ข่าวประชาสัมพันธ์
ผลสำรวจเรื่อง กินเจ...ยุคไทยแลนด์ 4.0


เนื่องด้วยในวันที่ 9-17 ตุลาคมนี้ เป็นช่วงเทศกาลกินเจกรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่องกินเจ...ยุคไทยแลนด์ 4.0” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปี ขึ้นไปทั้งผู้ที่กินเจและไม่กินเจ จำนวน 1,200 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า

เหตุผลของผู้ที่ตั้งใจจะกินเจในปีนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.6 ระบุว่า กินเจเพื่อบุญกุศลละเว้นชีวิตสัตว์รองลงมาร้อยละ 73.3 ระบุว่า กินเพื่อสุขภาพและร้อยละ 66.9 ระบุว่า เป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติมาทุกปีส่วนเหตุผลของผู้ที่ไม่กินเจส่วนใหญ่ร้อยละ 75.9 ระบุว่าปกติไม่กินอยู่แล้ว/ไม่ชอบ/ไม่อร่อย รองลงมาร้อยละ 52.7 ระบุว่า ในครอบครัวไม่มีใครกิน และร้อยละ 37.8 ระบุว่าหาซื้อยาก ไม่สะดวก

ทั้งนี้เมื่อถามเฉพาะผู้ที่ตั้งใจจะกินเจในปีนี้ ว่ามีวิธีจัดหา/ซื้ออาหารเจ อย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.5 ระบุว่า หาซื้ออาหารที่ปรุงสำเร็จตามตลาด/ร้านอาหารที่ปักธงเจ รองลงมาร้อยละ 45.6 ระบุว่า ทำอาหารเจกินเองที่บ้าน และร้อยละ 23.2 ระบุว่า จะซื้ออาหารเจแช่แข็งตามร้านสะดวกซื้อ

 


 

สำหรับกิจกรรมที่ผู้กินเจส่วนใหญ่จะปฏิบัติ ในช่วงเทศกาลกินเจร้อยละ 62.0  คือ ทำบุญ ทำทาน รองลงมาร้อยละ 40.3 คือ สวดมนต์ รักษาศีล 5 และร้อยละ 28.7 จะไปไหว้เจ้าตามศาลเจ้าต่างๆ


สำหรับมุมมองเกี่ยวกับเทศกาลกินเจในยุคไทยแลนด์ 4.0 ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.6 ระบุว่าหาซื้อได้สะดวกมากขึ้นมีทั้งสั่งonline/ในร้านสะดวกซื้อรองลงมาร้อยละ 52.6 ระบุว่าเหมาะสมกับเทรนด์ (trend) การดูแลสุขภาพ และร้อยละ 42.1 ระบุว่า หลายหน่วยงานมีการจัดกิจกรรม/อีเว้นส่งเสริมการกินเจมากขึ้น

โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้

1. เหตุผลที่จะกินเจและไม่กินเจในปัจจุบัน

- เหตุผลของผู้ที่ตั้งใจจะกินเจในปีนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 


เพื่อบุญกุศลละเว้นชีวิตสัตว์

ร้อยละ

80.6

กินเพื่อสุขภาพ

ร้อยละ

73.3

เป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาทุกปี

ร้อยละ

66.9

กินให้เข้ากับเทศกาล

ร้อยละ

45.1

คนในครอบครัวกิน

ร้อยละ

30.5

อยากลองกินเจดูบ้าง/กินครั้งแรก

ร้อยละ

3.3

กินเพื่อแก้บน

ร้อยละ

1.6

อื่นๆ อาทิ ขายอาหารเจทุกปี

ร้อยละ

3.3

 

- เหตุผลของผู้ที่จะไม่กินเจในปีนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 

ปกติไม่กินอยู่แล้ว/ไม่ชอบ/ไม่อร่อย

ร้อยละ

75.9

ครอบครัวไม่มีใครกินเจ

ร้อยละ

52.7

หาซื้อยาก/ไม่สะดวก

ร้อยละ

37.8

อาหารเจมีแป้งและน้ำมันเยอะ

ร้อยละ

16.3

กลัวไม่มีแรง/หิว/ไม่อยู่ท้อง

ร้อยละ

12.8

ราคาสูงกว่าอาหารทั่วไป

ร้อยละ

10.3

อื่นๆ อาทิ ต้องให้นมบุตร มีปัญหาสุขภาพอาชีพและการทำงานไม่เอื้ออำนวย ไม่มีเชื้อจีน กลัวสารอาหารไม่ครบ ฯลฯ

