ข่าวประชาสัมพันธ์
NIDA Poll เรื่อง ประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (ครั้งที่ 4) กันยายน


ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพลสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่องประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน (ครั้งที่ 4)” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17 – 18 กันยายน 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง ด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของนิด้าโพลด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธี การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้เข้ามาเป็นรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งต่อไป พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ61.63 ระบุว่า พรรคการเมืองพรรคใหม่ เพราะ อยากเห็นคนใหม่ นโยบายใหม่ แนวคิดใหม่ เข้ามาบริหารและพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า เบื่อการบริหารงานของพรรคการเมืองพรรคเก่า ร้อยละ 37.49 ระบุว่า พรรคการเมืองพรรคเก่า เพราะ มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ชอบการบริหารงานแบบเก่า บริหารงานดีอยู่แล้ว การทำงานมีระบบ เคยเห็นผลงานมาแล้ว มั่นใจในผลงาน รู้จัก คุ้นเคยกับประชาชนเป็นอย่างดี มีความเข้าใจและสามารถแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าพรรคการเมืองพรรคใหม่ และร้อยละ 0.88 ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

 

ด้านบุคคลที่ประชาชนอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรี ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน (10 อันดับแรก) พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 29.66 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 17.51 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 13.83 ระบุว่าเป็น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่) อันดับ 4 ร้อยละ 10.71 ระบุว่าเป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 5 ร้อยละ 5.28 ระบุว่าเป็น พล... เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส (หัวหน้าพรรค เสรีรวมไทย) และพล...วิโรจน์ เปาอินทร์ (รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย) ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 7 ร้อยละ 4.64 ระบุว่าเป็น นายชวน หลีกภัย (อดีตนายกรัฐมนตรี) อันดับ 8 ร้อยละ 1.92 ระบุว่าเป็น หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล (หัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย) อันดับ 9 ร้อยละ 1.76 ระบุว่าเป็น นายวิษณุ เครืองาม (รองนายกรัฐมนตรี) อันดับ 10 ร้อยละ 1.52 ระบุว่าเป็น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (ว่าที่หัวหน้าพรรคประชาชาติ) และอันดับ 11 ร้อยละ 1.44 ระบุว่าเป็น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (รองนายกรัฐมนตรี) และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ (พรรครวมพลังประชาชาติไทย) ในสัดส่วนที่เท่ากัน

เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้ได้คะแนนเสียงมากที่สุด และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล (10 อันดับแรก) พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 28.78 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 20.62 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 3 ร้อยละ 19.58 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 4 ร้อยละ 15.51 ระบุว่าเป็น พรรคอนาคตใหม่ อันดับ 5 ร้อยละ 4.16 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 6 ร้อยละ 2.56 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ อันดับ 7 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น พรรครวมพลังประชาชาติไทย อันดับ 8 ร้อยละ 1.44 ระบุว่าเป็น พรรคพลังชาติไทย อันดับ 9 ร้อยละ 1.12 ระบุว่าเป็น พรรคชาติไทยพัฒนา และอันดับ 10 ร้อยละ 0.96 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชนปฏิรูป

ส่วนปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ใช้ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (..) พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.80 ระบุว่า เป็นบุคคลที่มีผลงานประจักษ์ ทำประโยชน์ในพื้นที่หรือต่อประเทศไทย รองลงมา ร้อยละ 22.54 ระบุว่า ชอบพรรค/นโยบายของพรรค ที่ผู้สมัครสังกัด ร้อยละ 12.07 ระบุว่า ชื่นชอบเป็นการส่วนตัว (เช่น บุคลิก หน้าตา ท่าทาง มีแนวคิดคล้ายตนเอง เป็นคนบ้านเดียวกัน เป็นต้น) ร้อยละ 10.15 ระบุว่า ต้องการได้ .. หน้าใหม่ ร้อยละ 2.32 ระบุว่า ต้องการได้นายกรัฐมนตรี ตามมติของพรรคที่ผู้สมัครสังกัด ร้อยละ 1.52 ระบุว่า เป็นอดีต .. หรือ นักการเมืองในพื้นที่ หรือ เป็นญาตินักการเมืองเดิมในพื้นที่ ร้อยละ 0.80 ระบุว่า ผู้สมัครสังกัดพรรคที่จะได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 0.16 ระบุว่า ผู้สมัครสังกัดพรรคที่อยู่ตรงข้ามกับพรรคที่ตนเองไม่ชอบ และร้อยละ 0.64 ไม่ระบุ/ ไม่แน่ใจ

