เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561


นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 (ตุลาคม 2560 - พฤษภาคม 2561) ว่า รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น จำนวน 1,490,389 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 2,034,150 ล้านบาท รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 361,655 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง สิ้นเดือนพฤษภาคม 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 317,166 ล้านบาท

 


 

นายพรชัยฯ สรุปว่าฐานะการคลังในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 อยู่ในระดับที่เข้มแข็ง โดยเงินคงคลังมีจำนวนทั้งสิ้นกว่าสามแสนล้านบาท เพียงพอสำหรับรองรับการเบิกจ่ายงบประมาณและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง” 

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561

หน่วย:ล้านบาท

8 เดือนแรกของ เปรียบเทียบ

ปีงบประมาณ 2561 ปีงบประมาณ 2560 จำนวน ร้อยละ

1. รายได้ 1,490,389 1,417,704 72,685 5.1

2. รายจ่าย 2,034,150 2,032,619 1,531 0.1

3. ดุลเงินงบประมาณ (543,761) (614,915) 71,154 11.6

4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (24,486) 875 (25,361) (2,898.4)

5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (568,247) (614,040) 45,793 7.5

6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 361,655 404,381 (42,726) (10.6)

7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (206,592) (209,659) 3,067 1.5

8. เงินคงคลังปลายงวด 317,166 231,641 85,525 36.9

ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

รายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้จาก www.fpo.go.th สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

โทร 0 2273 9020 ต่อ 3563, 3558

 

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนพฤษภาคม 2561 และในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 (ตุลาคม 2560 – พฤษภาคม 2561)

ในเดือนพฤษภาคม 2561 รัฐบาลเกินดุลเงินสด จำนวน 12,460 ล้านบาท โดยเป็นการเกินดุลเงินงบประมาณ จำนวน 7,917 ล้านบาท และเป็นการเกินดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 4,543 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง สิ้นเดือนพฤษภาคม 2561 มีจำนวน 317,166 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ฐานะการคลังเดือนพฤษภาคม 2561

1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง จำนวน 197,491 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 19,463 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 9.0) เนื่องจากในปีที่แล้วมีเม็ดเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บในเดือนเมษายน 2560 บางส่วนเหลื่อมมาในเดือนพฤษภาคม 2560 

1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 189,574 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 20,202 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 9.6) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 172,405 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.7 ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ จำนวน 142,717 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 16.6 และรายจ่ายลงทุน จำนวน 29,688 ล้านบาท ต่ำกว่า

เดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.7 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อน จำนวน 17,169 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 120.8 (ตารางที่ 1)

การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 20,989 ล้านบาท รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง จำนวน 5,925 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของกระทรวงกลาโหม จำนวน 4,201 ล้านบาทและเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 1,869 ล้านบาท


ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนพฤษภาคม 2561

หน่วย: ล้านบาท

เดือนพฤษภาคม เปรียบเทียบ

2561 2560 จำนวน ร้อยละ

1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 172,405 202,001 (29,596) (14.7)

    1.1 รายจ่ายประจำ 142,717 171,187 (28,470) (16.6)

    1.2 รายจ่ายลงทุน 29,688 30,814 (1,126) (3.7)

2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 17,169 7,775 9,394 120.8

3. รายจ่ายรวม (1+2) 189,574 209,776 (20,202) (9.6)

ที่มา: กรมบัญชีกลาง

1.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนพฤษภาคม 2561 เกินดุลจำนวน 7,917 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล จำนวน 4,543 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้เกินดุล จำนวน 12,460 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 26,837 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) เกินดุล จำนวน 39,297 ล้านบาท และเงินคงคลัง สิ้นเดือนพฤษภาคม 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 317,166 ล้านบาท (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนพฤษภาคม 2561

หน่วย: ล้านบาท

เดือนพฤษภาคม เปรียบเทียบ

2561 2560 จำนวน ร้อยละ

1. รายได้ 197,491 216,954 (19,463) (9.0)

2. รายจ่าย 189,574 209,776 (20,202) (9.6)

3. ดุลเงินงบประมาณ 7,917 7,178 739 10.3

4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 4,543 38,752 (34,209) (88.3)

5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) 12,460 45,930 (33,470) (72.9)

6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 26,837 44,100 (17,263) (39.1)

7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) 39,297 90,030 (50,733) (56.4)

8. เงินคงคลังปลายงวด 317,166 231,641 85,525 36.9

  ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

2. ฐานะการคลังในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 (ตุลาคม 2560 - พฤษภาคม 2561)

2.1 รายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น จำนวน 1,490,389 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 72,685 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 5.1) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการนำส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมย่าน 1800 MHz (ใบอนุญาต 4G) การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและการจัดเก็บภาษีรถยนต์สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 

2.2 รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 2,034,150 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 1,531 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.1) ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 1,879,585 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61.6 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย (3,050,000 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 0.8 และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน จำนวน 154,565 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 7.8 (ตารางที่ 3) 

รายจ่ายปีปัจจุบันจำนวน 1,879,585 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายประจำจำนวน 1,643,764 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 68.1 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำหลังโอนเปลี่ยนแปลง จำนวน 2,414,058 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 1.4 และรายจ่ายลงทุน จำนวน 235,821 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 37.1 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง จำนวน 635,942 ล้านบาท) ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 3.2

ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561

(ตุลาคม 2560 - พฤษภาคม 2561)

หน่วย: ล้านบาท

8 เดือนแรกของปี เปรียบเทียบ

2561 2560 จำนวน ร้อยละ

1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 1,879,585 1,864,909 14,676 0.8

    1.1 รายจ่ายประจำ 1,643,764 1,621,222 22,542 1.4

    1.2 รายจ่ายลงทุน 235,821 243,687 (7,866) (3.2)

2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 154,565 167,710 (13,145) (7.8)

3. รายจ่ายรวม (1+2) 2,034,150 2,032,619 1,531 0.1

ที่มา: กรมบัญชีกลาง


2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดขาดดุล จำนวน 568,247 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ จำนวน 543,761 ล้านบาท และขาดดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 24,486 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุมาจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ จำนวน 26,711 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาล

ได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินโดยการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 361,655 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล) ขาดดุล จำนวน 206,592 ล้านบาท และเงินคงคลัง สิ้นเดือนพฤษภาคม 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 317,166 ล้านบาท (ตารางที่ 4)

ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561

(ตุลาคม 2560 - พฤษภาคม 2561)

หน่วย:ล้านบาท

8 เดือนแรกของ เปรียบเทียบ

ปีงบประมาณ 2561 ปีงบประมาณ 2560 จำนวน ร้อยละ

1. รายได้ 1,490,389 1,417,704 72,685 5.1

2. รายจ่าย 2,034,150 2,032,619 1,531 0.1

3. ดุลเงินงบประมาณ (543,761) (614,915) 71,154 11.6

4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (24,486) 875 (25,361) (2,898.4)

5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (568,247) (614,040) 45,793 7.5

6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 361,655 404,381 (42,726) (10.6)

7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (206,592) (209,659) 3,067 1.5

8. เงินคงคลังปลายงวด 317,166 231,641 85,525 36.9

    ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 27 มิ.ย. 2561 เวลา : 12:45:52
26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 4:34 am