ไอที
สกู๊ป "พานาโซนิค"ปลุกกลยุทธ์"ไลฟ์สไตล์ อัพเดท"สู่รายได้แสนล้าน


พานาโซนิค คอร์ปอเรชั่นประกาศกลยุทธ์ของบริษัทในอนาคตเพื่อก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 ด้วยการร่วมสร้างสรรค์หรื “Co-Creation” ไปพร้อมกับคู่ค้า ลูกค้า และผู้บริโภคในชีวิตประจำวัน ตั้งเป้าปี 2563รายได้แตะ1 แสนล้านบาท


 
 
 
 
หลังจากปี2561ที่ผ่านมาเป็นปีที่พานาโซนิคทั่วโลกได้เฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ของการก่อตั้งพานาโซนิคในประเทศญี่ปุ่นภายใต้แนวคิด“100 ปี แห่งความไว้วางใจ(A Century of Reliability)โดยหนึ่งในกิจกรรมสำคัญคือการจัดงาน“Cross-Value Innovation Forum”ไปเมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งนายคาซูฮิโระ ซึกะ ประธานบริษัทพานาโซนิค คอร์ปอเรชั่น ก็ได้ออกมาเน้นย้ำถึงกลยุทธ์ของพานาโซนิคในอนาคต เพื่อก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 ด้วยการร่วมสร้างสรรค์ หรือ “Co-Creation” ไปพร้อมกับคู่ค้า ลูกค้า และผู้บริโภคในชีวิตประจำวัน

นอกจากนี้ยังได้มีการประกาศวิสัยทัศน์และทิศทางการดำเนินธุรกิจของพานาโซนิคทั่วโลกในอีก100 ปีข้างหน้าภายใต้กลยุทธ์ของธุรกิจใหม่ที่เรียกว่า“ไลฟ์สไตล์ อัพเดท (Lifestyle Update)”เพื่อเปลี่ยนฐานะจาก“ผู้ผลิต”เครื่องใช้ไฟฟ้าสู่การเป็นผู้นำเสนอไลฟ์สไตล์อันทันสมัย ด้วยการนำเสนอสินค้าและบริการที่พัฒนาขึ้นมาจากความชอบและวิถีชีวิตของผู้ใช้แต่ละราย

อย่างไรก็ดีแม้ว่าจะเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ในการดำเนินธุรกิจในอีก100 ปี ข้างหน้า แต่พานาโซนิคก็ยังคงยึดถือแนวคิดหลัก"A Better Life, A Better World"ตามแนวทางของผู้ก่อตั้งพานาโซนิคที่จะไม่หยุดนิ่งต่อการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในการมอบชีวิตที่ดีกว่าการแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมอย่างยั่งยืน เพื่อโลกที่ดียิ่งขึ้น ด้วยการคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นส์ใน 3 หมวด ได้แก่ Living Space, Mobility และ Business to Business

สำหรับรายละเอียดของสินค้าทั้ง 3หมวดดังกล่าว ในกลุ่ม Mobilityจะประกอบไปด้วยแพลตฟอร์ม รถอเนกประสงค์ขนาดเล็ก ที่สามารถนำไปออกแบบตามการใช้งานเป็นได้ทั้งรถ สำหรับครอบครัว รถไปรษณีย์ รถโรงเรียน ขณะที่กลุ่ม B2B จะเป็นการดำเนินธุรกิจแบบความร่วมมือธุรกิจต่อธุรกิจ เช่น ร้านอาหารประเภทฮอทพอทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน มีการใช้แขนกลอัตโนมัติของพานาโซนิคในกระบวนการเตรียมอาหาร เป็นต้น และสุดท้าย Living Space จะเป็นการนำเสนอโซลูชั่นต่างๆที่นำมาใช้ในบ้านของพานาโซนิค ซึ่งพัฒนาโดย Panasonic Beta บริษัทลูกที่มีฐานปฏิบัติการอยู่ที่ Silicon Valley

จากแนวทางการดำเนินธุรกิจในอีก 100 ปีที่บริษัทแม่ได้ออกมาประกาศดังกล่าว ในส่วนของประเทศไทยเองก็ได้เตรียมวางกลยุทธ์ขยายธุรกิจตามแนวทางของบริษัทแม่อย่างจริงจัง เริ่มจากการวางเป้าหมายสู่รายได้ 1 แสนล้านบาทในปี 2563 ด้วยการเดินหน้าพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ทั้งที่เคยมีในประเทศไทยและไม่เคยมีในประเทศไทยเข้ามาทำตลาด

นายฮิเดคาสึ อิโตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทพานาโซนิคในประเทศไทย กล่าวว่าบริษัทได้เตรียมวางแผนสำหรับการนำแนวทางดังกล่าวมาใช้ทั้งในด้านการตลาด มุ่งเน้นการนำเสนอประสบการณ์ใหม่และคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าควบคู่ไปกับศึกษาความต้องการของตลาดในประเทศ ซึ่งจากการที่บริษัทเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยนานถึง 50 ปี พบว่าผู้บริโภคชาวไทยให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตที่ดี ความสะดวกสบายและความปลอดภัย

