วิทยาศาสตร์
ฮันนี่เวลล์ ส่งสองอาจารย์ไทยร่วมอบรม สเปซแคมป์ ในสหรัฐฯ หวังยกระดับการเรียนการสอนด้าน STEM


ฮันนี่เวลล์ (NYSE: HON) คัดเลือกอาจารย์จากประเทศไทยสองท่าน เข้าร่วมโครงการ Honeywell Educators @ Space Academy (HESA) พร้อมคณาอาจารย์จาก 35 ประเทศ และ 45 รัฐในสหรัฐอเมริกาและดินแดนในปกครอง ศูนย์อวกาศและจรวดแห่งชาติสหรัฐฯ (U.S. Space & Rocket Center - USSRC) เมืองฮันต์สวิลล์ รัฐอลาบาม่า โดยเหล่าคณาจารย์ได้ร่วมทำกิจกรรมมากมายตลอดระยะเวลา 5 วันของโครงการ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการสอนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ สำหรับโครงการ HESA นี้ จัดขึ้นทั้งหมด 2 ช่วง ช่วงละ 5 วัน ในช่วงสองสัปดาห์ติดกัน

 


 

โครงการ ฮันนี่เวลล์ โฮมทาวน์ โซลูชั่นส์ (Honeywell Hometown Solutions) ซึ่งเป็นโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะพลเมืองของฮันนี่เวลล์ ได้ร่วมมือกับศูนย์ USSRC จัดโครงการ HESA ครั้งแรกในปี 2547 เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้อาจารย์ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในการเสริมความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ด้านการสอนและการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือ STEM เพิ่มเติม โดยนับแต่ตั้งเริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน มีอาจารย์จากทั่วโลกกว่า 3,000 คนที่เข้าร่วมโครงการ HESA ซึ่งขยายผลการเรียนรู้ไปยังนักเรียนกว่า 5 ล้านคนทั่วโลก

 


 

เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้สานต่อความร่วมมือกับฮันนี่เวลล์ ในการนำคณาจารย์มาศึกษาเรียนรู้และพัฒนาทักษะ ศูนย์ของเราในรัฐอลาบาม่า” ดร. เดบอร่า บาร์นฮาร์ท ซีอีโอและกรรมการบริหารศูนย์ USSRC กล่าวในแต่ละปี พวกเราที่นี่ รอคอยที่จะได้มีส่วนช่วยคณาจารย์ในการจุดประกายความสนใจและชื่นชอบของนักเรียน ในด้านอวกาศ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

 


 

ตลอดระยะเวลา 5 วันของการจัดสเปซแคมป์ เหล่าอาจารย์ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ รวม 45 ชั่วโมง ได้แก่ ห้องเรียนที่เน้นประสบการณ์เสมือนจริง (immersive classroom) และการเรียนรู้ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งทั้งสองกิจกรรมเน้นด้านวิทยาศาสตร์ การสำรวจอวกาศ และการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ๆ รวมถึงการแข่งเขียนโค้ด (coding challenge) แล้ว เหล่าอาจารย์ยังจะสร้างเครือข่ายในหมู่ผู้สอนจากทั่วโลก เพื่อร่วมกันพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM)

 


 

นาง ไม แทรง ธานห์ ประธานบริษัท ฮันนี่เวลล์ ประจำภูมิภาคอินโดจีน กล่าวว่าบริษัทยินดีอย่างยิ่งที่ได้สานต่อโครงการมอบทุนการศึกษานี้ให้แก่ตัวแทนอาจารย์ไทยจากทั่วประเทศ คณาจารย์เหล่านี้เป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดแนวการเรียนการสอนที่ทันสมัย การอุทิศตนมุ่งมั่นและทักษะความเชี่ยวชาญในหลายสาขาวิชาของอาจารย์ จะช่วยสร้างโอกาสมากมายในสาขาวิชาที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ซึ่งเป็นประโยชน์กับเหล่านักเรียนที่จะเติบโตไปเป็นนักประดิษฐ์ ผู้ประกอบการ และผู้นำรุ่นใหม่ในอนาคต

อาจารย์ทุกท่านล้วนเป็นผู้อุทิศตนให้กับการสอนนักเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อพวกเขาก้าวสู่โลกภายนอก ซึ่งพวกเขาจะต้องเป็นผู้ดูแลในภายภาคหน้า” นายไมค์ เบนเน็ตต์  ประธานฮันนี่เวลล์ โฮมทาวน์ โซลูชั่นส์ กล่าวในปัจจุบัน การเรียนการสอนด้าน STEM ไม่ใช่เพียงอ่านจากตำราเรียน หรือท่องจำข้อมูลและสูตรต่างๆ อีกต่อไป แต่การเรียนด้าน STEM คือ การลงมือปฏิบัติจริง เราจึงภาคภูมิใจที่ได้ให้การสนับสนุนอาจารย์เหล่านี้ ช่วยอาจารย์พัฒนาเทคนิคและหลักสูตรการสอน และเหนือสิ่งอื่นใด คือช่วยผลักดันให้นักเรียนบรรลุศักยภาพของตนเองได้อย่างแท้จริง