ร้อยละ

14.1

 

2. วิธีจัดหา/ซื้ออาหารเจสำหรับผู้ที่กินเจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 

ซื้ออาหารที่ปรุงสำเร็จตามตลาด/ร้านอาหารที่ปักธงเจ

ร้อยละ

75.5

ทำกินเองที่บ้าน

ร้อยละ

45.6

ซื้ออาหารเจแช่แข็งตามร้านสะดวกซื้อ

ร้อยละ

23.2

ซื้อจากห้างสรรพสินค้า

ร้อยละ

16.1

สั่งแบบ online/ delivery

ร้อยละ

1.2

อื่นๆ ไปกินที่โรงเจ โรงทาน

ร้อยละ

9.3

 

3. กิจกรรมที่ท่านจะทำ/ปฏิบัติ ในช่วงเทศกาลกินเจ(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 

ทำบุญทำทาน

ร้อยละ

62.0

สวดมนต์ รักษาศีล 5

ร้อยละ

40.3

ไปไหว้เจ้า/เจ้าแม่กวนอิมที่ศาลเจ้าต่างๆ

ร้อยละ

28.7

ไปร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลกินเจ (เช่น เยาวราช ภูเก็ต หาดใหญ่ พัทยา)

ร้อยละ

12.0

ไปชม/ไปร่วมพิธีการทรงเจ้าการลุยไฟ

ร้อยละ

5.0

กินเจอย่างเดียว

ร้อยละ

39.2

 

4.มุมมองเกี่ยวกับเทศกาลกินเจในยุคไทยแลนด์4.0(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

หาซื้อสะดวกมากขึ้นมีทั้งสั่งonline /ในร้านสะดวกซื้อ

ร้อยละ

64.6

เหมาะสมกับเทรนด์ (trend) การดูแลสุขภาพ

ร้อยละ

52.6

หลายหน่วยงานมีการจัดกิจกรรม/อีเว้นส่งเสริมการกินเจมากขึ้น

ร้อยละ

42.1

คิดว่าราคาอาหารเจสูงขึ้นจากปีก่อนๆ

ร้อยละ

32.7

มีความไม่มั่นใจในส่วนผสมที่ใช้ปรุงอาหารตามร้านต่างๆกลัวมีเนื้อสัตว์เจือปน

ร้อยละ

20.6

 

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

เพื่อทราบเหตุผลของผู้ที่กินเจและไม่กินเจในช่วงเทศกาลกินเจที่จะถึงนี้ วิธีซื้ออาหารเจในปัจจุบัน ตลอดจนมุมมองของการการจัดหา/ซื้ออาหารเจในยุคไทยแลนด์ 4.0 และกิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในช่วงเทศกาลกินเจ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ 

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 

 ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนนั้นนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :  1-2 ตุลาคม 2561


วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 6 ตุลาคม 2561


ข้อมูลประชากรศาสตร์



จำนวน

ร้อยละ

เพศ



ชาย

570

47.5

หญิง

630

52.5

รวม

1,200

100.0

อายุ



18-25 ปี

67

5.6

26-35ปี

145

12.1

36-45 ปี

306

25.5

46 ปีขึ้นไป

682

56.8

รวม

1,200

100.0

การศึกษา



ต่ำกว่าปริญญาตรี

749

62.4

ปริญญาตรี

361

30.1

สูงกว่าปริญญาตรี

90

7.5

รวม

1,200

100.0

อาชีพ



ข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ

144

12.0

พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน

282

23.5

ค้าขาย/ ประกอบอาชีพส่วนตัว

422

35.2

รับจ้างทั่วไป

70

5.8

พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ

244

20.3

นักเรียน/นักศึกษา

24

2.0

อื่นๆ เช่น ว่างงาน อิสระ

14

1.2

รวม

1,200

100.0

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 07 ต.ค. 2561 เวลา : 11:38:17
04-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 4, 2024, 11:26 am