ข่าวประชาสัมพันธ์
NIDA Poll 'ประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน (ครั้งที่ 3)'


ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง ประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน (ครั้งที่ 3)” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17 – 19 กรกฎาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,257 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง ด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของนิด้าโพลด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธี การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

 

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้เข้ามาเป็นรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งต่อไป พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ58.87 ระบุว่า พรรคการเมืองพรรคใหม่ เพราะ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง มีคนใหม่ๆ นโยบายใหม่ๆ แนวคิด แนวทางการบริหารใหม่ๆ ขณะที่บางส่วนระบุว่า เบื่อการบริหารงานของพรรคการเมืองพรรคเก่า ร้อยละ 32.78 ระบุว่า พรรคการเมืองพรรคเก่า เพราะ มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ เข้าใจและสามารถ แก้ไขปัญหาได้อย่างต่อเนื่องกว่าพรรคการเมืองพรรคใหม่ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบการทำงานของพรรคการเมืองพรรคเก่า และร้อยละ 8.35 ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ด้านบุคคลที่ประชาชนอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรี ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน (10 อันดับแรก) พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 31.26 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 14.96 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 10.50 ระบุว่าเป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 4 ร้อยละ 7.80 ระบุว่าเป็น พล... เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส (หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย) อันดับ 5 ร้อยละ 7.48 ระบุว่าเป็น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (พรรคอนาคตใหม่) อันดับ 6 ร้อยละ 6.28 ระบุว่าเป็น พล...วิโรจน์ เปาอินทร์ (รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย) อันดับ 7 ร้อยละ 3.90 ระบุว่าเป็น นายชวน หลีกภัย (อดีตนายกรัฐมนตรี) อันดับ 8 ร้อยละ 2.55 ระบุว่าเป็น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (รองนายกรัฐมนตรี) อันดับ 9 ร้อยละ 0.64 ระบุว่าเป็น นายวิษณุ เครืองาม (รองนายกรัฐมนตรี) และอันดับ 10 ร้อยละ 0.48 ระบุว่าเป็น นายไพบูลย์ นิติตะวัน (พรรคประชาชนปฏิรูป)

เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้ได้คะแนนเสียงมากที่สุด และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล (5 อันดับแรก) พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 31.19 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 21.88 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 3 ร้อยละ 16.47 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 4 ร้อยละ 9.63 ระบุว่าเป็น พรรคอนาคตใหม่ อันดับ 5 ร้อยละ 2.07 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย

สำหรับปัญหาที่อยากให้นายกคนต่อไปเข้ามาแก้ไขมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.39 ระบุว่า ปัญหาปากท้องและหนี้สินของประชาชน รองลงมา ร้อยละ 27.61 ระบุว่า ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ ร้อยละ 12.17 ระบุว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน การใช้อำนาจโดยมิชอบ ผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 8.12 ระบุว่า ปัญหาการควบคุมราคาสินค้า ร้อยละ 4.85 ระบุว่า ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม มิจฉาชีพ ร้อยละ 3.10 ระบุว่า ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยในปัจจุบัน ร้อยละ 3.02 ระบุว่า ปัญหาการว่างงานและแรงงานนอกระบบ ร้อยละ 1.27 ระบุว่า ปัญหาด้านสุขภาพการรักษาพยาบาล และการคุ้มครองความเสี่ยงของผู้บริโภค ร้อยละ 1.91 ระบุอื่น ได้แก่ ปัญหาด้านการคมนาคม การส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว ความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย และระบบงานราชการ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ทุกข้อรวมกัน และร้อยละ 0.56 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยไม่มีการเลื่อนออกไปอีก พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.94 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่น เพราะ ยังไม่มีความพร้อม สถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ปกติ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเลื่อนการเลือกตั้งมาแล้วหลายครั้งเลยทำให้ขาดความเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 38.82 ระบุว่า เชื่อมั่น เพราะ สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ เป็นไปตามโรดแมปที่รัฐบาลวางไว้ และเชื่อมั่นในความสามารถและความพร้อมของรัฐบาล และร้อยละ 7.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 9.47 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.09 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.34 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.25 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.85 มีภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 57.60 เป็นเพศชาย ร้อยละ 42.32 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่าง ร้อยละ 6.36 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 15.43 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.63 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.33 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 19.81 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.44 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 92.36 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.90 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.96 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด และร้อยละ 2.78 ไม่ระบุศาสนา