สำหรับปัญหาที่อยากให้นายกคนต่อไปเข้ามาแก้ไขมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.81 ระบุว่า ปัญหาปากท้องและหนี้สินของประชาชน รองลงมา ร้อยละ 25.42 ระบุว่า ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ ร้อยละ 11.67 ระบุว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน การใช้อำนาจโดยมิชอบ ผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 6.07 ระบุว่า ปัญหาการควบคุมราคาสินค้า ร้อยละ 5.91 ระบุว่า ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม มิจฉาชีพ ร้อยละ 3.60 ระบุว่า ปัญหาการว่างงานและแรงงานนอกระบบ ร้อยละ 2.08 ระบุว่า ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยในปัจจุบัน ร้อยละ 0.88 ระบุว่า ปัญหาด้านสุขภาพการรักษาพยาบาล และการคุ้มครองความเสี่ยงของผู้บริโภค ร้อยละ 2.16 ระบุอื่น ได้แก่ ปัญหาด้านการคมนาคม ปัญหาด้านราคาน้ำมัน ความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย และระบบงานราชการ และร้อยละ 0.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยไม่มีการเลื่อนออกไปอีก พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.76 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่น เพราะ ยังไม่มีความพร้อม ไม่ชัดเจนในหลาย เรื่อง สถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ปกติ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเลื่อนการเลือกตั้งมาแล้วหลายครั้งเลยทำให้ขาดความเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 45.16 ระบุว่า เชื่อมั่น เพราะ สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ เป็นไปตามโรดแมปที่รัฐบาลวางไว้ และเชื่อมั่นในความสามารถและความพร้อมของรัฐบาล และร้อยละ 2.08 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 9.43 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.34 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.59 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.09 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.55 มีภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 56.35 เป็นเพศชาย และร้อยละ 43.65 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 5.92 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 14.95 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.58 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 36.77 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 20.78 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 5.92 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 94.40 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.80 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.12 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือ ศาสนาใด และร้อยละ 1.68 ไม่ระบุศาสนา

ตัวอย่าง ร้อยละ 19.90 สถานภาพโสด ร้อยละ 73.70 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.40 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 2.00 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่าง ร้อยละ 31.17 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 27.98 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.51 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.86 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.08 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.40 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 11.99 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.79 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.74 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 19.10 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.51 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 15.67 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.88 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 2.32 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 12.87 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 25.98 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 23.10 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 9.99 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.68 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 10.47 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.91 ไม่ระบุรายได้

1. ท่านอยากได้พรรคการเมืองพรรคใหม่หรือพรรคการเมืองพรรคเก่าเข้ามาเป็นรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

พรรคการเมืองที่ประชาชนอยากได้เข้ามาเป็นรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ร้อยละ

ครั้งที่ 4 (.. 61) ครั้งที่ 3 (.. 61) ครั้งที่ 2 (.. 61) ครั้งที่ 1 (มี.. 61)

พรรคการเมืองพรรคใหม่ เพราะ อยากเห็นคนใหม่ นโยบายใหม่ แนวคิดใหม่

เข้ามาบริหารและพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า

เบื่อการบริหารงานของพรรคการเมืองพรรคเก่า 61.63 58.87 57.52 62.32

พรรคการเมืองพรรคเก่า เพราะ มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์

