การตลาด
สกู๊ป นักการตลาดชี้ 5 เทรนด์ค้าปลีกมาแรงดูดเงินในกระเป๋าผู้บริโภค


เทคโนโลยีได้เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้เข้าไปช้อปปิ้งในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น ซึ่งเอ็นไวโร ประเทศไทย ระบุมี5เทรนด์สำคัญในปี 2562ที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดในวงการค้าปลีก

            
ปี2561ที่ผ่านมามีสถานการณ์ให้วงการค้าปลีกถึงกับสั่นสะเทือนมากพอสมควร เมื่อยักษ์ใหญ่ค้าปลีกในอเมริกาต่างพากันปิดตัวไปประมาณ8,828 ร้าน ไม่ว่าจะเป็นร้าน Macy, Gap, Toys R us, Walgreenหรือ Best buy ภายหลังได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้เข้าไปช้อปปิ้งในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกไทยหวาดวิตกพอสมควร

อย่างไรก็ดีแม้ว่าห้างค้าปลีกรายใหญ่จะปิดไปเป็นจำนวนมากในอเมริกาแต่ในขณะเดียวกันก็มีห้างค้าปลีกขนาดเล็กเปิดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากถึง12,663 ร้าน โดยส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ยักษ์ใหญ่ด้านอีเมิร์ซหันมาปรับตัวขยายธุรกิจในรูปแบบออฟไลน์มากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคที่ต้องการชมสินค้าจริงได้มีทางเลือกและตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น ซึ่งหนึ่งในยักษ์อีคอมเมิร์ซที่หันมาบุกค้าปลีกออฟไลน์คือAmazonด้วยการออกมาเปิดร้านAmazon Go และAmazon Book store

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้ บริษัท เอ็นไวโร ประเทศไทย จำกัดได้ออกมาเปิดเผย 5 เทรนด์สำคัญในปี 2562ที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดในวงการค้าปลีกคือ 1.Shadow shopping (not window shopping)นับจากนี้ไปจะไม่มี window shopping อีกต่อไปเมื่อก่อนนี้พฤติกรรมการWindow shopping คือดูแต่ไม่ซื้อเป็นเรื่องที่ธุรกิจค้าปลีกและนักการตลาดทำอะไรไม่ได้เพราะไม่รู้ข้อมูลว่ามีการดูสินค้าหรือไม่จึงต้องปล่อยโอกาสการขายไป

 
แต่ต่อจากนี้ไปธุรกิจค้าปลีกและนักการตลาดจะเป็นเหมือนเงาตามตัวผู้บริโภคที่จะรู้ทุกข้อมูลไม่เพียงแต่ข้อมูลการซื้อแต่รู้แม้กระทั่งว่าเราดูสินค้าอะไรอยู่ทันทีที่รู้ว่าเราดูสินค้าอยู่แต่ยังไม่ซื้อซักที ธุรกิจค้าปลีกและนักการตลาดก็จะสามารถงัดกลยุทธ์มาใช้ได้ถูกเพื่อปิดการขายให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการลดราคาเฉพาะบุคคล หรือการสรรหาสินค้าที่เราสนใจและเหมาะกับเราแม้กระทั่งการลงทุนเปิดร้านเพื่อให้เราได้ชมทดลองสินค้าเพื่อปิดโอกาสการลังเลใจ

2.Sellrounding (sell+surrounding)ถูกที่ถูกเวลา นับจากนี้ไปเตรียมตัวกันได้เลยว่าจากนี้ไป พื้นที่ขายไม่ได้จำกัดอยู่แค่ร้านค้าออนไลน์ หรือออฟไลน์เท่านั้น แต่พื้นที่รอบตัวผู้บริโภค สามารถเป็นพื้นที่ขายได้หมดไม่ว่าจะเป็นป้ายรถเมล์ ตู้เสื้อผ้าในโรงแรม ห้องน้ำ สวนสาธารณะ รายการทีวี หาดทราย เป็นต้น ด้วยคอนเซปต์“ถูกที่ถูกเวลา” เห็นได้จากการที่ปัจจุบันเริ่มมีผู้ประกอบการนำคอนเทนเนอร์มาทำเป็นสโตร์ ขายเสื้อผ้า รองเท้า ของแบรนด์ดัง เช่น H&M, Adidas ตามสวนสาธารณะและชายหาด ซึ่งที่ประเทศจีนมีการนำคอนเทนเนอร์สโตร์ชื่อ BingoBox มาตั้งตามป้ายรถเมล์ เพื่อขายขนมและเครื่องดื่มระหว่างรอ

3.Syntail (Synergistic R(E)tail )ผสมพันธุ์การค้า นับจากนี้ไปการผสมพันธุ์ของผู้ค้าต่างสายธุรกิจเพื่อให้เข้าถึงผู้ซื้อในทุกๆขั้นตอน(Journey)และทุกช่องทาง(Touch point) จะมีให้เห็นมากขึ้น เช่น ปัจจุบันAlibabaจับมือกับStarbucks เพื่อเปิดโอกาสให้คนสั่ง Starbucks online ได้หรือIkea จับมือกับ Task rabbitเพื่อขยายการบริการส่งและประกอบเฟอร์นิเจอร์ตามบ้านและ Martha Stewartจับมือกับ Marley Spoon Meal kits delivery serviceโดย Martha Stewart เป็นผู้คิดสูตรอาหารและเครื่องปรุงอันหรูหราตามออร์เดอร์ ส่วนMarley Spoon  เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดส่งอาหารสดสำหรับปรุง เป็นต้น

