กีฬา
สสว. จับมือ ม.มหิดล ผนึกกำลัง สร้างโอกาสการพัฒนาขีดความสามารถ ยกระดับผู้ประกอบการกีฬา แข่งขันในอาเซียนและตลาดโลก


สสว. MOU จับมือ .มหิดล เรื่องความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัย และพัฒนานวัตกรรม เพื่อสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ ยกระดับผู้ประกอบการธุรกิจด้านกีฬาของประเทศไทย และส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนทั่วไป นักกีฬาสมัครเล่น และนักกีฬาอาชีพ เพื่อพัฒนาบุคลากร การฝึกอบรม และกิจกรรมต่างๆ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจด้านกีฬาของประเทศไทย

วันนี้ (วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2561) ห้องประชุม 408 อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU)ระหว่างสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล โดยบัณฑิตวิทยาลัย ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมมือทางวิชาการ เพื่อพัฒนาการศึกษา การวิจัย และพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้ประกอบการ เพื่อสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ ยกระดับผู้ประกอบการธุรกิจด้านกีฬาของประเทศไทย และส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนทั่วไป นักกีฬาสมัครเล่น และนักกีฬาอาชีพ อีกทั้งมีเจตจำนงอย่างแน่วแน่ที่จะร่วมมือในการศึกษา การวิจัย การพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้ประกอบการ การพัฒนาบุคลากร การฝึกอบรม และกิจกรรมต่าง อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจด้านกีฬาของประเทศไทย

 

 

.นพ. บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัย และพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้ประกอบการ ว่า วัตถุประสงค์ของการลงนามครั้งนี้ สสว. และ มหาวิทยาลัยมหิดล จะร่วมมือกันในกรอบวัตถุประสงค์ ดังนี้

1) สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย และพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้ประกอบการ และการบริการสังคมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้ประกอบการด้านกีฬา 2) ร่วมมือในการพัฒนาบุคลากร เสริมสร้างศักยภาพในการปฏิบัติงาน การแลกเปลี่ยนบุคลากร และทรัพยากรระหว่างกัน รวมถึงการขยายเครือข่ายความร่วมมือไปหน่วยงานต่าง ที่เกี่ยวข้อง 3) ร่วมมือในการศึกษาวิจัย พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรม และเผยแพร่องค์ความรู้ในการพัฒนาผู้ประกอบการด้านกีฬา และ 4) ร่วมมือในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการธุรกิจด้านกีฬา

 .นพ. บรรจง กล่าวต่อว่า ภายใต้บริบทโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว SME หรือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นกลไกหนึ่งและเป็นพลังสำคัญที่สนับสนุนพัฒนาการเติบโตในภาคส่วนของเศรษฐกิจของทุกประเทศ ไม่ว่าธุรกิจเล็กหรือธุรกิจใหญ่ให้เดินไปข้างหน้า และจากกระแสคนไทยที่ตื่นตัวกับกระแสรักสุขภาพ สอดรับกับการเติบโตกีฬาประเภทต่าง หรือ การออกกำลังกายใหม่ ด้วยอุปกรณ์ออกกำลังกายต่าง ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน และยกระดับธุรกิจด้านสุขภาพ  เป็นผลให้มีการสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ใหม่ หรือ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนด้านการออกกำลังกายหรือกีฬา เพื่อสุขภาพพลานามัยที่ดีของคนไทย และพัฒนาศักยภาพนักกีฬาสมัครเล่น หรือนักกีฬาอาชีพ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้นำด้านการศึกษาได้ให้ความสำคัญกับการนำองค์ความรู้จากศาสตร์ต่าง มาบูรณาการ เพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์การออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการของผู้ประกอบการ สร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการ หรือสร้างโอกาสในการต่อยอดธุรกิจด้านกีฬาให้ครบวงจร เพื่อสามารถแข่งขันในตลาดอาเซียนและตลาดโลกได้อย่างเข้มแข็ง

นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยว่า ในปีที่ผ่านมา สสว. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ SME ที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่งการพัฒนาผู้ประกอบการโดยการสร้างให้เกิดการรวมกลุ่มหรือเครือข่าย ทำให้เกิดความเข้มแข็งยิ่งขึ้น

ผอ.สสว. เผยอีกว่า สสว. ได้นำนโยบายการพัฒนาเครือข่ายหรือคลัสเตอร์มากำหนดแนวทางการส่งเสริม SME เพื่อให้สอดรับกับนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ  ผ่านโครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ในปี 2561 โดยเน้นการกระตุ้นความเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการ คำนึงถึงความต้องการของตลาด ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เน้นการพัฒนาผู้ประกอบการในเครือข่ายให้มีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ

นายสุวรรณชัย กล่าวอีกว่า สำหรับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดลครั้งนี้ เป็นการต่อยอดการทำงานของสสว. ในการส่งเสริม สนับสนุนผู้ประกอบการในธุรกิจด้านสุขภาพ จากข้อมูล สสว. คือ มีจำนวนผู้ประกอบการ SME ที่ประกอบกิจกรรมด้านกีฬา ปี 2560 จำนวน 7,534 ราย มีอัตราการขยายตัวของผู้ประกอบการ SME ที่ประกอบกิจกรรมด้านกีฬา ปี 2559 และ ปี 2560 โดยเฉลี่ย 2.7 % เฉพาะกิจกรรมด้านการจัดการแข่งขันกีฬา มีอัตราขยายตัวมากถึง 11.2 % และการดำเนินกิจการสถานที่ออกกำลังกาย 9.2%

และจากการดำเนินงานที่ผ่านมาในปี 2561 สสว. ได้ดำเนินการส่งเสริมธุรกิจทางด้านสุขภาพ ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายมวยไทยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน กรุงเทพ และปริมณฑล ให้เกิดการยกระดับศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ มากกว่า 510 ราย เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่า 20.71 ล้านบาท โดยได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ซึ่งหากมีการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องก็จะสามารถสร้างมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศอย่างมหาศาล ดังนั้น ในปี 2562 สสว.จึงได้ดำเนินการส่งเสริมผู้ประกอบการเครือข่ายธุรกิจกีฬา Sport Economyภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ให้รวมกันเป็นคลัสเตอร์ที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดย สสว. และ .มหิดล จะจัดเวทีแลกเปลี่ยน รับฟังความคิดเห็น และความต้องการเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการส่งเสริม และพัฒนาของผู้ประกอบการด้านกีฬาอย่างเป็นรูปธรรม

 “การลงนาม MOU ครั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล เตรียมองค์ความรู้ด้านกีฬา 7 หมวด เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้ประกอบการ ซึ่ง สสว. เชื่อว่า จะสามารถให้การสนับสนุน เพื่อพัฒนาผู้ประกอบ การทางด้านกีฬาให้มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ SME ได้อย่างดียิ่ง และจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรที่ดี ในการที่จะร่วมกันสนับสนุนอุตสาหกรรมด้านกีฬาในประเทศไทย ให้พร้อมที่จะก้าวไปสู่เวทีเศรษฐกิจโลกต่อไปนายสุวรรณชัย กล่าว

              .ดร.พญ. พัชรีย์ เลิศฤทธิ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย กล่าวเพิ่มเติมว่า มหาวิทยาลัยมหิดล โดยบัณฑิตวิทยาลัย  มีหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และงานวิจัยที่ครอบคลุมศาสตร์ต่าง ที่เกี่ยวข้องในด้านกีฬา ภายใต้ส่วนงานต่าง ของมหาวิทยาลัย  ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะกายภาพบำบัด คณะสาธารณสุขศาสตร์   คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และ สถาบันโภชนาการ  ซึ่งศาสตร์ต่าง ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬานี้  จะเป็นวิทยาการที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ และนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมคุณภาพ และการดูแลสุขภาพของประชาชน  รวมถึงการพัฒนาศักยภาพนักกีฬาสมัครเล่น และนักกีฬาอาชีพ  นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังมีความพร้อมและศักยภาพในการให้การสนับสนุนในด้านวิชาการ และองค์ความรู้ต่าง ในด้านกีฬาให้กับผู้ประกอบการ และสามารถสร้างโอกาสยกระดับผู้ประกอบ การ SME ได้ในหลากหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มฟิตเนต กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อนักกีฬา เป็นต้น

