แบงก์-นอนแบงก์
กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล เล็งปกป้องผู้บริโภครายย่อย...ส่งเสริมการเติบโตอย่างมั่นคง ประเด็นสำคัญ


กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล เล็งปกป้องผู้บริโภครายย่อย...ส่งเสริมการเติบโตอย่างมั่นคง    

ประเด็นสำคัญ

  • ...ด้านสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกมา ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่มีกฎหมายดูแลการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในลักษณะเฉพาะเจาะจง
  • กฎหมายที่ออกมาเน้นไปที่มาตรฐานการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ป้องกันพฤติกรรมการเข่าข่ายการเอาเปรียบหรือการโกง โดยผ่านกลไกที่สร้างขึ้นเพื่อคุ้มครองนักลงทุน
  • มาตรการข้อกำกับต่างๆ จะช่วยผลักดันให้ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย มีมาตรฐานเทียบเท่ากับตลาดสินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ อาทิ ตลาดหุ้น ซึ่งจะปูทางให้อุตสาหกรรมสินสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมีโอกาสพัฒนาอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว

 

 

ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา ได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งครอบคลุมเงินดิจิทัลเป็นครั้งแรกสำหรับประวัติศาสตร์ไทย และไทยยังถือเป็นประเทศแรกที่มีการออกกฎหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจงอีกด้วย โดยกฏหมายดังกล่าว มีสองฉบับด้วยกัน ได้แก่ พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล .. 2561 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 17) .. 2561 เพื่อดูแลประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้อง และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม เป็นต้นไป ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้สรุปประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

  • ประเทศไทยกับการเป็นประเทศแรกที่สร้างความชัดเจนทางกฎหมายให้กับสินทรัพย์ดิจิทัล

ที่ผ่านมา ในกรณีของประเทศอื่นๆ จะเน้นการประยุกต์ใช้กฎเกณฑ์ธุรกิจหลักทรัพย์ที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้กับกรณีของสินทรัพย์ดิจิทัล อาทิ อาทิ สหรัฐฯ และสวิสเซอร์แลนด์ เพียงแต่ให้ความชัดเจนกับตลาดว่ากฎดังกล่าวจะมีผลกับตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลเช่นไร  

แต่สำหรับทางการไทยนั้น เลือกที่จะสร้างความชัดเจน ด้วยการออกกฎหมายเป็นการเฉพาะ และจำแนกชนิดสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสองชนิด คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) และโทเคนดิจิทัล (Token Digital) โดยมีความแตกต่างสำคัญคือ สินทรัพย์ดิจิทัลชนิดแรกจะถูกสร้างขึ้นไว้แลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการในลักษณะเดียวกับเงินตราทั่วไป หรือทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนนั่นเอง ในขณะที่ สินทรัพย์ดิจิทัลชนิดที่สอง หรือโทเคนดิจิทัล ถูกสร้างมาเพื่อตอบวัตถุประสงค์ด้านการร่วมลงทุนในโครงการ/กิจการ และให้ได้มาซึ่งสินค้า/บริการ/สิทธิอื่นใด ตามที่ ...กําหนด โดยมีการระบุไว้ชัดเจนว่าทั้งคริปโทเคอเรนซีและโทเคนดิจิทัลตามที่กำหนด ไม่ใช่หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (มาตรา 5) 

 

 



กฎเกณฑ์และภาษีทรัพย์สินดิจิทัลทั่วโลก

ที่มา: ... ประเทศสวิสเซอร์แลนด์; ... ประเทศสหราชอาณาจักร; ‘A complete guide to Cryptocurrency regulations around the world’ – CNBC 27th March 2018  

นอกจากนี้ ยังได้มีการจำแนกธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไว้ 4 ประเภท ที่ครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศน์ของสินทรัพย์ดิจิทัล ได้แก่ 

 

1) ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (ซึ่งเปรียบเสมือนตลาดกลาง เพื่อแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล)

2) นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล 

3) ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (ซึ่งเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่คล้ายศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ดำเนินการซื้อขายจริงนอกศูนย์ดังกล่าว)

4) กิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศตามข้อเสนอของก...

