ไอที
Pulsus เผยสื่อดิจิทัลและโซเชียลมีเดียคือช่องทางเผยแพร่บทความวิชาการที่คุ้มค่า


วารสารวิชาการที่เปิดให้เข้าถึงบทความในเล่มอย่างอิสระ (Open Access publishingกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย เนื่องจากปัจจุบันโลกเชื่อมต่อถึงกันมากขึ้นผ่านโลกออนไลน์ ซึ่งทำให้การจัดเก็บ การจัดทำดรรชนี การทำเหมืองข้อมูล การเรียกดูข้อมูล และการกระจายข้อมูลการวิจัยกลายเป็นเรื่องที่สะดวกและง่ายขึ้น วารสารแบบเปิดเหล่านี้ผลิตบทความนับล้านชิ้นต่อปี จากนักวิจัย 25,000-30,000 คน โดยจำนวนนักวิจัยและผู้เขียนบทความที่ยอมรับการเผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารแบบเปิดหรือตามเว็บบอร์ดนั้น มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ที่ 10% ต่อปี และปัจจุบันมีผู้เขียนมากกว่า 5.5 ล้านคนที่เผยแพร่บทความของตนในวารสารแบบเปิดหรือเว็บบอร์ด ดังนั้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า วารสารวิชาการแบบเปิดจะยังคงเป็นโมเดลการเผยแพร่บทความที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอนาคต ในขณะที่การเผยแพร่บทความลงในวารสารแบบบอกรับสมาชิกและเว็บสืบค้นข้อมูลแบบดรรชนีนั้น กำลังจะสูญหายไปเรื่อย เนื่องจากนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ต่างหันไปค้นคว้าข้อมูลจากวารสารที่เปิดให้เข้าถึงบทความในเล่มอย่างอิสระ

 

 

 

นอกจากนี้ หน่วยงานหลัก อย่างเช่น WHO, EMBL, NIH และ Welcometrust ยังได้ตั้งกฎให้เผยแพร่ผลงานที่ทางหน่วยงานเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนวิจัย ลงในวารสารวิชาการแบบเปิดอีกด้วย ทั้งนี้ ในการสำรวจตลาดสื่อสิ่งพิมพ์ปี 2559 มูลค่ารวม 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งประกอบด้วยหนังสือและสิ่งพิมพ์ประเภทอื่น นั้น พบว่า วารสารวิชาการประเภทวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ (STM) มีส่วนแบ่งตลาดคิดเป็นมูลค่าถึง 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยในขณะที่วารสารประเภท STM แบบบอกรับสมาชิกได้หดตัวลงมาอยู่ที่ 8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2559 (1.25 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2557) แต่วารสาร STM ที่เปิดให้เข้าถึงอย่างอิสระนั้น กลับมีมูลค่าเพิ่มขึ้นแตะ 900 ล้านดอลลาร์ในปี 2560 นักวิจัยเหล่านี้ผลิตบทความจำนวน 2.5 ล้านบทความต่อปี โดยจำนวนนักวิจัยและบทความที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (peer-reviewed articlesมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีถึง 10% (CAGR) ซึ่ง Dr. Srinubabu Gedela ซีอีโอของ Pulsus และ Omics International กล่าวว่า "สถานการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า สื่อดิจิทัลและตัววัดความนิยมของบทความวิชาการนั้นกำลังเป็นที่ต้องการเร่งด่วน เพื่อมารองรับชุมชนวิทยาศาสตร์"

 

 

การเกิดขึ้นของสือดิจิทัลออนไลน์ได้พลิกโฉมวงการตีพิมพ์บทความวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนี้อย่างสิ้นเชิง ด้วยการให้ความสำคัญต่อตัววัดความนิยมของบทความ หรือ article impact factor/articles metrics แทนการวัดความนิยมจากวารสาร หรือ journal impact factor โดยคำนวณจากยอดคลิกไปยังบทความ ยอดอ่าน ยอดดาวน์โหลด ยอดแชร์ ยอดไลค์ การโต้ตอบออนไลน์ และจำนวนครั้งที่บทความถูกนำไปอ้างอิงในวารสาร peer reviewed ฉบับอื่น ซึ่ง Dr. Srinubabu Gedela กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า แพลตฟอร์มเครือข่ายนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ อาทิ ResearchGate, LinkedIn, GoogleScholar ตลอดจนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และ Twitter นั้น มีบทบาทสำคัญในการยกระดับ article impact factor 

Pulsus เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านสุขภาพและสารสนเทศทางสุขภาพ โดยมีพนักงานมากกว่า 5,000 คน ประจำสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ รวมถึงสำนักงานในลอนดอน (Pulsus-Londonเชนไน (Pulsus-Chennai) คุร์เคาน์ (Pulsus-Gurgaon) วิสาขปัตนัม (Pulsus Visakhapatnam) และไฮเดอราบัด (Pulsus-Hyderabad)


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 27 มิ.ย. 2561 เวลา : 11:52:59
07-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 7, 2024, 6:36 pm