สำหรับศาสตร์ต่าง ที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ทางด้านกีฬา  มหาวิทยาลัยมหิดลมีครบทั้งศาสตร์ ได้แก่ เวชศาสตร์การกีฬา  โภชนาการ จิตวิทยาการกีฬา  ชีวกลศาสตร์  สรีระวิทยา การฝึกสอนกีฬา การจัดการกีฬา   ซึ่งองค์ความรู้ในศาสตร์ดังกล่าวจากส่วนงานต่าง ในมหาวิทยาลัยมหิดล  สามารถให้การสนับสนุน เพื่อพัฒนาผู้ประกอบ การทางด้านกีฬาให้มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ SME ได้อย่างดียิ่ง เช่น

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มีการสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา การร่วมมือและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ และบุคคลทั่วไป เช่น การร่วมมือกับผู้ประกอบการในการทำวิจัยเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ เช่น ชุดชั้นในสุภาพสตรีสำหรับการออกกำลังกาย รองเท้ากีฬาสำหรับกีฬาแต่ละประเภท คลินิกทางด้านกีฬา และการทดสอบผลิตภัณฑ์

สถาบันโภชนการ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มีการสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ รวมถึงการวิจัยและบริการวิชาการ ได้แก่ การประเมินภาวะโภชนาการ เครื่องมือที่ใช้วัดองค์ประกอบของร่างกาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬาและคนไข้ โปรแกรมประเมินคุณค่าสารอาหาร การให้คำปรึกษา และองค์ความรู้ด้านโภชนาการ

คณะกายภาพบำบัด มีคลินิกกายภาพบำบัดให้กับนักกีฬา หรือการดูแลนักกีฬาในการแข่งขัน การดูแลประเมินอาหารบาดเจ็บให้กับคนทั่วไป นักกีฬา และผู้ออกกำลังกาย

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มีการสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทการจัดการการกีฬา ซึ่งเน้นการทำธุรกิจทางด้านกีฬาให้มีความยั่งยืน การใช้ศาสตร์การจัดการจากหลายๆ คณะของมหาวิทยาลัย รวมถึงการจัดอบรมระยะสั้นให้ความรู้กับผู้ประกอบการด้านการกีฬา

และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ Cyborg Olympic เป็นการพัฒนาอุปกรณ์กระตุ้นคนพิการครึ่งซีกเพื่อใช้ในการแข่งกีฬาได้โดยการควบคุมทางสมอง ซึ่งอนาคตจะนำไปใช้ในการแข่งขันอีก 4 ปีข้างหน้า การพัฒนาเครื่องใช้วัดและทำนายความบาดเจ็บของนักกีฬากอล์ฟ เครื่องตรวจวัดอารมณ์และฝึกสมาธินักกีฬา เครื่องมือฝึกการต่อยมวย การพัฒนาเซ็นเชอร์วัดความแรง ความเร็วต่อสู้สำหรับการฝึกซ้อมเทควันโด้

               “ภายใต้กรอบความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงนี้ สสว. และ มหาวิทยาลัยมหิดล หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นก้าวที่สำคัญในความร่วมมืออย่างยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างและให้โอกาสผู้ประกอบการรายเล็ก รายใหญ่ และภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย นำความรู้จากศาสตร์ต่าง ที่เกี่ยวข้องไปบรูณาการ เพื่อยกระดับผู้ประกอบการภาคธุรกิจด้านการกีฬาสู่ไทยแลนด์ เอสเอ็มอี 4.0” .ดร.พญ. พัชรีย์  เลิศฤทธิ์ กล่าวในที่สุด

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 27 พ.ย. 2561 เวลา : 23:39:10
20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 9:33 pm