แบงก์-นอนแบงก์
กสิกรไทยประกาศพันธกิจสู่ธนาคารยุคใหม่ตั้งเป้าสินเชื่อรายย่อยปีนี้โต 9-12%


กสิกรไทยประกาศพันธกิจสู่ธนาคารยุคใหม่ หวังใช้ดาต้าปล่อยกู้ปีนี้ 30,000 ล้านบาท ตั้งเป้าสินเชื่อรายย่อยปี 62 โต 9-12% จับตาตลาด CCLMVI พร้อมรุกสินเชื่อบุคคลหวังเพิ่มมาร์เก็ตแชร์เป็น 16% จาก 7%

 

    
 
 
  
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ KBANK  ยอมรับว่า เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมของธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ภาคธนาคารต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะด้านพฤติกรรมผู้บริโภคและเทคโนโลยี เห็นได้จากปริมาณธุรกรรมบนโลกดิจิทัลที่ขยายตัวต่อเนื่อง มีสัดส่วนประชากรที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ 82% ทำธุรกรรมบนโมบายแบงกิ้ง 74% และซื้อสินค้าออนไลน์  48.5% ของประชากรไทยทั้งหมด 
 
 
 
 
 
 
ภาคธนาคารไทยจึงเดินหน้าสู่การเป็นตัวกลางทางการเงินหลักที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการร่วมมือสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่สำคัญ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย อาทิ โครงการพร้อมเพย์ที่มีผู้ลงทะเบียนแล้ว 46.5 ล้านไอดี มีปริมาณธุรกรรม 4.5 ล้านรายการต่อวัน การสร้างมาตรฐานคิวอาร์ โค้ด ระบบชำระเงินสำหรับประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก มีร้านค้าใช้งานคิวอาร์ โค้ด แล้ว 3 ล้านราย การขยายศักยภาพ ITMX ระบบกลางที่รองรับธุรกรรมข้ามธนาคารให้เป็น 1,000 รายการต่อวินาที และธนาคารสมาชิกจะเพิ่มความสามารถของระบบแต่ละธนาคารเป็น 2 เท่าภายในปีนี้และภายใน 2 ปีข้างหน้านี้ คนไทยจะได้รับบริการทางเงินใหม่ ๆ จากธนาคารไทย ที่เกิดจากความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง อาทิ


 
 
นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)  เปิดเผยว่า ธนาคารตั้งเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อรวมในปี 62 ไว้ที่ 5-7% โดยแบ่งเป็น สินเชื่อธุรกิจบรรษัทเติบโต 3-5% สินเชื่อเอสเอ็มอีเติบโต 2-4% และสินเชื่อรายย่อยโต 9-12% ในส่วนของการสร้างการเติบโตของสินเชื่อรายย่อยนั้น ธนาคารจะต้องแผนหน้าแผนธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ใหม่ๆ โดยเฉพาะการสร้างรายได้จากสินเชื่อลูกค้าบุคคลที่มีจำนวนผู้กู้ยืมในตลาดนี้ราว 31.3 ล้านราย ซึ่งปัจจุบัน KBANK มีส่วนแบ่งตลาด (มาร์เก็ตแชร์) อยู่ที่ 7% ซึ่งตั้งเป้าเพิ่มเป็น 16% ในปี 62 
          
ทั้งนี้ธนาคารผนึกพันธมิตรแพลตฟอร์มชั้นนำเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจลูกค้าและช่วยวิเคราะห์ความต้องการสินเชื่อและศักยภาพในการชำระคืน แล้วส่งข้อเสนอสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัล เพื่อสร้างรายได้ใหม่ชดเชยรายด้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่ธนาคารคาดว่ารายได้ไม่ไช่ดอกเบี้ยไนปี 62 จะหดตัว 5-7% ด้วยปัจจัยท้าทายทั้งจากแนวโน้มเศรษฐกิจ การแข่งขัน และ Disruption ต่างๆ ตลอดจนการแข่งขันของธุรกิจดิจิทัลแบงกิ้งอย่างเข้มข้นที่นำไปสู่การยกเลิกค่าธรรมเนียม การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลที่มาพร้อมโอกาสและกลรผลักดันให้เกิดการเชื่อมต่อธุรกิจข้ามประเทศในระดับภูมิภาค
 
        
 
