เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
"ซีพีเอฟ"รุกต่อยอดมาตรฐาน IFFO สู่กิจการในต่างประเทศ


“ซีพีเอฟ”ประกาศเดินหน้าต่อยอดมาตรฐาน IFFO Responsible Supply หรือIFFO RSหรือมาตรฐานการผลิตปลาป่นอย่างยั่งยืนในระดับสากลที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ไปยังคู่ค้าธุรกิจปลาป่นในต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าวัตถุดิบที่บริษัทใช้ทั้งหมดในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท ปลอดจากวัตถุดิบที่มาจากการทำประมงผิดกฎหมายหรือ IUU

 

 


 
 
 
 
 
น.สพ. สุจินต์ ธรรมศาสตร์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการสายธุรกิจสัตว์น้ำของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)หรือซีพีเอฟ ระบุถึงจุดยืนของบริษัทในการร่วมแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมายกับภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องต่างๆ แม้ว่าในปัจจุบันคณะกรรมาธิการยุโรปจะปลดใบเหลือง IUU ให้กับประเทศไทยแล้วก็ตาม บริษัทยังคงเดินหน้าสนับสนุนคู่ค้าในธุรกิจปลาป่นให้ดำเนินการตามมาตรฐาน IFFO RS โดยในปีนี้จะร่วมกันพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5 ราย ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแต่ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในระบบตรวจสอบ และวัตถุดิบของบริษัทด้วย

“บริษัทมุ่งพัฒนาศักยภาพคู่ค้าธุรกิจทั้งในและต่างประเทศในเรื่องระบบการตรวจสอบย้อนกลับให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน IFFO RS เพื่อให้ผู้บริโภคและคู่ค้าของเรามั่นใจได้ว่าวัตถุดิบของเรา มาจากการประมงที่ถูกกฎหมายตลอดห่วงโซ่อุปทานและในปีนี้เราจะเพิ่มจำนวนคู่ค้าที่ได้รับมาตฐานขึ้นอีกเท่าตัว”น.สพ. สุจินต์กล่าว

ทั้งนี้มาตฐานIFFO RSเป็นมาตรฐานรับรองวัตถุดิบสัตว์น้ำที่ได้มาจากการจับตามหลักเกณฑ์การประมงและมาากแหล่งที่ถูกกฎหมายตามแผนการปรับปรุงพัฒนาการประมง (Fishery Improvement Plan: FIP) ของประเทศไทย สอดคล้องกับวิธีการที่ดีในการผลิตอาหารสัตว์(Good Manufacturing Practices: GMP)ตลอดจนมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่การผลิต

“ความสำเร็จของแผนการปรับปรุงพัฒนาการประมงในประเทศไทยจะเป็นแนวทางให้กับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคในการป้องกันการประมงผิดกฎหมาย เพื่อการอนุรักษ์สัตว์น้ำใกล้สูญพันธุ์ และการส่งเสริมการประมงตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก ซึ่งกำหนดไว้โดยสหประชาชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ” น.สพ. สุจินต์ กล่าว

ปัจจุบันซีพีเอฟได้นำแนวทางปฏิบัติและองค์ความรู้ที่ได้รับจากการทำFIPในประเทศไทยมาต่อยอดกับกิจการในประเทศซึ่งบริษัทประกอบธุรกิจสัตว์น้ำอยู่ ได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินเดีย เช่น การร่วมกับสมาคมประมง บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม และรัฐบาลอินเดีย ร่างแผนการทำงานฉบับแรกภายใต้FIP เพื่อให้การประมงน้ำมันปลาซาร์ดีน ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการผลิตน้ำมันปลาในชายฝั่งตะวันตกเป็นไปอย่างยั่งยืน เมื่อปีที่ผ่านมาทำให้น้ำมันปลาซาดีนจากอินเดียได้รับการยอมรับและถูกบันทึกในเว็บไซต์ FisheryProgress.org ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ทั่วโลกให้การยอมรับในด้านการเปิดเผยข้อมูลความคืบหน้าของแผน FIP ทั่วโลกตามมาตรฐานของ the Conservation Alliance for Seafood Solutions (CASS)

นอกจากนี้วัตถุดิบปลาป่นที่ซีพีเอฟใช้ในประเทศไทยมาจากการรับซื้อปลาป่นที่มาจากโรงงานแปรรูปปลา (By-Product) จากแหล่งที่ได้รับรองมาตรฐาน IFFO RS ทั้งหมดเรียบร้อยแล้วในการดำเนินงานด้านอื่นๆนั้น น.สพ. สุจินต์ ได้เสริมว่า ซีพีเอฟจะยังคงสนับสนุนภาครัฐและองค์กรต่างๆในการแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมายในประเทศไทย และทั่วโลกอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการต่างๆ เช่น Thai Sustainable Fisheries Roundtable ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงจังหวัดสงขลา หรือ ศูนย์FLEC และ Labour Voices by LPN รวมถึงการเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการประมงระดับโลก

“บริษัทจะยังคงให้การสนับสนุนโครงการต่างๆเพื่อป้องกันการทำประมงผิดกฎหมาย สร้างความเชื่อมั่นในระบบตรวจสอบย้อมกลับ การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน และการมีห่วงโซ่อุปทานที่ปราศจาก IUU แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท” น.สพ. สุจินต์ กล่าว

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 18 ม.ค. 2562 เวลา : 16:12:47
26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 5:46 pm