4.Self control ช่วยตัวเอง ผู้บริโภคทุกวันนี้ยอมที่จะแลกการบริการอันแสนสบายกับการไม่ต้องรอคิวอันแสนน่าเบื่อ  ด้วยเหตุนี้ธุรกิจค้าปลีกและนักการตลาดจึงต้องปรับกลยุทธ์ด้วยการปล่อยให้ผู้บริโภคควบคุมขบวนการซื้อด้วยตัวเองและมีทางเลือกที่จะช้อป พร้อมรับสินค้าแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ก็ได้อย่างอิสระ เช่น Amazon Go หรือ Tao Café ที่ไม่มีพนักงานมาคอยบริการซึ่งผู้บริโภคสามารถช้อปตัดเงินอัตโนมัติเดินออกโดยไม่ต้องเข้าคิว

 
 
ขณะเดียวกันWalmart ก็เปลี่ยนลานจอดรถเป็นพื้นที่รับสินค้า(Pick up area)เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าสั่งออนไลน์และมารับได้ที่ลานจอดภายใน 5 นาที สำหรับคนที่ไม่มีรถหรือซื้อของน้อยชิ้นWalmartก็มีจุดรับสินค้า(Pick up)อัตโนมัติที่เราแค่สแกนบาร์โค้ดสินค้าก็จะโหลดลงมาที่จุดรับสินค้าทันที และAlibaba เองก็มีทางเลือกให้ลูกค้ามาเลือกช้อปสินค้าของสดที่Hema supermarketโดยจะเอาสินค้ากลับบ้านหรือจะใช้บริการจัดส่ง(Delivery)ก็ได้

สำหรับเทรนด์ที่5ซึ่งเป็นเทรนด์สุดท้าย คือSentimental data เชื่อฉัน นอกจากจะชอบช่วยตัวเองแล้ว ปัจจุบันผู้บริโภคยังจะเชื่อตัวเองด้วย influencer จะเปลี่ยนจากคนที่มีชื่อเสียงเป็นตัวผู้บริโภคเอง เนื่องจากปัจจุบันความสามารถในการประมวลผลของ AI (สมองกล) สามารถเก็บข้อมูลผู้บริโภคได้โดยละเอียด พร้อมกับนำข้อมูลนั้นมาแนะนำสินค้าและให้บริการผู้บริโภคได้อย่างโดนใจ เพราะข้อมูลจากผู้บริโภคเองเป็นข้อมูลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดทำให้เกิดการซื้อที่ง่ายขึ้น ซึ่งสมัยก่อนไม่มีข้อมูลที่ประมวลผลได้ละเอียดแม่นยำเท่าทุกวันนี้  จึงทำให้ธุรกิจค้าปลีกและนักการตลาดบางบริษัทต้องวางแผนการตลาดไปในรูปแบบการจับอารมณ์ของผู้บริโภค

น.ส.สรินพร จิวานันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นไวโร ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่าจากนี้ไปธุรกิจค้าปลีกและนักการตลาดจะต้องหันมาเน้นกลยุทธ์ที่จะเปลี่ยนการดู (browse) มาเป็นการซื้อ(Buy) เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสการขาย  เพราะทุกที่รอบตัวผู้บริโภคล้วนเป็นพื้นที่ในการแสดงและขายสินค้าได้ การซื้อขายไม่จำกัดพื้นที่อีกต่อไป ส่งผลให้ผู้บริโภคซื้อง่ายขึ้นซื้อมากขึ้น

นอกจากนี้ธุรกิจที่ได้เปรียบจะต้องเป็นธุรกิจที่เข้าได้ทุกช่องทาง(Touch point)ของผู้บริโภค ไม่ใช่เฉพาะแค่ขบวนการซื้อขาย(Shopping journey)แต่ต้องวางแผนการตลาดรวมไปถึงระบบการขนส่ง(Logistic)ว่าจะทำอย่างไรให้สินค้าถึงมือผู้บริโภคได้เร็วที่สุด  ขณะเดียวกันก็ต้องทำให้ผู้บริโภคมีความสะดวกสบายมากที่สุดเพราะปัจจัยดังกล่าวถือเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญในการประสบความสำเร็จทางด้านยอดขาย  

น.ส.สนินพร ก่ลาวปิดท้ายว่าอีกหนึ่งปัจจัยที่ธุรกิจค้าปลีกและนักการตลาดจะลืมไม่ได้ คือใช้ข้อมูลของผู้บริโภคเองเป็น Influencer มากกว่าจะใช้ ดาราหรือการยัดเยียดผ่านโฆษณาหรือสงครามราคา เพราะการสร้างTrust และ Brand loyalty รูปแบบใหม่ผ่านตัสผู้บริโภคเองจะทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อใจในสินค้าที่จะซื้อมากขึ้น ซึ่งเครื่องมือที่จะเข้าถึงผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีคือ เทคโนโลยีนั่นเอง
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 12 ม.ค. 2562 เวลา : 17:35:38
24-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2024, 9:32 am