ส่วนประเด็นด้านภาษี ก็มีการกำหนดอัตราภาษีหัก ที่จ่ายไว้ในอัตรา 15% ของเงินได้พึงประเมิน ซึ่งคำนวณจาก 1) เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกัน ที่ได้จากการถือหรือการครอบครองโทเคนดิจิทัล และ 2) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนคริปโทเคอร์เรนซี หรือโทเคนดิจิทัล เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน หรือ Capital Gain นั่นเอง ซึ่งอัตรา 15% นี้ เป็นมาตรฐานการเก็บภาษีเดียวกับกรณีตราสารหนี้ เข้าใจว่ามีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้ผู้ซื้อเน้นการลงทุนระยะยาว มากกว่าการเก็งกำไรระยะสั้น

 ขณะที่ ฝั่งผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น แม้จะไม่ได้มีการระบุเป็นกฎหมายเพิ่มเติมในขณะนี้ถึงภาระภาษีที่เกี่ยวข้อง แต่ผู้ประกอบการดังกล่าว ก็มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 20% หรือบุคคลธรรมดาตามขั้นของรายได้รวมทั้งปี ตลอดจนอาจต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม  7% ให้กับทางการด้วย อย่างไรก็ตามประเด็นภาษีนี้ทางการอาจมีประกาศเพิ่มเติมเพื่อสร้างความชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง  

  • กฎหมายย้ำเจตนารมณ์ในการดูแลนักลงทุนรายย่อย ควบคู่กับการส่งเสริมบทบาทความรับผิดชอบของผู้ประกอบการในธุรกิจ

... การประกอบการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล .. 2561 มีการดูแลควบคุมการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน (หมวดที่ 3) โดยที่มาตราทั้งหมด กำหนดให้บริษัทที่จะเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ต่อประชาชน (การจะออก ICO) ต้องทำตามข้อบังคับจาก ... ทั้งในด้านการเสนอข้อมูลต่อนักลงทุน ด้านคุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหารบริษัท ไปจนถึงการที่บริษัทต้องจัดส่งรายงานเกี่ยวกับผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัท ซึ่งทั้งหมดนี้ หากไม่ประพฤติตาม จะมีโทษทั้งทางอาญาและทางแพ่ง

 




ทำไมกฎหมายจึงต้องแตะรายละเอียดถึงกระบวนการต่างๆ  ทั้งนี้ เนื่องจากการลงทุนไม่ว่าจะช่องทางใดย่อมมีความเสี่ยง จึงจำเป็นจะต้องมีการคัดกรองให้ผู้ขายมีคุณสมบัติในระดับหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงให้นักลงทุน การที่ทางการจะตั้งกฎเกณฑ์ข้อบังคับให้ผู้เสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัลมีภาระรับผิดชอบเช่นเดียวกับบริษัทที่จะนำหุ้นหรือตราสารหนี้ออกขายสู่ประชาชนจึงเป็นเรื่องธรรมดา และแม้ว่าการมีกฎเกณฑ์เช่นทุนการจดทะเบียนหรือข้อมูลบัญชีอาจจะกระทบต่อระยะเวลาที่ต้องใช้ในการออก ICO บ้าง แต่ก็ไม่น่าจะเป็นอุปสรรคที่จำกัดโอกาสของธุรกิจ หรือสตาร์ทอัพที่มีคุณภาพ 

ขณะเดียวกัน ก็มีบทลงโทษในมาตรา 22 ที่ชัดเจน โดยระบุว่า การที่บริษัทจะเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัล แม้จะไม่ได้ให้ข้อมูลเท็จ แต่หาก ... ตรวจพบว่าข้อมูลในหนังสือชี้ชวนมีความคลาดเคลื่อนในสาระสำคัญ หรือมีเหตุการณ์ที่มีผลให้ข้อมูลในหนังสือชี้ชวนเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ ทาง ... สามารถสั่งระงับการขายได้ โดยผู้ฝ่าฝืนขายต่ออาจโดนปรับถึงสองเท่าของทุนที่ได้มา หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนี้ ด้านกฎเกณฑ์การป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (หมวดที่ 6) ยังมีข้อห้ามอีกบางด้าน เพื่อให้มั่นใจว่ามีการซื้อขายที่โปร่งใส ได้แก่

