างงาน/สร้างรายได้ ให้แก่ ชาวบ้าน และเพิ่มสวัสดิการ

ให้แก่ คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุไร้ญาติหรือไร้ที่อยู่ 15.53

2. เพิ่มราคาพืชผลทางการเกษตรให้สูงขึ้น เช่น ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น 13.11

3. ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น 11.29

4. ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยหรือคนจนอย่างทั่วถึง 8.13

5. พัฒนาและส่งเสริมด้านการเกษตรให้มากขึ้น เช่น สนับสนุนที่ดินทำการเกษตร

จัดสรรแหล่งน้ำทำการเกษตร มีตลาดรองรับสินค้าทางการเกษตร เป็นต้น 6.67

6. อยากให้แก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง 5.83

7. อยากให้รัฐบาลดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง จริงจัง และโปร่งใส 4.98

8. เพิ่มเงินสวัสดิการของรัฐให้มากขึ้น 4.61

9. ส่งเสริมการศึกษาและจัดกองทุนการศึกษาเพื่อเด็กด้อยโอกาส/เด็กยากจน 4.61

10. เพิ่มงบประมาณในการพัฒนาชุมชน 3.64

11. ปราบปรามการทุจริต/แก้ปัญหาการทุจริต 3.16

12. ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน (ไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับ) 2.91

13. รัฐบาลเข้าถึงประชาชนมากขึ้น/เข้าใจความต้องการประชาชน 2.55

14. ปรับขึ้นค่าแรง/เพิ่มค่าแรง/ลดค่าครองชีพ 2.43

15. ช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ 2.31

16. อยากให้เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการไทยนิยม ยั่งยืน” 1.94

17. หาตลาดรองรับสินค้าจากชาวบ้าน 1.33

18. สนับสนุนความเป็นไทย ปลูกผังด้านจริยธรรม 1.33

5. ท่านต้องการให้รัฐบาลทำอะไรเพิ่มเติมภายใต้ โครงการไทยนิยม ยั่งยืน” (ต่อ)

ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โครงการไทยนิยม ยั่งยืนร้อยละ

19. อยากให้เพิ่มสวัสดิการรักษาพยาบาลให้ครอบคลุม 1.21

20. อยากให้เพิ่มในเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 0.85

21. ปัญหาว่างงานรัฐบาลต้องเข้ามาจัดการและช่วยเหลือคนตกงาน 0.85

22. สนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือสร้างอาชีพ 0.61

23. อยากให้รัฐบาลช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ 0.12

หมายเหตุ : จำนวนผู้ตอบ 824 คน

6. ท่านมีความคาดหวังต่อผลการดำเนินงานของ โครงการไทยนิยม ยั่งยืนอย่างไร

ความคาดหวังเกี่ยวกับ โครงการไทยนิยม ยั่งยืนร้อยละ

ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นแน่นอน 30.25

ค่อนข้างช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น 40.39

ไม่ค่อยช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น 13.51

ไม่ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นเลย 4.78

ไม่ระบุ 11.07

รวม 100.00

7. ท่านคิดว่า ท่านจะมีส่วนร่วมใน โครงการไทยนิยม ยั่งยืนได้อย่างไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

การมีส่วนร่วมในโครงการไทยนิยม ยั่งยืนร้อยละ

1. ต้องการเข้าร่วมเวทีประชาคมรับฟังหลักการและแนวคิดของโครงการฯ 57.98

2. ต้องการแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางต่าง เพื่อพัฒนาชุมชนในโครงการฯ 55.02

3. ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาชุมชนให้ดีขึ้นตามโครงการฯ 48.66

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค

ภูมิภาค จำนวน ร้อยละ

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 353 17.22

ภาคกลาง 367 17.90

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 685 33.42

ภาคเหนือ 366 17.85

ภาคใต้ 279 13.61

รวม 2,050 100.00

ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ

เพศ จำนวน ร้อยละ

ชาย 880 42.93

หญิง 1,170 57.07

รวม 2,050 100.00

ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ

ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ

อายุ 18-25 ปี 235 11.46

อายุ 26-35 ปี 372 18.15

อายุ 36-45 ปี 529 25.80

อายุ 46-59 ปี 627 30.59

อายุ 60 ปีขึ้นไป 287 14.00

รวม 2,050 100.00

ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ

ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 769 37.51

มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 710 34.63

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 185 9.03

ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 352 17.17

สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 34 1.66

รวม 2,050 100.00

ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก

อาชีพหลัก จำนวน ร้อยละ

เกษตรกร 510 24.88

ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว อาชีพอิสระ 487 23.76

รับจ้างทั่วไป ผู้ใช้แรงงาน 428 20.88

พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณ ว่างงาน 218 10.63

พนักงานบริษัทเอกชน 201 9.81

ข้าราชการ ลูกจ้างของรัฐ รัฐวิสาหกิจ 154 7.51

นักเรียน นิสิต นักศึกษา 46 2.24

ประมง 6 0.29

รวม 2,050 100.00

ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวน ร้อยละ

ไม่มีรายได้ 114 5.56

ไม่เกิน 5,000 บาท 398 19.41

5,001-10,000 บาท 658 32.10

10,001-20,000 บาท 616 30.05

20,001-30,000 บาท 146 7.12

มากกว่า 30,000 บาท 43 2.10

ไม่ระบุ 75 3.66

รวม 2,050 100.00


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 12 พ.ค. 2561 เวลา : 15:45:40
29-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 29, 2024, 9:36 pm