ตัวอย่าง ร้อยละ 19.81 สถานภาพโสด ร้อยละ 73.35 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.58 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 3.26 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่าง ร้อยละ 27.05 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.15 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.92 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.86 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.44 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.58 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.41 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.57 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.23 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.56 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.16 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.47 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.39 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 4.21 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 12.49 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 22.67 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 23.87 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 13.44 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 7.88 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 8.83 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.82 ไม่ระบุรายได้

1. ท่านอยากได้พรรคการเมืองพรรคใหม่หรือพรรคการเมืองพรรคเก่าเข้ามาเป็นรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

พรรคการเมืองที่ประชาชนอยากได้เข้ามาเป็นรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ร้อยละ ครั้งที่ 3 (.. 61) ครั้งที่ 2 (.. 61) ครั้งที่ 1 (มี.. 61)

พรรคการเมืองพรรคใหม่ เพราะ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง มีคนใหม่ๆ นโยบายใหม่ๆ

แนวคิด แนวทางการบริหารใหม่ๆ พรรคการเมืองใหม่ๆ ขณะที่บางส่วนระบุว่า

เบื่อการบริหารงานของพรรคการเมืองพรรคเก่า 58.87 57.52 62.32

พรรคการเมืองพรรคเก่า เพราะ มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ เข้าใจและ

สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างต่อเนื่องกว่าพรรคการเมืองพรรคใหม่ ขณะที่บางส่วนระบุว่า

ชื่นชอบการทำงานของพรรคการเมืองพรรคเก่า 32.78 37.36 37.68

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 8.35 5.12 -

รวม 100.00 100.00 100.00

2. ท่านอยากให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรี ตามกฎหมายการเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

อันดับ บุคคลที่ประชาชนอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรี ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน (10 อันดับแรก) ร้อยละ ครั้งที่ 3 (.. 61) ครั้งที่ 2 (.. 61) ครั้งที่ 1 (มี.. 61)

1 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 31.26 32.24 38.64

2 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคเพื่อไทย) 14.96 17.44 13.04

3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์) 10.50 14.24 12.24

4 พล... เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส (หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย) 7.80 6.24 5.84

5 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (พรรคอนาคตใหม่) 7.48 10.08 6.88

6 พล... วิโรจน์ เปาอินทร์ (รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย) 6.28 7.92 5.12

7 นายชวน หลีกภัย (อดีตนายกรัฐมนตรี) 3.90 3.44 5.84

8 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (รองนายกรัฐมนตรี) 2.55 2.08 2.88

9 นายวิษณุ เครืองาม (รองนายกรัฐมนตรี) 0.64 - -

10 นายไพบูลย์ นิติตะวัน (พรรคประชาชนปฏิรูป) 0.48 - -

3. ท่านอยากให้พรรคการเมืองพรรคใดได้คะแนนเสียงมากที่สุด และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่

อันดับ พรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้ได้คะแนนเสียงมากที่สุด และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ร้อยละ

1 พรรคเพื่อไทย 31.19

2 พรรคพลังประชารัฐ 21.88

3 พรรคประชาธิปัตย์ 16.47

4 พรรคอนาคตใหม่ 9.63

5 พรรคเสรีรวมไทย 2.07

6 พรรคภูมิใจไทย 1.99

7 พรรคประชาชนปฏิรูป 1.91

8 พรรคชาติไทยพัฒนา 1.19

9 พรรคพลังชาติไทย 0.95

4. ท่านอยากให้นายกที่ท่านเลือกคนต่อไป เข้ามาแก้ไขปัญหาในเรื่องใดมากที่สุด (เลือกตอบ 1 ข้อ)