  • มาตรา 42 ซึ่งระบุถึงการห้ามไม่ให้กระทำการซื้อขายด้วยข้อมูลภายใน (Insider Trading) 
  • มาตรา 45 ซึ่งห้ามไม่ให้นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ซื้อขายเพื่อผลกำไรของตนเอง โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลการสั่งซื้อหรือขายจากลูกค้าก่อนที่จะดำเนินการตามคำสั่งของลูกค้ารายนั้น (Front Running) 
  • มาตรา 46 ซึ่งห้ามการซื้อขายหรือส่งคำสั่งซื้อขายซึ่งจะทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเรื่องราคาหรือปริมาณการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Market Manipulation) 

ข้อห้ามต่างๆ ดังกล่าว เป็นหลักปฏิบัติเดียวกับกรณีของตลาดหลักทรัพย์ อันจะช่วยดูแลและคุ้มครองนักลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ส่วนใหญ่อาจไม่ได้เชี่ยวชาญและมีความรู้เชิงลึกในการประเมินความเสี่ยงของการลงทุนในทรัพย์สินดิจิทัลนี้เป็นการเฉพาะ

กล่าวโดยสรุป กฎเกณฑ์ที่เน้นการดูแลตั้งแต่การเริ่มกระบวนการเสนอขาย ไปจนถึงหลังเสนอขาย โดยเน้นการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง โปร่งใส และดูแลการบริหารจัดการโดยผู้บริหารที่มีความสามารถนี้ ก็เพื่อสนับสนุนให้ผู้ออก ICO มีความรับผิดชอบต่อผู้ซื้อและผู้ลงทุน โดยเฉพาะเมื่อการออก ICO มีลักษณะเฉพาะที่ได้เปรียบการระดมทุนในรูปแบบอื่นอย่างเช่นการเสนอขายหุ้น หรือการกู้ยืมเงิน เนื่องจากไม่มีผลกระทบต่อสัดส่วนของผู้ถือหุ้นเดิม (Dilution) หรือภาระทางหนี้สินเพิ่มเติมให้กับกิจการ ดังนั้น การที่กฎหมายใหม่กระตุ้นให้ฝ่ายผู้ออก ICO มีความรับผิดชอบที่ชัดเจนเช่นนี้ เท่ากับเป็นการสร้างบรรทัดฐานของการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับเครื่องมือระดมทุนอื่นๆ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองนักลงทุน ควบคู่กับการส่งเสริมการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว

  • นอกจากกฎหมายใหม่นี้ ทางการไทยยังเดินหน้าแนวทางอื่นร่วมด้วยเพื่อพัฒนาสตาร์ทอัพ

ส่วนประเด็นที่หลายฝ่ายกังวลว่า กฎหมายใหม่นี้อาจกระทบต่อการพัฒนาช่องทางการระดมทุนใหม่ๆ สำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ และการพัฒนาเทคโนโลยี Blockchain นั้น ในความเป็นจริงการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพและอุตสาหกรรม Blockchain ไทยไม่น่าจะต้องประสบความลำบากหรือหยุดชะงักเนื่องจากกฎเกณฑ์สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการประกาศออกมา

ทั้งนี้ เนื่องจากพ... การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นเพียงส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาระบบการเงินและโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีของประเทศ โดยยังมีส่วนอื่นอีกมาที่ได้รับการส่งเสริมให้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เช่นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain โดยสถาบันการเงินต่างๆ หลายแห่ง หรือโครงการ Regulatory Sandbox ของ ธปท. ซึ่งเปิดช่องทางให้บริษัทพัฒนาธุรกิจ Fintech โดยไม่ได้จำกัดอยู่แค่ Blockchain เช่น P2P Lending นอกจากนี้ ทางการไทยก็ได้ริเริ่มผลักดันช่องทางการระดมทุนใหม่ประเภทอื่นๆ เช่นตลาดหลักทรัพย์สำหรับสตาร์ทอัพ LiVE ที่จะเริ่มให้มีการซื้อขายกันในปีนี้ ทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมสตาร์ทอัพและเทคโนโลยีสมัยใหม่ของประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มที่ดี โดยที่การพัฒนาในด้านต่างๆจะเกิดขึ้นอย่างมีเสถียรภาพและความยั่งยืน

 

Disclaimer รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯอาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็น  การให้ความเห็น  หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 15 พ.ค. 2561 เวลา : 21:28:51
20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 3:53 pm