เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ธปท.ห่วงฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์


การขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์ที่ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องในลักษณะการเก็งกำไร   ทำให้ธปท.ต้องส่งสัญญาณเตือนมาตลอด   เพื่อไม่ให้ฟองสบู่ที่เกิดขึ้น จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม        

       

 

 

ดร.วิรไท   สันติประภพ   ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ยอมรับว่า   สัญญาณความเสี่ยงของสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน  เริ่มมีความชัดเจนขึ้น  และคณะกรรมนโยบายการเงิน(กนง.)ก็ได้แสดงความเป็นหว่ง   เนื่องจากมีการแข่งขันสูง ทำให้สถาบันการเงินละเลยความระมัดระวังเรื่องเกี่ยวกับความเสี่ยง     ในขณะเดียวกันซัพพลายส่วนเกินของคอนโดและบ้านระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทก็มีเพิ่มขึ้น    ซึ่งธปท.ได้เตือนสถาบันการเงินไประดับหนึ่งแล้ว   และจะมีการเรียกสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าหารือ   เพื่อออกมาตราการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย 

ขณะที่นายโอภาส   ศรีพยัคฆ์   ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN   เปิดเผยถึงภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงไตรมาส 3/2561 ที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่า    ไตรมาส 3 ปีนี้แย่สุด    โดยคาดยอดโอนโดยรวมทั้งตลาดน่าจะลดลง 20 %   ขณะที่ตลาดก็มีการแข่งขันกันค่อนข้างรุนแรง   ผ่านแคมเปญอยู่ฟรี   การให้ผ่อนในอัตราที่ต่ำ ฯลฯ  ในขณะเดียวกันธุรกิจยังเผชิญกับปัญหาสถาบันการเงินที่เข้มงวดในการปล่อยกู้   แต่คาดว่า ในช่วงไตรมาส 4 ตลาดน่าจะดีขึ้น  เนื่องประชาชนมีความเชื่อมั่นในเรื่องการเลือกตั้ง

นายโอภาส  บอกด้วยว่า  การลดเพดานเงินกู้ของสถาบันการเงิน  ถือเป็นการส่งสัญญาณคุมเข้มปล่อยกู้อสังหาฯ   ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแรงบีบที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาเตือนเรื่อง ดีมานด์เทียมในตลาดคอนโดมิเนียม   ซึ่งยอมรับว่ามีปัญหาที่เกิดขึ้นในลักษณะกับกลุ่มคนที่ยื่นขอสินเชื่อแบงก์แล้วนำเงินจากส่วนต่างที่แบงก์ปล่อยกู้ให้ไปชำระหนี้ก้อนอื่นในขณะเดียวกันคอนโดมิเนียมที่ซื้อก็ปล่อยเช่า   การทำลักษณะนี้จะเกิดกับโครงการคอนโดมิเนียมที่มีการขายผ่านแคมเปญอยู่ฟรี         

นายสมนึก  ตันฑเทอดธรรม  กรรมการสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร   เปิดเผยว่า การส่งสัญญาณของแบงก์ชาติถือเป็นภาพบวก    เพราะทำให้ตลาดไม่เกิดดีมานด์เทียม ขณะที่ตลาดระดับกลางราคาต่ำ 5 ล้านบาท   ต้องยอมรับว่ามีปัญหายอดปฏิเสธ สินเชื่อในระดับสูง 20-30% ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะหนี้ครัวเรือนยังทรงตัวระดับสูง   แม้ตัวเลขลดลงมาบ้างก็ตาม  ปัญหากำลังซื้อของประชาชนเป็นโจทย์ใหญ่ ซึ่งผู้บริโภคเองต้องสำรวจความพร้อมในการก่อหนี้เช่นกัน


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 25 ก.ย. 2561 เวลา : 09:32:05
20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 1:01 am