 
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย กรรมมการผู้จัดการ KBANK กล่าวว่า การที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าผนวกกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่ใช้ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น ทำให้ปริมาณข้อมูลต่างๆเพิ่มขึ้นมหาศาล การใช้ชีวิตของลูกค้ลที่มีความหลากหลายมิติ และมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ธนาคารจึงเดินหน้าเพิ่มศักยภาพด้าน Analytics ในการแปลงข้อมูลมาเป็น isight เพื่อให้รู้ใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น เพื่อเสนอบริการที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล ซึ่งธนาคารจะก้าวสู่การเป็น Data-Driven Bank อย่างเต็มตัว ทำให้ธนาคารสามารถลดต้นทุนการดำเนินงาน สามารถขยายบริการเพื่อรองรับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และช่วยลดภาระลูกค้าในการยื่นเอกสาร พร้อมมั่นใจในความปลอดภัย พร้อมตั้งปล่อยสินเชื่อวงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ของ Data-Driven Lending และจะสร้างรายได้ให้กับธนาคารในสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 50% ภายในปี 63 จากปัจจุบันที่ 5%
   
 
 
           
นายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ KBANK เปิดเผยว่า มีความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในโลกตลอดเวลาและยากจะคาดเดา เช่น การเกิดสงครามการค้า ดิจิทัลเทคโนโลยีที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค เป็นต้น  เกิดเป็นความท้าทายที่สั่นสะเทือนธุรกิจให้ต้องปรับมุมมองความคิดและกล้าที่จะเปลี่ยนเพื่อความอยู่รอดในยุคที่เรียกว่า "เศรษฐกิจผสานมิติ (Augmented Economy)"  คือ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลเทคโนโลยีมีการเชื่อมต่อโลกออนไลน์และออฟไลน์อย่างผสมผสานกลมกลืน ทุกธุรกิจจะอยู่รอดได้ต้องใช้ทักษะความชำนาญที่มีบวกกับการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากที่สุด

ซึ่งภายในปี 62 ธนาคารจะเชื่อมโยงลูกค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคใน CCLMVI ได้ด้วยการนำเสนอ 3 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ 1)ให้คำแนะนำและเชื่อมโยงพันธมิตรในท้องถิ่น (Local Partnership & Insight) ให้กับลูกค้าจากช่องทางและพันธมิตรที่มีอยู่ครบทุกประเทศ ทำให้เข้าใจบริบทของการทำธุรกิจในแต่ละประเทศ 2)ให้บริการทางการเงินเพื่อเชื่อมโยงการค้าระหว่างลูกค้ากับคู่ค้า (Cross-Border Value Chain Solution) ในต้นปีนี้ธนาคารจะเริ่มให้บริการ Solution ดังกล่าวในลาวและกัมพูชาก่อน โดยการนำระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยให้การชำระค่า สินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้น สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) สร้างแพลตฟอร์มการชำระเงินแห่งภูมิภาค (Single Regional Payment Platform) เพื่อสร้างความสะดวกสบายและเข้าถึงผู้บริโภครายย่อยในภูมิภาคผ่านแพลตฟอร์มของธนาคาร
          
 
 
 
 
ปัจจุบันธนาคารได้เริ่มแผนการดังกล่าวจากโครงการ "QR KBank" แอปฯ กระเป๋าเงินออนไลน์สำหรับชาวเวียงจันทน์ใน สปป.ลาว ให้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวกสบายโดยไม่ใช้เงินสด สนองนโยบายรัฐบาล สปป.ลาว นำร่องให้บริการที่ตลาดหนองจัน หรือ "ตลาดขัวดิน" เป็นพื้นที่แรก ตั้งเป้าปี 62 นี้ จะมีธุรกรรมผ่าน "QR KBank" ประมาณ 2 ล้านรายการ มูลค่ากว่า 3.6 หมื่นล้านกีบหรือประมาณ 115 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแพลตฟอร์มการชำระเงินแห่งภูมิภาค ช่วยให้ธนาคารเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้จ่ายด้วยระบบดิจิทัล (Digital Spender) ในลาวอีกด้วย พร้อมตั้งเป้าหมายขยายการให้บริการและเชื่อมต่อแพลตฟอร์มเข้าด้วยกันทั่ว CCLMVI ในอนาคต
          
ธนาคารตั้งเป้าหมายการเติบโตรายได้จากธุรกิจในต่างประเทศกว่า 8 เท่าจากปัจจุบันที่มีรายได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปีข้างหน้า ท่ามกลางความท้าทายที่เกิดขึ้นในยุคเศรษฐกิจผสานมิติ (Augmented Economy) ยังมีตลาด CCLMVI ที่มีศักยภาพมากมายรออยู่ ด้วยกลยุทธ์ข้างต้นธนาคารพร้อมเดินหน้าด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเข้าถึง เข้าใจความต้องการของผู้บริโภคท้องถิ่นและเชื่อมต่อระบบการชำระเงินทั่วภูมิภาค พร้อมพาธุรกิจไทยข้ามพรมแดนสู่การเติบโตไปด้วยกัน

 

LastUpdate 29/01/2562 19:47:14 โดย : Admin
20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 12:41 pm