ผมรู้สึกดีใจ เมื่อเห็นนักเรียนตื่นเต้นกับกิจกรรมการเรียนต่างๆ ด้าน STEM ที่ผมนำมาใช้ในห้องเรียน หลังจากได้ผ่านการอบรมในสเปซแคมป์” นายเจมส์ ฟอลเล็ตติ อาจารย์จากโรงเรียนแฮคเค็นแซคในรัฐนิวเจอร์ซี ศิษย์เก่าในโครงการ HESA เมื่อปี 2560 กล่าวผมใส่ชุดนักบินของ HESA ในชั้นเรียนอย่างภาคภูมิใจ ขอขอบคุณฮันนี่เวลล์ ที่มอบโอกาสให้ผมได้สานต่อความหลงใหลในการสอนหนังสือ จนสามารถนำวิทยาศาสตร์มาสอดแทรกให้นักเรียนได้ฝึกฝนปฏิบัติในแต่ละวัน

 

 

นางพรทิพา สุทนต์ อาจารย์วิชาวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนบ้านหนองรุงพระทะเล จังหวัดศรีสะเกษ ตัวแทนอาจารย์จากประเทศไทย ที่ได้เข้าร่วมโครงการ HESA ในปีนี้ กล่าวว่าดิฉันรู้สึกดีใจมากที่ได้ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมโครงการนี้ ดิฉันเป็นหนึ่งในคณาจารย์กว่าหนึ่งร้อยคนทั่วโลก ซึ่งเราได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ระบบการศึกษา วิธีการสอน และเรื่องราวของเด็กนักเรียนที่มีพรสวรรค์ต่างๆ ที่เราเฝ้าชี้แนะแนวทางให้กับพวกเขา โครงการ HESA ช่วยให้พวกเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางในการสอนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยส่งเสริมให้นักเรียนกล้าคิด กล้าลงมือทำ และนำประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเด็กๆ จะได้ฝึกฝนการคิดอย่างสร้างสรรค์ และเกิดทักษะการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต

 



นายเอลมาร์ รูบิโอ อาจารย์ประจำโครงการหลักสูตรความเป็นเลิศ (Gifted Program) ของโรงเรียนอนุบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร อีกหนึ่งตัวแทนของอาจารย์จากประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ กล่าวว่าการเดินทางครั้งนี้มีประโยชน์อย่างมากในการนำพวกเราออกจากการเรียนการสอนที่เน้นตำรับตำรา แล้วหันมาให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนแบบอินเทอร์แอคทีฟ ซึ่งผมนำมาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของผมได้ โดยทั่วไป การเรียนการสอนเกี่ยวกับบางหัวข้อ อาทิ ดาราศาสตร์ การเดินบนดวงจันทร์ แรงโน้มถ่วง และวิทยาการด้านหุ่นยนต์ มักมีข้อจำกัดว่าจะเราสามารถถ่ายทอดบทเรียนออกมาจากตำราหรือบนกระดานดำได้อย่างไร ผมจึงรู้สึกดีใจมากที่สามารถผสมผสานการใช้อุปกรณ์ เทคนิค และเครื่องมือการสอนต่างๆ ได้อย่างยืดหยุ่นในชั้นเรียนของผม ซึ่งช่วยให้การเรียนการสอนมีความสมจริงมากขึ้น  นักเรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น และดึงความสนใจของเขาได้ ผมคิดไว้ว่าจะนำประสบการณ์ที่ได้รับจากโครงการ HESA มาถ่ายทอดให้กับนักเรียนของผม ให้เด็กๆ รู้สึกเหมือนได้ร่วมเดินทางไปกับผม ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์การเรียนรู้อย่างแท้จริงให้กับพวกเขา เช่นเดียวกับที่ผมได้รับตอนเข้าร่วมโครงการ

 

 

 

ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ HESA จะต้องผ่านกระบวนการคัดเลือกอย่างเข้มข้น โดยอาจารย์ที่ผ่านการคัดเลือกทุกคนจะได้รับทุนการศึกษา สำหรับค่าธรรมเนียมการร่วมโครงการ ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ อาหารและที่พัก ซึ่งสนับสนุนโดยฮันนี่เวลล์และพนักงานของบริษัทฯ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ HESA ดูได้ ที่นี่


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 13 ก.ค. 2561 เวลา : 18:39:01
27-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 27, 2024, 10:00 am