ชอบการบริหารงานแบบเก่า บริหารงานดีอยู่แล้ว การทำงานมีระบบ

เคยเห็นผลงานมาแล้ว มั่นใจในผลงาน รู้จัก คุ้นเคยกับประชาชนเป็นอย่างดี

มีความเข้าใจและสามารถแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าพรรคการเมืองพรรคใหม่ 37.49 32.78 37.36 37.68

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 0.88 8.35 5.12 -

รวม 100.00 100.00 100.00 100.00

2. ท่านอยากให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรี ตามกฎหมายการเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

อันดับ บุคคลที่ประชาชนอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรี ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน (10 อันดับแรก) ร้อยละ ครั้งที่ 4 (.. 61) ครั้งที่ 3 (.. 61) ครั้งที่ 2 (.. 61) ครั้งที่ 1 (มี.. 61)

1 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 29.66 31.26 32.24 38.64

2 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคเพื่อไทย) 17.51 14.96 17.44 13.04

3 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่) 13.83 7.48 10.08 6.88

4 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์) 10.71 10.50 14.24 12.24

5 พล... เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส (หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย) 5.28 7.80 6.24 5.84

พล...วิโรจน์ เปาอินทร์ (รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย) 5.28 6.28 7.92 5.12

6 นายชวน หลีกภัย (อดีตนายกรัฐมนตรี) 4.64 3.90 3.44 5.84

7 หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล (หัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย) 1.92 - - -

8 นายวิษณุ เครืองาม (รองนายกรัฐมนตรี) 1.76 0.64 - -

9 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (หัวหน้าพรรคประชาชาติ) 1.52 - - -

10 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (รองนายกรัฐมนตรี) 1.44 2.55 2.08 2.88

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ (พรรครวมพลังประชาชาติไทย) 1.44 - - 0.72

3. ท่านอยากให้พรรคการเมืองพรรคใดได้คะแนนเสียงมากที่สุด และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่

อันดับ พรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้ได้คะแนนเสียงมากที่สุด และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ร้อยละ

1 พรรคเพื่อไทย 28.78

2 พรรคพลังประชารัฐ 20.62

3 พรรคประชาธิปัตย์ 19.58

4 พรรคอนาคตใหม่ 15.51

5 พรรคเสรีรวมไทย 4.16

6 พรรคประชาชาติ 2.56

7 พรรครวมพลังประชาชาติไทย 2.40

8 พรรคพลังชาติไทย 1.44

9 พรรคชาติไทยพัฒนา 1.12

10 พรรคประชาชนปฏิรูป 0.96

4. ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ใช้ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (..) ของท่านคือ (เลือกตอบ 1 ข้อ)

ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ใช้ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (..) ร้อยละ

เป็นบุคคลที่มีผลงานประจักษ์ ทำประโยชน์ในพื้นที่หรือต่อประเทศไทย 49.80

ชอบพรรค/นโยบายของพรรค ที่ผู้สมัครสังกัด 22.54

ชื่นชอบเป็นการส่วนตัว (เช่น บุคลิก หน้าตา ท่าทาง มีแนวคิดคล้ายตนเอง เป็นคนบ้านเดียวกัน เป็นต้น) 12.07

ต้องการได้ .. หน้าใหม่ 10.15

ต้องการได้นายกรัฐมนตรี ตามมติของพรรคที่ผู้สมัครสังกัด 2.32

เป็นอดีต .. หรือ นักการเมืองในพื้นที่ หรือ เป็นญาตินักการเมืองเดิมในพื้นที่ 1.52

ผู้สมัครสังกัดพรรคที่จะได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 0.80

ผู้สมัครสังกัดพรรคที่อยู่ตรงข้ามกับพรรคที่ตนเองไม่ชอบ 0.16

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 0.64

รวม 100.00


5. ท่านอยากให้นายกที่ท่านเลือกคนต่อไป เข้ามาแก้ไขปัญหาในเรื่องใดมากที่สุด (เลือกตอบ 1 ข้อ)

