ข่าวประชาสัมพันธ์
NIDA Poll 'ประเพณีการรับน้อง' ควรมีต่อไป?


ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพลสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่องประเพณีการรับน้องควรมีต่อไป? ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 – 25 กรกฎาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป กระจาย ทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,264 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประเพณีการรับน้องในปัจจุบัน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของนิด้าโพลด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงผลดีหรือผลเสียของประเพณีการรับน้องต่อนิสิต/นักศึกษา/สถาบันการศึกษา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.29 ระบุว่า มีผลเสียมากกว่าผลดี รองลงมา ร้อยละ 45.17 ระบุว่า มีผลดีมากกว่าผลเสีย และร้อยละ 5.54 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

โดยผู้ที่ระบุว่า มีผลเสียมากกว่าผลดี ได้ให้เหตุผลส่วนใหญ่ พบว่า ร้อยละ 92.13 ระบุว่า การใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดการสูญเสียและสร้างความเสื่อมเสียให้กับสถาบัน รองลงมา ร้อยละ 30.18 ระบุว่า การใช้อารมณ์ในการด่าทอ ก่อให้เกิดความก้าวร้าวขึ้นในหมู่คณะ และร้อยละ 22.63 ระบุว่า ส่งผลกระทบต่อการเรียนของนิสิต/นักศึกษา ส่วนผู้ที่ระบุว่า มีผลดีมากกว่าผลเสีย ได้ให้เหตุผลส่วนใหญ่ พบว่า ร้อยละ 90.37 ระบุว่า เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องเพื่อสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ รองลงมา ร้อยละ 30.12 ระบุว่า เป็นการฝึกให้มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเองและการตรงต่อเวลากล้าแสดงออกมากขึ้น และร้อยละ 27.15 ระบุว่า เป็นการฝึกการ มีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

 

 

ด้านระดับความรุนแรงของประเพณีการรับน้องในปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 18.91 ระบุว่า มีการใช้ความรุนแรงมากที่สุด ร้อยละ 54.35 ระบุว่า มีการใช้ความรุนแรงมาก ร้อยละ 21.52 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ความรุนแรง ร้อยละ 1.66 ระบุว่า ไม่มีการใช้ความรุนแรงเลย และร้อยละ 3.56 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ โดยผู้ที่ระบุว่า มีการใช้ความรุนแรงมากมากที่สุด ได้ให้เหตุผลว่า มีข่าวออกมาให้เห็นบ่อยครั้ง ขณะที่บางส่วนระบุว่า ขาดการควบคุมดูแลจากสถาบัน ส่วนผู้ที่ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ความรุนแรงไม่มีการใช้ความรุนแรงเลย ให้เหตุผลว่า ทางสถาบันมีการควบคุม ดูแล และป้องกันการรับน้องที่รุนแรง

เมื่อถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทลงโทษสำหรับรุ่นพี่ที่กระทำความรุนแรงในการรับน้อง โดยการตัดคะแนนความประพฤติ/ พักการเรียน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.69 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ บทลงโทษไม่รุนแรงเกินไป เหมาะสมกับความผิด รองลงมา ร้อยละ 20.81 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ บทลงโทษมีความรุนแรงน้อยเกินไป ควรมีการลงโทษตามกฎหมาย ขณะที่บางส่วนระบุว่า บทลงโทษรุนแรงไป ควรมีการตักเตือนก่อน แต่ก็ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป และร้อยละ 1.50 ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความรับผิดชอบของสถาบันการศึกษา ในกรณีที่มีการใช้ความรุนแรงในประเพณี การรับน้อง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 93.28 ระบุว่า ควรต้องรับผิดชอบ เพราะ สถาบันการศึกษาเป็นผู้ดูแล รับผิดชอบ นิสิต นักศึกษา ภายในสถาบันทั้งหมด รองลงมา ร้อยละ 5.30 ระบุว่า ไม่ควรต้องรับผิดชอบ เพราะ เป็นเรื่องที่เกิดจากตัวบุคคลไม่เกี่ยวกับสถาบัน และร้อยละ 1.42 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเพณีการรับน้องพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.31 ระบุว่า จัดกิจกรรมรับน้องที่สร้างสรรค์ มีประโยชน์ต่อตัวรุ่นน้องและสังคม รองลงมา ร้อยละ 33.78 ระบุว่า ให้สถาบันการศึกษาออกมาตรการป้องกันการรับน้องที่ชัดเจน ร้อยละ 26.03 ระบุว่า มีการรับน้องแบบโปร่งใสโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม ร้อยละ 19.38 ระบุว่า กำหนดรูปแบบการรับน้องให้เป็นรูปแบบเดียวกันทุกสถาบันการศึกษา ร้อยละ 12.97 ระบุว่า ออกบทลงโทษขั้นรุนแรงโดยใช้กฎหมายนอกสถาบันการศึกษา ร้อยละ 2.85 ระบุอื่น ได้แก่ ให้จัดกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัย โดยมีอาจารย์เป็นผู้ควบคุมการทำกิจกรรม ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ต้องการให้มีประเพณีการรับน้องอีกต่อไป และร้อยละ 3.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงประเพณีการรับน้องควรมีต่อไปหรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.57 ระบุว่า ควรมีประเพณีการรับน้องต่อไป เพราะ เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ สร้างความสามัคคี ระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง บางส่วนระบุว่า ควรเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เพื่อสังคม และผู้ปกครองสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมได้ รองลงมา ร้อยละ 30.14 ระบุว่า ควรยกเลิกประเพณีการรับน้องเพราะ ไม่มีความสำคัญ ไม่มีประโยชน์ ต่อการศึกษา ยังมีกิจกรรมที่สร้างสรรค์กว่าการรับน้องที่สามารถเข้าร่วมได้ และเพื่อลดการเกิดปัญหาความรุนแรง และร้อยละ 2.29 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 10.60 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.71 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.09 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 30.54 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 16.06 มีภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 55.14 เป็นเพศชาย ร้อยละ 44.62 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.24 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่าง ร้อยละ 6.96 มีอายุ 16 – 25 ปี ร้อยละ 16.85 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.52 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.26 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 18.91 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.50 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 92.49 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.32 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.95 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด และร้อยละ 3.24 ไม่ระบุศาสนา