ดังนั้นโซลูชั่นQuality Air For Life (ควอลิตี้ แอร์ ฟอร์ ไลฟ์)จึงถือเป็นหนึ่งในโซลูชั่นที่พานาโซนิคจะนำเสนอให้กับคนไทย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพราะคุณภาพของอากาศเป็นสิ่งใกล้ตัวกับทุกคนอันส่งผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับการใช้ชีวิตในที่อยู่อาศัย

 
 
 
 
นอกจากนี้ผู้บริโภคยุคใหม่ยังมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในอนาคต ที่มาพร้อมความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการใช้ชีวิตภายในบ้านและชุมชนซึ่งจากพฤติกรรมดังกล่าว ทำให้พานาโซนิคได้มีการนำเสนอ Home Automation ระบบควบคุมการทำงานภายในบ้าน ที่รวมเอาความสะดวกสบายไว้ในหนึ่งเดียว โดยสร้างความแตกต่างตามคอนเซ็ปต์ Smart & Safety Life เพื่อช่วยยกระดับความปลอดภัยของชีวิตผู้อยู่อาศัย ด้วยการควบคุมการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน ทั้งในกลุ่มสินค้า IP Camera ความคมชัดระดับ Full HD ที่มีระบบอินฟาเรดใช้งานได้แม้ในที่มืด รวมทั้งระบบ Panasonic Home Automation สามารถเปิดปิดไฟแสงสว่างและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านสมาร์ทโฟนแม้อยู่นอกบ้าน

ส่วนแผนการดำเนินธุรกิจในปี2562นี้ พานาโซนิคประเทศไทยยังคงเดินหน้าเปิดตัวสินค้านวัตกรรมใหม่ๆ ทั้ง4กลุ่มสินค้าเข้ามาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากกลุ่มที่ 1 Appliances Company (AP)ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัว เครื่องเสียง เครื่องปรับอากาศ ตู้แช่ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมเพรสเซอร์) เป็นต้น 2. Eco Solutions Company (ES)ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับโคมไฟติดเพดาน หลอดไฟ อุปกรณ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับระบบน้ำ วัสดุตกแต่งภายในบ้าน ระบบระบายอากาศ ระบบเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์รักษาพยาบาลและจักรยานไฟฟ้า เป็นต้น

3.Connected Solution Company (CNS) นำเสนอโซลูชั่นต่างๆรวมถึงการพัฒนา การเชื่อมต่อระบบ การบำรุงรักษา และระบบปฏิบัติการซึ่งมีเป้าหมายหลักไปยังธุรกิจเกี่ยวกับการบิน โรงงานอุตสาหกรรม เอนเตอร์เทนเม้นท์ ธุรกิจค้าปลีก ระบบขนส่งและพื้นที่สาธารณะ เป็นต้น 4. Automotive & Industrial Systems Company (AIS) ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับระบบข้อมูลและความบันเทิงในรถยนต์ รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับมัลติมีเดียในรถยนต์ แบตเตอรี่ในรถยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรม เป็นต้น

 
 
 
 
 
พร้อมกันนี้ยังมีแผนที่จะนำสินค้าที่ไม่เคยมีในประเทศไทยเข้ามาผลิตและทำตลาดในประเทศไทยเพิ่มเติม เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นอีกหนึ่งฐานการผลิตสินค้า เพื่อการส่งออกที่สำคัญของพานาโซนิคเห็นได้จากสัดส่วนรายได้ของพานาโซนิค ประเทศไทยในปี 2561 ที่กำลังจะปิดรอบบัญชีในสิ้นเดือน มี.ค.นี้ที่ประมาณ 91,000 ล้านบาท โดยสัดส่วน80%มาจากการส่งออก ส่วนที่เหลืออีก20%มาจากการทำตลาดในประเทศ และจากแผนการดำเนินธุรกิจดังกล่าว คาดการณ์ว่า พานาโซนิค ประเทศไทยในสิ้นปีบัญชี 2562 นี้น่าจะมีรายได้อยู่ที่ 95,000 ล้านบาท ซึ่งปีนี้มั่นใจจะมีรายได้เติบโตตรงตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างแน่นอน หลังจากปี 2561 เติบโตทรงตัว ส่วนปี 2563 คาดการณ์ว่าจะมีรายได้เพิ่มเป็น 1 แสนล้านบาท โดยสัดส่วนรายได้หลัก 80% ยังคงมาจากการส่งออกสินค้าไปทั่วโลก

จากการให้ความสำคัญของการส่งออกดังกล่าวทำให้พานาโซนิค ประเทศไทยมีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ส่วนจะเป็นกลุ่มสินค้าไหนนั้น ยังไม่สามารถเปิดเผยได้เนื่องจากเป็นความลับของการทำธุรกิจในกลุ่ม B2B
 

LastUpdate 24/02/2562 21:30:32 โดย : Admin
27-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 27, 2024, 12:42 am