ข่าวประชาสัมพันธ์
ผลสำรวจเรื่อง 'การเลือกตั้งบนสมรภูมิโซเชียล'


คนไทยส่วนใหญ่ 68.0% อยากเห็นพรรคการเมืองใช้ เฟซบุ๊ค/เฟซบุ๊ค ไลฟ์ เคลื่อนไหวทางการเมืองมากที่สุด ส่วนใหญ่ 51.4% เชื่อจะเกิดผลดี ประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลของพรรคการเมืองมากขึ้น ส่วนใหญ่ 63.0% เห็นว่าการเสนอข้อมูลต่างๆทางการเมืองของเน็ตไอดอลมีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุดต่อการเลือกตั้ง 47.9%รู้สึกเหมือนถูกปิดกั้นข้อมูล หากมีการห้ามใช้สื่อโซเชียลมีเดียหาเสียง

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่องการเลือกตั้งบนสมรภูมิโซเชียลโดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,201 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 68.0 อยากเห็นพรรรคการเมืองใช้สื่อโซเชียลมีเดีย เฟซบุ๊ค/เฟซบุ๊ค ไลฟ์ ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง รองลงมาร้อยละ 39.6 อยากเห็นใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ไลน์ และร้อยละ 36.5 ใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ยูทูป

 


 

เมื่อถามความเห็นต่อการใช้สื่อโซเชียลมีเดียเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของพรรคการเมืองต่างๆ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.4 เห็นว่าจะเกิดผลดี โดยในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่า ประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลพรรคการเมืองได้ง่ายขึ้น (ร้อยละ 54.8) รองลงมาคือ คนรุ่นใหม่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น (ร้อยละ 53.4) ขณะที่ร้อยละ 48.6 เห็นว่าจะเกิดผลเสีย โดยในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่า ข้อมูลที่ได้อาจไม่น่าเชื่อถือ มีการบิดเบือนข้อมูล (ร้อยละ 45.2) และจะมีการแสดงความเห็นใส่ร้ายโจมตีคู่แข่ง ทำให้เกิดความขัดแย้ง (ร้อยละ 33.5)

ส่วนความเห็นต่อการเสนอข้อมูลต่างๆทางการเมืองของเน็ตไอดอลหรือผู้มีอิทธิพลทางความคิด จะมีผลต่อการเลือกตั้งที่จะถึงมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.0 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 37.0 เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

สุดท้ายเมื่อถามว่ารู้สึกอย่างไรหากมีการห้ามใช้สื่อโซเชียลมีเดียหาเสียงพบว่า ร้อยละ 47.9 รู้สึกเหมือนถูกปิดกั้นข้อมูล รองลงมาร้อยละ 34.6 รู้สึกเหมือนประเทศยังไม่พัฒนา ไม่มีอิสระ และร้อยละ 34.3 รู้สึกว่าถ้าใช้โซเชียลหาสียง ประเทศจะวุ่นวายแตกแยก

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. ข้อคำถามคาดหวังอยากเห็นพรรคการเมืองใช้สื่อโซเชียลมีเดียอะไร ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง

(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

เฟซบุ๊ค/เฟซบุ๊ค ไลฟ์ ร้อยละ 68.0

ไลน์ ร้อยละ 39.6

ยูทูป ร้อยละ 36.5

ทวิตเตอร์ ร้อยละ 11.9

อินสตาแกรม ร้อยละ 11.5

2. ความเห็นต่อการใช้สื่อโซเชียลมีเดียเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของพรรคการเมืองต่างๆ

เห็นว่าจะเกิดผลดี ร้อยละ 51.4

เพราะ ประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลพรรคการเมืองได้ง่ายขึ้น ร้อยละ 54.8

(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) คนรุ่นใหม่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ร้อยละ 53.4

เหมาะสมกับยุคไทยแลนด์ 4.0 ร้อยละ 33.9

เห็นว่าจะเกิดผลเสีย ร้อยละ 48.6

เพราะ ข้อมูลที่ได้อาจไม่น่าเชื่อถือ มีการบิดเบือนข้อมูล ร้อยละ 45.2

(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) จะมีการแสดงความเห็นใส่ร้ายโจมตีคู่แข่ง

ทำให้เกิดความขัดแย้ง ร้อยละ 33.5

กังวลว่ากดไลค์ กดแชร์ ข้อมูลแล้วจะผิดกฎหมาย ร้อยละ 31.4

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะไม่สามารถควบคุมได้ ร้อยละ 24.5

3. ความเห็นต่อการเสนอข้อมูลต่างๆทางการเมืองของเน็ตไอดอลหรือผู้มีอิทธิพลทางความคิด จะมีผลต่อการเลือกตั้งที่จะถึงมากน้อยเพียงใด

มีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 11.4 และค่อนข้างมากร้อยละ 51.6) ร้อยละ 63.0

มีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 23.4 และน้อยที่สุดร้อยละ 13.6 ) ร้อยละ 37.0

4. ข้อคำถามรู้สึกอย่างไรหากมีการห้ามใช้สื่อโซเชียลมีเดียหาเสียง

(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

รู้สึกเหมือนถูกปิดกั้นข้อมูล ร้อยละ 47.9

รู้สึกเหมือนประเทศยังไม่พัฒนา ไม่มีอิสระ ร้อยละ 34.6

รู้สึกว่าถ้าใช้โซเชียลหาสียง ประเทศจะวุ่นวายแตกแยก ร้อยละ 34.3

รู้สึกว่าประเทศยังไม่พร้อมกับการใช้สื่อโซเชียลในการหาเสียง ร้อยละ 22.1

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) โทร. 02-350-3500 ต่อ 1770, 1776 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter : http://twitter.com/bangkok_poll Facebook : https://facebook.com/bangkokpoll

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

1) เพื่อสะท้อนความคาดหวังว่าอยากเห็นพรรคการเมืองใช้สื่อโซเชียลมีเดียอะไร ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง

2) เพื่อสะท้อนความคิดเห็นต่อการใช้สื่อโซเชียลเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของพรรคการเมืองต่างๆ

3) เพื่อสะท้อนความคิดเห็นต่อการเสนอข้อมูลต่างๆทางการเมืองของเน็ตไอดอลหรือผู้มีอิทธิพลทางความคิด จะมีผลต่อการเลือกตั้งที่จะถึงมากน้อยเพียงใด

4) เพื่อสะท้อนความรู้สึกหากมีการห้ามใช้สื่อโซเชียลหาเสียง

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ± 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 11 – 13 กันยายน 2561
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 15 กันยายน 2561

ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ

เพศ

ชาย 658 54.8

หญิง 543 45.2

รวม 1,201 100.0

อายุ

18 ปี - 30 ปี 133 11.1

31 ปี - 40 ปี 244 20.3

41 ปี - 50 ปี 338 28.2

51 ปี - 60 ปี 290 24.1

61 ปี ขึ้นไป 196 16.3

รวม 1,201 100.0

การศึกษา

ต่ำกว่าปริญญาตรี 651 54.2

ปริญญาตรี 425 35.4

สูงกว่าปริญญาตรี 125 10.4

รวม 1,201 100.0

อาชีพ

ลูกจ้างรัฐบาล 181 15.1

ลูกจ้างเอกชน 296 24.6

ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 405 33.7

เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 97 8.1

พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 190 15.8

นักเรียน/ นักศึกษา 25 2.1

ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 7 0.6

รวม 1,201 100.0


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 22 ก.ย. 2561 เวลา : 17:19:06
26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 3:10 am