ข่าวประชาสัมพันธ์
NIDA Poll เรื่อง ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการจัดการสถานการณ์น้ำท่วมของไทย


ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการจัดการสถานการณ์น้ำท่วมของไทย ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 – 10 สิงหาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,260 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการจัดการสถานการณ์น้ำท่วมของไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของนิด้าโพลด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนด ค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

 

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมในปี .. 2561 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 87.14 ระบุว่า ไม่ได้รับผลกระทบ และร้อยละ 12.86 ระบุว่า ได้รับผลกระทบ โดยผู้ที่ระบุว่า ได้รับผลกระทบ ร้อยละ 23.46 ระบุว่า ได้รับผลกระทบมากที่สุด ร้อยละ 25.31 ระบุว่า ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ร้อยละ 38.27 ระบุว่า ได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย และร้อยละ 12.96 ระบุว่า ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

ด้านสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมของประเทศไทยใน ทุก ปี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.63 ระบุว่า มีปริมาณน้ำฝนมากเนื่องจากฝนตกหนัก รองลงมา ร้อยละ 43.17 ระบุว่า การลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและการบุกรุกพื้นที่ป่า ร้อยละ 37.30 ระบุว่า การขยายตัว ของเขตชุมชน และการทำลายระบบระบายน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ร้อยละ 28.10 ระบุว่า การบริหารจัดการของรัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 12.94 ระบุว่า ภูมิประเทศของประเทศไทยเป็นที่ลุ่มน้ำ ที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำหลายสาย ร้อยละ 0.79 ระบุอื่น ได้แก่ เขื่อนไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำได้หมด ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นภัยธรรมชาติ และร้อยละ 0.56 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

สำหรับความเชื่อมั่นต่อ โครงสร้าง ความมั่นคง ความแข็งแรง ของเขื่อนในประเทศไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.73 ระบุว่า มีความเชื่อมั่น เพราะ วิศวกรมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการสร้าง ออกแบบมาอย่างดี มีความแข็งแรงคงทน และจากสถานการณ์ที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยมีปัญหาเกิดขึ้น รองลงมา ร้อยละ 17.30 ระบุว่า ไม่มีความเชื่อมั่น เพราะ สร้างมาเป็นเวลานานโครงสร้างต่าง ก็เสื่อมลงตามกาลเวลา ไม่ค่อยได้ลงไปตรวจสอบคุณภาพความแข็งแรงของเขื่อนเท่าที่ควร ขณะที่บางส่วนระบุว่า ภัยธรรมชาติเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่แน่นอน และไม่สามารถควบคุมได้ และร้อยละ 3.97 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อถามถึงประสิทธิภาพของการบริหารจัดการน้ำท่วม ของหน่วยงานรัฐ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 14.28 ระบุว่า มีประสิทธิภาพมาก ร้อยละ 49.36 ระบุว่า มีประสิทธิภาพค่อนข้างมาก ร้อยละ 29.05 ระบุว่า ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 4.29 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย และร้อยละ 3.02 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ โดยผู้ที่ระบุว่า มีประสิทธิภาพค่อนข้างมากมาก ได้ให้เหตุผลว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการเร่งดำเนินงานอย่างเต็มที่ และหาแนวทางการป้องกันอย่างจริงจัง ส่วนผู้ที่ระบุว่า ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพไม่มีประสิทธิภาพเลย ให้เหตุผลว่า ไม่มีการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ช่วงหน้าฝน หรือการผันน้ำที่ดี อุปกรณ์ไม่เพียงพอ การทำงานล่าช้า และแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการน้ำท่วมของประเทศไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.37 ระบุว่า ให้มีการบริหารจัดการเรื่องการระบายน้ำกับทุกเขื่อนในประเทศไทยสม่ำเสมอ รองลงมา ร้อยละ 35.40 ระบุว่า หน่วยงานรัฐมีการบริหารจัดการน้ำที่มีระบบและมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 30.87 ระบุว่า ติดตั้งสัญญาณเตือนภัยน้ำท่วมทุกจังหวัดที่ประสบภัยทุกปี ร้อยละ 28.41 ระบุว่า ตรวจสอบความแข็งแรงของเขื่อนทุกเขื่อนสม่ำเสมอ ร้อยละ 21.67 ระบุว่า จัดตั้งหน่วยงานช่วยเหลือด้านน้ำท่วมโดยเฉพาะ ร้อยละ 14.84 ระบุว่า จัดเวรยาม เฝ้าระวังน้ำท่วมตลอด 24 ชั่วโมง ร้อยละ 3.41 ระบุอื่น ได้แก่ รณรงค์ปลูกต้นไม้ทดแทน ลดการตัดไม้ทำลายป่า มีมาตรการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำเพิ่ม ขณะที่บางส่วนระบุว่า การบริหารจัดการตอนนี้ดีอยู่แล้ว และร้อยละ 3.33 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.10 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.82 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.14 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.89 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.05 มีภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 53.81 เป็นเพศชาย ร้อยละ 46.11 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่าง ร้อยละ 5.95 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 15.08 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.65 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.72 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 18.25 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และ ร้อยละ 1.35 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 92.62 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.65 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.19 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด และร้อยละ 2.54 ไม่ระบุศาสนา