ปัญหาที่อยากให้นายกคนต่อไปเข้ามาแก้ไขมากที่สุด ร้อยละ

ปัญหาปากท้องและหนี้สินของประชาชน 37.39

ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ 27.61

ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน การใช้อำนาจโดยมิชอบ ผู้มีอิทธิพล 12.17

ปัญหาการควบคุมราคาสินค้า 8.12

ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม มิจฉาชีพ 4.85

ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยในปัจจุบัน 3.10

ปัญหาการว่างงานและแรงงานนอกระบบ 3.02

ปัญหาด้านสุขภาพการรักษาพยาบาล และการคุ้มครองความเสี่ยงของผู้บริโภค 1.27

อื่น ได้แก่ ปัญหาด้านการคมนาคม การส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว ความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ

ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย และระบบงานราชการ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ทุกข้อรวมกัน 1.91

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 0.56

รวม 100.00

5. ท่านเชื่อมั่นหรือไม่ว่าจะมีการเลือกตั้ง ภายในเดือน กุมภาพันธ์ .. 2562 โดยไม่มีการเลื่อนออกไปอีก

ความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยไม่มีการเลื่อนออกไปอีก ร้อยละ

ไม่เชื่อมั่น เพราะ ยังไม่มีความพร้อม สถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ปกติ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

และเลื่อนการเลือกตั้งมาแล้วหลายครั้งเลยทำให้ขาดความเชื่อมั่น 53.94

เชื่อมั่น เพราะ สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ เป็นไปตามโรดแมปที่รัฐบาลวางไว้

และเชื่อมั่นในความสามารถและความพร้อมของรัฐบาล 38.82

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 7.24

รวม 100.00

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค

ภูมิภาค จำนวน ร้อยละ

กรุงเทพฯ 119 9.47

ปริมณฑลและภาคกลาง 328 26.09

ภาคเหนือ 218 17.34

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 418 33.25

ภาคใต้ 174 13.85

รวม 1,257 100.00

ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ

เพศ จำนวน ร้อยละ

ชาย 724 57.60

หญิง 532 42.32

เพศทางเลือก 1 0.08

รวม 1,257 100.00

ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ

อายุ จำนวน ร้อยละ

18 – 25 ปี 80 6.36

26 – 35 ปี 194 15.43

36 – 45 ปี 297 23.63

46 – 59 ปี 419 33.33

60 ปีขึ้นไป 249 19.81

ไม่ระบุ 18 1.44

รวม 1,257 100.00

ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา

ศาสนา จำนวน ร้อยละ

พุทธ 1,161 92.36

อิสลาม 49 3.90

คริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด 12 0.96

ไม่ระบุ 35 2.78

รวม 1,257 100.00

ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส

สถานภาพการสมรส จำนวน ร้อยละ

โสด 249 19.81

สมรส 922 73.35

หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

45 3.58

ไม่ระบุ 41 3.26

รวม 1,257 100.00

ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ

ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 340 27.05

มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 379 30.15

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 87 6.92

ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 325 25.86

สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 81 6.44

ไม่ระบุ 45 3.58

รวม 1,257 100.00


ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก

อาชีพหลัก จำนวน ร้อยละ

ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 156 12.41

พนักงานเอกชน 158 12.57

เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 292 23.23

เกษตรกร/ประมง 183 14.56

รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 178 14.16

พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 207 16.47

นักเรียน/นักศึกษา 30 2.39

พนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร - -

ไม่ระบุ 53 4.21

รวม 1,257 100.00

ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวน ร้อยละ

ไม่มีรายได้ 157 12.49

ไม่เกิน 10,000 285 22.67

10,001 – 20,000 300 23.87

20,001 – 30,000 169 13.44

30,001 – 40,000 99 7.88

40,001 ขึ้นไป 111 8.83

ไม่ระบุ 136 10.82

รวม 1,257 100.00


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 23 ก.ค. 2561 เวลา : 09:11:14
30-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 30, 2024, 11:00 pm