สุขภาพ
กินอย่างไรให้สุขภาพดี แถมอร่อยด้วย


 'You are what you eat' กินอะไรก็เป็นอย่างนั้น คือกฎง่ายๆ ที่หลายๆคนรู้แต่อาจจะลืมไป ถ้าทานอาหารที่ดีสุขภาพเราก็จะดีด้วย การรับประทานอาหารที่เน้นพืช ผ่านการแปรรูปน้อย และไขมันต่ำ ช่วยป้องกันโรคยอดฮิตของผู้สูงอายุก็คือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ที่มักเกิดจากการรับประทานอาหาร เพียงแค่เปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารก็สามารถมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไปได้อีกนาน แถมยังช่วยป้องกันโรคได้อีกด้วย

 

  

อาหารเน้นพืช แปรรูปน้อย ไขมันต่ำ มีรสชาติจืดชืด?

 

สำหรับใครที่กำลังคิดว่าอาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยจะเป็นอาหารรสจืดชืดทานไม่อร่อย จะเปลี่ยนความคิดแน่นอน ถ้าได้ลองทานอาหารที่ใช้พืชเป็นหลักและไม่ผ่านการแปรรูปจากWellness We care ศูนย์สุขภาพที่มีแนวคิดว่า ทุกคนสามารถดูแลรักษาสุขภาพได้ด้วยตัวเอง (Prevent & Reverse Disease By Yourself) เพื่อการมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน ทำอาหารที่ยึดหลักของการเน้นส่วนประกอบจากธรรมชาติทั้งหมด จึงมีการคิดเมนูที่นำจุดเด่นรสชาติของวัตถุดิบแต่ละอย่างมารวมกัน เพื่อให้เกิดรสชาติที่กลมกล่อมได้โดยไม่ต้องง้อตัวช่วยในการปรุงรสหรือวัตถุดิบที่ผ่านการแปรรูป ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราในระยะยาว เราจึงได้ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แถมอร่อยอีกด้วย การทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก ปรุงแต่งและแปรรูปน้อย จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารทั้งวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ร่างกายยังจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นทั้งโปรตีน ไขมันดี วิตามิน เกลือแร่  และใยอาหารอีกด้วย

 


 

 

 


โปรตีนและกรดอะมิโนจำเป็น โปรตีนที่มีบทบาทสำคัญในทุกกระบวนการทางชีวภาพ ช่วยดูแลโครงสร้างการทำงานและดูแลเนื้อเยื่อและอวัยวะของร่างกาย ซึ่งอาหารที่เน้นพืชและไม่ปรุงแต่งเป็นหลักเองก็มีกรดอะมิโนที่จำเป็นเพียงพอ อาหารที่อุดมด้วยโปรตีนจากพืชมี ผลไม้ ผัก พืชตระกูลถั่ว เมล็ดคีนัว ข้าวสาลี ข้าว และถั่วเหลือง

 

 

แคลเซียม จะช่วยในการหดตัวของกล้ามเนื้อการกระตุ้นการนำสัญญาณประสาท และการแข็งตัวของเลือด แคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวันอยู่ที่ประมาณ 800 มก.ผลิตภัณฑ์จากนมไม่ได้เป็นเพียงแหล่งเดียวของแคลเซียม แหล่งแคลเซียมจากพืช ได้แก่ ผักและผลไม้ เช่น บรอกโคลี,กะหล่ำปลีคะน้าฝรั่งผักโขมเคลหัวผักกาดผักสลัดน้ำส้มกีวี และมันเทศ

 

 

ธาตุเหล็ก ปริมาณของธาตุเหล็กต่อวันสำหรับวัยผู้ใหญ่ คือ 18 มก. ในส่วนทารกและเด็กเล็กอาจจะต้องการในปริมาณที่มากกว่า ซึ่งเหล็กในพืชมีชีวปริมาณออกฤทธิ์ (Bioavailability) ที่ต่ำกว่าเหล็กในเนื้อสัตว์ แต่อาหารที่อุดมด้วยเหล็กเช่นฟักทองผักโขมถั่วเลนทิลถั่วแดง,ธัญพืช และถั่วลันเตาประกอบด้วยฮีม (Heme) ในปริมาณที่เท่ากับธาตุเหล็กที่มีอยู่ในเนื้อแดง

 

 

วิตามินดี การขาดวิตามินดีกลายเป็นภาวะที่แพร่หลายในประชากรทั่วไป ซึ่งวิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและส่งเสริมสุขภาพของกระดูกและการเจริญเติบโต การขาดวิตามินดีทำให้กระบวนการสร้างกระดูกบกพร่องและความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำ โดยแหล่งของวิตามินดีที่มาจากพืช ได้แก่ นมถั่วเหลืองและเมล็ดธัญพืช การรับแสงแดดโดยตรงบนผิวอย่างน้อย 20-30 นาทีสามารถให้วิตามินดีอย่างเพียงพอ

 

 

 

ไขมันดี สำหรับอาหารที่เน้นพืชเป็นหลักนั้น กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก พบได้ในเมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเฮมพ์ เมล็ดเจีย ผักใบเขียว (ทั้งทางบกและทางทะเล) ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง วอลนัท จมูกข้าวสาลี ซึ่งอาหารที่เน้นพืชเป็นหลักดีต่อสุขภาพมากกว่าปลาแหล่งกรดไขมันโอเมก้า 3 ชั้นดี เพราะว่าปลานั้นมีสารปนเปื้อนอย่างโลหะหนัก เช่น ปรอทตะกั่วแคดเมียมและสารมลพิษอุตสาหกรรม ฯลฯ

 

 

สำหรับใครที่รักสุขภาพ และอยากจะลองรับประทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากศูนย์สุขภาพ Wellness We care ที่ไม่เพียงดูแลในเรื่องของการรับประทานอาหารเท่านั้น แต่ยังเน้นการดูแลรักษาสุขภาพแบบองค์รวมอีกด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 02-038 5115 หรือศึกษาข้อมูลเบื้องต้นได้ที่เวปไซต์www.wellnesswecare.com  

 

      

                                        

ส่วนคนที่สนใจการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง หรือดูแลสุขภาพคนในครอบครัวโดยเฉพาะผู้สูงอายุซึ่งจำเป็นต้องดูแลสุขภาพมากเป็นพิเศษ ก็สามารถมาปรึกษาในเรื่องของการดูแลสุขภาพกับ Wellness We care ได้ในงาน Inter Care Asia 2018 งานที่รวบรวมนวัตกรรม เทคโนโลยี สินค้าและบริการด้านสุขภาพ ของผู้สูงอายุอย่างครบวงจร ในระหว่างวันที่ 12-14 กรกฎาคม 2561 เวลา 8.00 – 18.00 . ฮอลล์ 106 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา สามารถดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.intercare-asia.com


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 05 ก.ค. 2561 เวลา : 14:30:31
25-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 12:17 pm