ตัวอย่าง ร้อยละ 20.40 สถานภาพโสด ร้อยละ 72.78 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.89 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 2.93 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่าง ร้อยละ 29.52 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.00 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.49 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.29 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.76 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.94 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.62 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.18 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.11 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.16 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.44 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.18 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 1.90 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 3.41 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 14.52 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 25.71 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.64 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.24 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.56 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 8.89 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.44 ไม่ระบุรายได้

1. ในปี .. 2561 ท่านได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมหรือไม่

การได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมในปี .. 2561 ร้อยละ

ไม่ได้รับผลกระทบ 87.14

ได้รับผลกระทบ 12.86

* ได้รับผลกระทบมากที่สุด 23.46

* ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก 25.31

* ได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย 38.27

* ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด 12.96

รวม 100.00

2. ท่านคิดว่าการเกิดน้ำท่วมของประเทศไทยใน ทุก ปี เกิดจากสาเหตุใด ? (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในประเทศไทย ทุก ปี ร้อยละ

มีปริมาณน้ำฝนมากเนื่องจากฝนตกหนัก 45.63

การลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและการบุกรุกพื้นที่ป่า 43.17

การขยายตัวของเขตชุมชน และการทำลายระบบระบายน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ 37.30

การบริหารจัดการของรัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพ 28.10

ภูมิประเทศของประเทศไทยเป็นที่ลุ่มน้ำ ที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำหลายสาย 12.94

อื่น ได้แก่ เขื่อนไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำได้หมด ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นภัยธรรมชาติ 0.79

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 0.56

3. ท่านมีความเชื่อมั่นต่อ โครงสร้าง ความมั่นคง ความแข็งแรง ของเขื่อนในประเทศไทยหรือไม่?

ความเชื่อมั่นต่อ โครงสร้าง ความมั่นคง ความแข็งแรง ของเขื่อนในประเทศไทย ร้อยละ

มีความเชื่อมั่น เพราะ วิศกรมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการสร้าง ออกแบบมาอย่างดี มีความแข็งแรงคงทน

และจากสถานการณ์ที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยมีปัญหาเกิดขึ้น 78.73

ไม่มีความเชื่อมั่น เพราะ สร้างมาเป็นเวลานานโครงสร้างต่าง ก็เสื่อมลงตามกาลเวลา ไม่ค่อยได้ลงไปตรวจสอบ

คุณภาพความแข็งแรงของเขื่อนเท่าที่ควร ขณะที่บางส่วนระบุว่า ภัยธรรมชาติเป็นปรากฎการณ์ที่

ไม่แน่นอน ไม่สามารถควบคุมได้ 17.30

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 3.97

รวม 100.00

4. ท่านคิดว่า การบริหารจัดการน้ำท่วม ของหน่วยงานรัฐมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด?

ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการน้ำท่วม ของหน่วยงานรัฐ ร้อยละ

มีประสิทธิภาพมาก 14.28

มีประสิทธิภาพค่อนข้างมาก 49.36

ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ 29.05

ไม่มีประสิทธิภาพเลย 4.29

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 3.02

รวม 100.00

5. ในฐานะประชาชน ท่านมีข้อเสนอแนะอย่างไรกับการจัดการน้ำท่วมของประเทศไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการน้ำท่วมของประเทศไทย ร้อยละ

ให้มีการบริหารจัดการเรื่องการระบายน้ำกับทุกเขื่อนในประเทศไทยสม่ำเสมอ 39.37

หน่วยงานรัฐมีการบริหารจัดการน้ำที่มีระบบและมีประสิทธิภาพ 35.40

ติดตั้งสัญญาณเตือนภัยน้ำท่วมทุกจังหวัดที่ประสบภัยทุกปี 30.87

ตรวจสอบความแข็งแรงของเขื่อนทุกเขื่อนสม่ำเสมอ 28.41

จัดตั้งหน่วยงานช่วยเหลือด้านน้ำท่วมโดยเฉพาะ 21.67

จัดเวรยามเฝ้าระวังน้ำท่วมตลอด 24 ชั่วโมง 14.84

อื่น ได้แก่ รณรงค์ปลูกต้นไม้ทดแทน ลดการตัดไม้ทำลายป่า มีมาตรการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำเพิ่ม ขณะที่บางส่วน

ระบุว่า การบริหารจัดการตอนนี้ดีอยู่แล้ว 3.41

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 3.33

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค

ภูมิภาค จำนวน ร้อยละ

กรุงเทพฯ 102 8.10

ปริมณฑลและภาคกลาง 338 26.82

ภาคเหนือ 216 17.14

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 427 33.89

ภาคใต้ 177 14.05

รวม 1,260 100.00

ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ

เพศ จำนวน ร้อยละ

ชาย 678 53.81

หญิง 581 46.11

เพศทางเลือก 1 0.08

รวม 1,260 100.00

ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ

อายุ จำนวน ร้อยละ

18 – 25 ปี 75 5.95

26 – 35 ปี 190 15.08

36 – 45 ปี 298 23.65

46 – 59 ปี 450 35.72

60 ปีขึ้นไป 230 18.25

ไม่ระบุ 17 1.35

รวม 1,260 100.00

ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา

ศาสนา จำนวน ร้อยละ

พุทธ 1,167 92.62

อิสลาม 46 3.65

คริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด 15 1.19

ไม่ระบุ 32 2.54

รวม 1,260 100.00

ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส

สถานภาพการสมรส จำนวน ร้อยละ

โสด 257 20.40

สมรส 917 72.78

หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

49 3.89

ไม่ระบุ 37 2.93

รวม 1,260 100.00

ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ

ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 372 29.52

มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 378 30.00

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 107 8.49

ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 306 24.29

สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 60 4.76

ไม่ระบุ 37 2.94

รวม 1,260 100.00

ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก

อาชีพหลัก จำนวน ร้อยละ

ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 159 12.62

พนักงานเอกชน 166 13.18

เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 266 21.11

เกษตรกร/ประมง 191 15.16

รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 182 14.44

พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 229 18.18

นักเรียน/นักศึกษา 24 1.90

พนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร - -

ไม่ระบุ 43 3.41

รวม 1,260 100.00

ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวน ร้อยละ

ไม่มีรายได้ 183 14.52

ไม่เกิน 10,000 324 25.71

10,001 – 20,000 323 25.64

20,001 – 30,000 129 10.24

30,001 – 40,000 70 5.56

40,001 ขึ้นไป 112 8.89

ไม่ระบุ 119 9.44

รวม 1,260 100.00


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 14 ส.ค. 2561 เวลา : 09:30:23
30-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 30, 2024, 3:09 am