แบงก์-นอนแบงก์
Digital Banking ช่วยลดดอกเบี้ยและเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อสำหรับ SMEs


เวลากู้เงินจากแบงก์ เราต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าดอกเบี้ยที่ได้รับจากการฝากเงินกับแบงก์อยู่มาก โดยเฉพาะธุรกิจ ขนาดเล็กหรือลูกค้ารายย่อยมักถูกมองว่ามีความเสี่ยงสูงกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ส่วนหนึ่งเนื่องจากแบงก์มีข้อมูลไม่ เพียงพอที่จะใช้ในการประเมินความเสี่ยงของลูกค้า เห็นได้จากสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือ NPLs ของธุรกิจ SMEs อยู่ที่ร้อยละ 4.37 ในปี 2560 สูงกว่า NPLs ของธุรกิจขนาดใหญ่ที่ร้อยละ 1.75 สะท้อนต้นทุนความเสี่ยง จากการให้สินเชื่อ (Credit cost) ของแบงก์ที่สูงในการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธุรกิจ ขนาดเล็กที่มีสายป่านสั้นหรือมีโมเดลธุรกิจที่ไม่สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ ร้านค้า โชห่วยรูปแบบเดิมที่อาจสูญเสียความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจออนไลน์หรือโมเดิร์นเทรดขนาดใหญ่ 

 

 


 

สำหรับธุรกิจ SMEs ในภาพรวม ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 5 ของต้นทุนทั้งหมด1 ขณะที่ต้นทุน หลักมาจากต้นทุนสินค้า ดังนั้น สิ่งที่สำคัญมากกว่าก็คือการหาและรักษารายได้ให้มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ให้ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็นทั้งหมด และเพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป แม้กระนั้นเราก็ยังอยากให้แบงก์คิดดอกเบี้ยถูกลงทั้งในเวลาที่มีความต้องการกู้เงินเพื่อใช้ในธุรกิจหรือเป็นสภาพ คล่องในการดำเนินชีวิต 

ในโลกยุคดิจิทัล การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทาง Mobile banking และ Internet banking จึงเป็น แนวทางที่สำคัญที่จะช่วยทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธุรกิจ SMEs ลดลงได้ โดยนอกจากจะช่วยลดต้นทุนการ ดำเนินงานของแบงก์ในการจัดการเงินสด การบริหารสาขาและพนักงานแล้ว ยังจะช่วยทาให้แบงก์มีข้อมูลมาก เพียงพอในการพิจารณาให้สินเชื่อ (Information-based lending) โดยเฉพาะหากเราเป็นลูกหนี้ที่ดีที่ชำระหนี้ ให้กับแบงก์อยู่ทุกงวด เพราะแบงก์สามารถนำข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน การเดินบัญชี การโอนเงิน ตลอดจน การซื้อขายต่าง ไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์พฤติกรรมและประเมินความเสี่ยงของลูกค้า สามารถแยกแยะ ลูกหนี้ที่ดีออกจากลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระคืนหนี้ ซึ่งก็จะทำให้แบงก์สามารถคิดดอกเบี้ยกับลูกหนี้ ได้ถูกลงโดยเฉพาะกับลูกหนี้ที่ดีที่สามารถชาระคืนหนี้อย่างสม่ำเสมอได้ อีกทั้งยังสามารถปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจ SMEs ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีเงินเดือนประจำหรือประชาชนที่ไม่มีหลักประกันในการขอกู้จากแบงก์ได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากแบงก์จะมีข้อมูลมาประเมินรายได้ พฤติกรรมและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าได้ดีกว่ายุคที่ยัง มีการใช้เงินสดเป็นหลัก โดยแบงก์ไทยอาจใช้ข้อมูลที่ร้านค้า แท็กซี่ หรือวินมอเตอร์ไซด์ ได้รับเงินจากลูกค้าผ่าน QR code เป็นหลักฐานในการประเมินรายได้เพื่อพิจารณาให้สินเชื่อกับกลุ่มลูกค้าดังกล่าวซึ่งแต่เดิมขอสินเชื่อได้ ยากเพราะไม่มีหลักฐานแสดงรายได้ที่แน่นอน ซึ่งจะช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน (financial access) ดังที่ เกิดขึ้นในจีนจากการให้บริการทางการเงินของ Ant Financial บริษัทในเครือของ Alibaba ซึ่งมีจุดแข็งในการใช้ ประโยชน์จากข้อมูลการค้าและการชำระเงินออนไลน์มาใช้ประเมินพฤติกรรม และความสามารถในการชาระหนี้ ของลูกค้าเพื่อต่อยอดการให้บริการเงินกู้แก่ลูกค้ารายย่อยได้ด้วยอัตราการผิดนัดชำระหนี้ในระดับที่ต่ำมาก 

1 ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยของธุรกิจที่รายงานงบการเงินล่าสุดปี 2558 ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ 

นอกจากมิติของการให้สินเชื่อแล้ว แบงก์ยังสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น เช่น ผลิตภัณฑ์ด้านการออม และการลงทุน ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและเพิ่มมูลค่าทางการเงินให้กับลูกค้าแต่ละรายได้ดีขึ้น 

 

 

การประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลของแบงก์ไทย เกือบทุกแห่งตั้งแต่ ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมานับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่นอกจากจะสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลและสังคมไร้เงิน สดของภาครัฐเพื่อลดต้นทุนทางเศรษฐกิจและสร้างความโปร่งใสแล้ว ยังจะช่วยลดต้นทุนทางการเงินและลดปัญหา การเข้าไม่ถึงสินเชื่อของธุรกิจ SMEs และประชาชนได้ด้วย แม้ว่าเรื่องนี้อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของแบงก์อยู่บ้าง แต่ ก็ทำให้ธุรกิจแบงก์มีการปรับตัว แข่งขัน และเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ค่าธรรมเนียมต่าง ถูกลง อีกทั้ง ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ หรือ NIM (Net Interest Margin) ของแบงก์ไทยที่ปัจจุบันอยู่ในระดับกลาง เทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอาจลดลงมาใกล้เคียงกับสิงคโปร์และมาเลเซียได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค

 

 

โดยเฉพาะประชาชนอย่างเราในที่สุด และแม้ว่าปริมาณการใช้จ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) จะ เติบโตขึ้นมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะจาก Mobile banking และ Internet banking รวมถึงการโอนเงิน ผ่านระบบพร้อมเพย์ของประชาชนที่มีปริมาณธุรกรรมมากกว่า 170 ล้านรายการ ด้วยมูลค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 4,000 บาทต่อรายการ สะท้อนความนิยมในการใช้พร้อมเพย์ที่มากขึ้น แต่การใช้ e-Payment ของไทยก็ยังอยู่ในระดับต่ำ เทียบกับต่างประเทศ จึงเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะช่วยกันสนับสนุนการทาธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลกัน ให้แพร่หลายมากขึ้น 


บทความโดย : นางสาวนันทวัลลิ์ ถิรธนาพงศ์ ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย 


LastUpdate 15/05/2561 16:12:21 โดย : Admin
20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 10:32 am