ตัวอย่าง ร้อยละ 21.99 สถานภาพโสด ร้อยละ 70.17 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.75 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 3.09 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่าง ร้อยละ 25.40 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.62 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.36 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.98 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.77 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.87 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 10.29 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.24 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 24.84 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.32 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.00 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 15.27 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.77 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 4.19 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 12.58 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.89 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.66 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.05 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.25 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 10.84 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 12.73 ไม่ระบุรายได้


1. ท่านคิดว่าประเพณีการรับน้องมีผลดีหรือผลเสีย ต่อนิสิต/นักศึกษา/สถาบันการศึกษาหรือไม่อย่างไร

ผลดีหรือผลเสียของประเพณีการรับน้องต่อนิสิต/นักศึกษา/สถาบันการศึกษา ร้อยละ

มีผลเสียมากกว่าผลดี เพราะ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) 49.29

การใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดการสูญเสียและสร้างความเสื่อมเสียให้กับสถาบัน 92.13

การใช้อารมณ์ในการด่าทอ ก่อให้เกิดความก้าวร้าวขึ้นในหมู่คณะ 30.18

ส่งผลกระทบต่อการเรียนของนิสิต/นักศึกษา 22.63

มีผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) 45.17

เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องเพื่อสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ 90.37

เป็นการฝึกให้มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเองและการตรงต่อเวลากล้าแสดงออกมากขึ้น 30.12

เป็นการฝึกการมีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 27.15

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 5.54

รวม 100.00

2. ท่านคิดว่าปัจจุบันประเพณีการรับน้องมีการใช้ความรุนแรงมากน้อยเพียงใด

ระดับความรุนแรงของประเพณีการรับน้องในปัจจุบัน ร้อยละ

มีการใช้ความรุนแรงมากที่สุด 18.91

มีการใช้ความรุนแรงมาก 54.35

ไม่ค่อยมีการใช้ความรุนแรง 21.52

ไม่มีการใช้ความรุนแรงเลย 1.66

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 3.56

รวม 100.00

3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับบทลงโทษสำหรับรุ่นพี่ที่กระทำความรุนแรงในการรับน้อง โดยการตัดคะแนนความประพฤติ/พักการเรียน

ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทลงโทษสำหรับรุ่นพี่ที่กระทำความรุนแรงในการรับน้อง โดยการตัดคะแนนความประพฤติ/พักการเรียน ร้อยละ

เห็นด้วย เพราะ บทลงโทษไม่รุนแรงเกินไป เหมาะสมกับความผิด 77.69

ไม่เห็นด้วย เพราะ บทลงโทษมีความรุนแรงน้อยเกินไป ควรมีการลงโทษตามกฎหมาย ขณะที่บางส่วนระบุว่า

บทลงโทษรุนแรงไป ควรมีการตักเตือนก่อน แต่ก็ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป 20.81

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 1.50

รวม 100.00

4. ท่านคิดว่า สถาบันการศึกษาควรต้องรับผิดชอบหรือไม่ ในกรณีที่มีการใช้ความรุนแรงในประเพณีการรับน้อง

