เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ร่างพระราชบัญญัติการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ. ....


นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เนื่องจากการทำธุรกรรมหรือการทำนิติกรรมสัญญาหลายประเภทในระบบเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีการพิสูจน์ตัวตน การให้ความยินยอม การลงลายมือชื่อ หรือการแสดงเจตนาของผู้ทำธุรกรรมดังกล่าวและในอดีตที่ผ่านมา การพิสูจน์ตัวตนมักจะให้ผู้ใช้บริการ (ผู้ทำธุรกรรม) ต้องไปแสดงตนต่อผู้ให้บริการ เช่น หน่วยงานราชการ ธนาคารพาณิชย์ โรงพยาบาล เป็นต้น พร้อมส่งเอกสารหลักฐานในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน จึงก่อให้เกิดความไม่สะดวก และเป็นภาระต่อผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ประกอบกับประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิกส์โดยที่มีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลาย ดังนั้น หากการพิสูจน์และยืนยันตัวตนสามารถกระทำในรูปแบบดิจิทัลได้ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ ซึ่งจะเป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงเสนอร่างพระราชบัญญัติการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล .. .... (ร่าง ... Digital ID) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ (1) พัฒนาโครงข่ายระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (โครงข่ายฯ) ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ (2) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล รวมทั้งกำกับดูแลผู้ให้บริการ และ (3) ยกระดับการให้บริการของหน่วยงานของรัฐ โดยหน่วยงานของรัฐสามารถใช้ประโยชน์จากโครงข่ายฯ ได้ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่าง ... Digital ID แล้ว เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561

 


 

ร่าง ... Digital ID เป็นกฎหมายเชิงกำกับดูแล โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อกำกับดูแลโครงข่ายฯ เพื่อให้กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเป็นไปอย่างถูกต้องครบถ้วน และผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลได้รับการคุ้มครอง อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ อำนาจการกำกับดูแลของคณะกรรมการสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน ดังนี้

1) ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Platform) ซึ่งให้บริการโดยบริษัทผู้ให้บริการ ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดยคณะกรรมการมีอำนาจกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัท อีกทั้งการจัดตั้งบริษัทยังต้องได้รับความเห็นชอบ รวมถึงใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

2) ระบบทำการแทน (Proxy Server) ซึ่งเป็นการให้บริการระบบทำการแทนแก่ผู้ที่ประสงค์จะเข้าสู่ Platform ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่ไม่มีมาตรฐานทางเทคโนโลยีเพียงพอ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับ Platform ผ่าน Proxy Server ได้ โดยคณะกรรมการมีอำนาจกำกับดูแลผู้ให้บริการ Proxy Server รวมถึงอำนาจในการพิจารณาอนุญาตการเชื่อมต่อระหว่าง Platform และ Proxy Server หรือสั่งให้หยุดการเชื่อมต่อดังกล่าว

3) การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยคณะกรรมการมีอำนาจเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูล หลักเกณฑ์การส่งผ่านข้อมูลระหว่าง Platform และ Proxy Server รวมถึงอำนาจในการเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลหรือพิจารณาคำอุทธรณ์ของผู้ได้รับความเสียหายจากการใช้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล นอกจากนี้ ยังมีอำนาจกำหนดมาตรฐานในการส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงานในโครงข่ายฯ ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลให้ความยินยอมให้ส่งข้อมูลในโครงข่ายฯ

นอกจากบทบัญญัติในเชิงการกำกับดูแลแล้ว ร่าง ... Digital ID ยังกำหนดกรอบขั้นตอน การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลไว้อย่างยืดหยุ่น เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่มีความเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ร่าง ... Digital ID ยังเปิดให้หน่วยงานของรัฐเข้าสู่ระบบได้ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อเข้า Platform โดยตรง หรือผ่านการใช้บริการ Proxy Server ซึ่งหากหน่วยงานของรัฐประสงค์จะให้บริการ Platform ก็สามารถกระทำได้ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ออกโดยพระราชกฤษฎีกา

นางสาวกุลยาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่าการพิสูจน์และยืนยันตัวในรูปแบบดิจิทัลจะลดภาระของประชาชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนในฐานะผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการต่าง ที่ต้องมีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนก่อนการใช้บริการ เช่น ประชาชนจะสามารถเปิดบัญชีธนาคารหรือขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือของตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องไปแสดงตนที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ เมื่อได้ดำเนินการพิสูจน์และยืนยันตัวตนและแสดงความจำนงที่จะทำธุรกรรมดังกล่าว กับผู้ให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย เป็นการเฉพาะ เป็นต้น


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 11 ก.ย. 2561 เวลา : 16:26:18
24-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2024, 6:57 am