ปัญหาที่อยากให้นายกคนต่อไปเข้ามาแก้ไขมากที่สุด ร้อยละ

ปัญหาปากท้องและหนี้สินของประชาชน 41.81

ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ 25.42

ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน การใช้อำนาจโดยมิชอบ ผู้มีอิทธิพล 11.67

ปัญหาการควบคุมราคาสินค้า 6.07

ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม มิจฉาชีพ 5.91

ปัญหาการว่างงานและแรงงานนอกระบบ 3.60

ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยในปัจจุบัน 2.08

ปัญหาด้านสุขภาพการรักษาพยาบาล และการคุ้มครองความเสี่ยงของผู้บริโภค 0.88

อื่น ได้แก่ ปัญหาด้านการคมนาคม ปัญหาด้านราคาน้ำมัน ความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ

ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย และระบบงานราชการ 2.16

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 0.40

รวม 100.00

6. ท่านเชื่อมั่นหรือไม่ว่าจะมีการเลือกตั้ง ภายในเดือน กุมภาพันธ์ .. 2562 โดยไม่มีการเลื่อนออกไปอีก

ความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยไม่มีการเลื่อนออกไปอีก ร้อยละ

ไม่เชื่อมั่น เพราะ ยังไม่มีความพร้อม ไม่ชัดเจนในหลาย เรื่อง สถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ปกติ

มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเลื่อนการเลือกตั้งมาแล้วหลายครั้งเลยทำให้ขาดความเชื่อมั่น 52.76

เชื่อมั่น เพราะ สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ เป็นไปตามโรดแมปที่รัฐบาลวางไว้

และเชื่อมั่นในความสามารถและความพร้อมของรัฐบาล 45.16

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 2.08

รวม 100.00

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค

ภูมิภาค จำนวน ร้อยละ

กรุงเทพฯ 118 9.43

ปริมณฑลและภาคกลาง 317 25.34

ภาคเหนือ 220 17.59

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 414 33.09

ภาคใต้ 182 14.55

รวม 1,251 100.00

ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ

เพศ จำนวน ร้อยละ

ชาย 705 56.35

หญิง 546 43.65

เพศทางเลือก - -

รวม 1,251 100.00

ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ

อายุ จำนวน ร้อยละ

18 – 25 ปี 74 5.92

26 – 35 ปี 187 14.95

36 – 45 ปี 270 21.58

46 – 59 ปี 460 36.77

60 ปีขึ้นไป 260 20.78

ไม่ระบุ - -

รวม 1,251 100.00

ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา

ศาสนา จำนวน ร้อยละ

พุทธ 1,181 94.40

อิสลาม 35 2.80

คริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด 14 1.12

ไม่ระบุ 21 1.68

รวม 1,251 100.00

ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส

สถานภาพการสมรส จำนวน ร้อยละ

โสด 249 19.90

สมรส 922 73.70

หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

55 4.40

ไม่ระบุ 25 2.00

รวม 1,251 100.00

ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ

ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 390 31.17

มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 350 27.98

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 94 7.51

ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 311 24.86

สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 76 6.08

ไม่ระบุ 30 2.40

รวม 1,251 100.00

ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก

อาชีพหลัก จำนวน ร้อยละ

ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 150 11.99

พนักงานเอกชน 135 10.79

เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 297 23.74

เกษตรกร/ประมง 239 19.10

รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 169 13.51

พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 196 15.67

นักเรียน/นักศึกษา 36 2.88

พนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร - -

ไม่ระบุ 29 2.32

รวม 1,251 100.00

ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวน ร้อยละ

ไม่มีรายได้ 161 12.87

ไม่เกิน 10,000 325 25.98

10,001 – 20,000 289 23.10

20,001 – 30,000 125 9.99

30,001 – 40,000 71 5.68

40,001 ขึ้นไป 131 10.47

ไม่ระบุ 149 11.91

รวม 1,251 100.00


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 24 ก.ย. 2561 เวลา : 09:13:23
29-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 29, 2024, 4:20 am