ความรับผิดชอบของสถาบันการศึกษา ในกรณีที่มีการใช้ความรุนแรงในประเพณีการรับน้อง ร้อยละ

ควรต้องรับผิดชอบ เพราะ สถาบันการศึกษาเป็นผู้ดูแล รับผิดชอบ นิสิต นักศึกษา ภายในสถาบันทั้งหมด 93.28

ไม่ควรต้องรับผิดชอบ เพราะ เป็นเรื่องที่เกิดจากตัวบุคคลไม่เกี่ยวกับสถาบัน 5.30

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 1.42

รวม 100.00

5. ท่านมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเพณีการรับน้องอย่างไรบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเพณีการรับน้องร้อยละ

จัดกิจกรรมรับน้องที่สร้างสรรค์ มีประโยชน์ต่อตัวรุ่นน้องและสังคม 61.31

ให้สถาบันการศึกษาออกมาตรการป้องกันการรับน้องที่ชัดเจน 33.78

มีการรับน้องแบบโปร่งใสโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม 26.03

กำหนดรูปแบบการรับน้องให้เป็นรูปแบบเดียวกันทุกสถาบันการศึกษา 19.38

ออกบทลงโทษขั้นรุนแรงโดยใช้กฎหมายนอกสถาบันการศึกษา 12.97

อื่น ได้แก่ ให้จัดกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัย โดยมีอาจารย์เป็นผู้ควบคุมการทำกิจกรรม ขณะที่บางส่วนระบุว่า

ไม่ต้องการให้มีประเพณีการรับน้องอีกต่อไป 2.85

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 3.24

6. ท่านคิดว่าควรมีประเพณีการรับน้องต่อไปหรือไม่

ประเพณีการรับน้องควรมีต่อไปหรือไม่ ร้อยละ

ควรมีประเพณีการรับน้องต่อไป เพราะ เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ สร้างความสามัคคี ระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง

บางส่วนระบุว่า ควรเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เพื่อสังคม และผู้ปกครองสมารถเข้ามามีส่วนร่วมใน

กิจกรรมได้ 67.57

ควรยกเลิกประเพณีการรับน้องเพราะ ไม่มีความสำคัญ ไม่มีประโยชน์ ต่อการศึกษา ยังมีกิจกรรมที่สร้างสรรค์

กว่าการรับน้องที่สามารถเข้าร่วมได้ และเพื่อลดการเกิดปัญหาความรุนแรง 30.14

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 2.29

รวม 100.00

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค

ภูมิภาค จำนวน ร้อยละ

กรุงเทพฯ 134 10.60

ปริมณฑลและภาคกลาง 325 25.71

ภาคเหนือ 216 17.09

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 386 30.54

ภาคใต้ 203 16.06

รวม 1,264 100.00


ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ

เพศ จำนวน ร้อยละ

ชาย 697 55.14

หญิง 564 44.62

เพศทางเลือก 3 0.24

รวม 1,264 100.00


ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ

อายุ จำนวน ร้อยละ

16 – 25 ปี 88 6.96

26 – 35 ปี 213 16.85

36 – 45 ปี 272 21.52

46 – 59 ปี 433 34.26

60 ปีขึ้นไป 239 18.91

ไม่ระบุ 19 1.50

รวม 1,264 100.00


ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา

ศาสนา จำนวน ร้อยละ

พุทธ 1,169 92.49

อิสลาม 42 3.32

คริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด 12 0.95

ไม่ระบุ 41 3.24

รวม 1,264 100.00


ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส

สถานภาพการสมรส จำนวน ร้อยละ

โสด 278 21.99

สมรส 887 70.17

หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่



60 4.75

ไม่ระบุ 39 3.09

รวม 1,264 100.00



ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง (ต่อ)


ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ

ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 321 25.40

มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 387 30.62

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 93 7.36

ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 341 26.98

สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 73 5.77

ไม่ระบุ 49 3.87

รวม 1,264 100.00


ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก

อาชีพหลัก จำนวน ร้อยละ

ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 130 10.29

พนักงานเอกชน 180 14.24

เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 314 24.84

เกษตรกร/ประมง 181 14.32

รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 177 14.00

พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 193 15.27

นักเรียน/นักศึกษา 35 2.77

พนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร 1 0.08

ไม่ระบุ 53 4.19

รวม 1,264 100.00


ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวน ร้อยละ

ไม่มีรายได้ 159 12.58

ไม่เกิน 10,000 264 20.89

10,001 – 20,000 337 26.66

20,001 – 30,000 127 10.05

30,001 – 40,000 79 6.25

40,001 ขึ้นไป 137 10.84

ไม่ระบุ 161 12.73

รวม 1,264 100.00


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 31 ก.ค. 2561 เวลา : 09:16:36
06-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 6, 2024, 8:03 pm