เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
สสว.ติดอาวุธSMEพัฒนาSME Knowledge Center สู่ภาคเหนือตอนล่าง มุ่งเจาะตลาดผลไม้ไทยไปจีน


สสว.ติดอาวุธSMEพัฒนาSME Knowledge Center สู่ภาคเหนือตอนล่างมุ่งเจาะตลาดผลไม้ไทยไปจีน ภายใต้งานพัฒนาองค์ความรู้สำหรับSME(Knowledge Center) พร้อมก้าวสู่ความเป็น Modernization


 
 
 
 
 
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)ในฐานะหน่วยงานหลักในการดำเนินงานพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนผู้ประกอบการSMEsได้จัดกิจกรรมอบรมสัมนา ในหัวข้อ“เจาะตลาดผลไม้ไทยไปจีน:ศักยภาพผลไม้ไทยในตลาดจีน”ภายใต้งานพัฒนาองค์ความรู้สำหรับSME (Knowledge Center) เพื่อส่งเสริมและให้ความรู้กับผู้ประกอบการตั้งแต่การเริ่มก่อตั้งธุรกิจจนถึงระดับที่สามารถต่อยอดสู่สากล โดยมีผู้แทนสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดร.เพชรมณี ดาวเวียง รองผู้อำนวยการ ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจSMEs ปฏิบัติงานช่วยควบคุม กำกับ ศูนย์ให้บริการSMEs ครบวงจร (OSS)เป็นประธานเปิดงาน พร้อมเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดจีน นางอุไร สุวรรณวงศ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงปักกิ่ง อดีตกงสุลฝ่ายการเกษตร สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกวางโจว มาถ่ายทอดการเข้าสู่ตลาดจีนอย่างมีประสิทธิภาพ ในหัวข้อ“เจาะตลาดผลไม้ไทยไปจีน: ศักยภาพผลไม้ไทยในตลาดจีน

ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดอาวุธให้SMEไทยก้าวไปสู่ตลาดสากลที่ทันสมัย Modernization ด้วย “SPEED”หรือกลยุทธ์5หลักปฏิบัติ คือ S - SMART ฉลาดรอบรู้ P - Proactive ทำงานในเชิงรุก E - Efficiency ทำงานมีประสิทธิภาพ E - Exclusive มีความพิเศษเฉพาะตัว และ D - Digitalization ปรับกระบวนการทำงานสู่ระบบดิจิทัล
 
 
 
 
 
 
 
การที่ผู้ประกอบการSMEจะสามารถเข้าสู่ตลาดการค้าโลกได้นั้น มีความจำเป็นที่ต้องเข้าใจตลาดเป็นอย่างมาก เพื่อให้ผู้ประกอบการทางภาคเหนือตอนล่างได้เข้าใจวิธีการเข้าสู่ตลาดส่งออกผลไม้ไปจีน SMEKNOWLEDGE CENTER ได้จัดเตรียมข้อมูลเชิงลึกและศึกษาทิศทางการดำเนินธุรกิจในจีนเพื่อให้การเข้าสู่ตลาดจีนมีประสิทธิภาพมากที่สุด จีนเป็นตลาดส่งออกผลไม้ที่สำคัญของไทย ทั้งนี้หลังจากการเปิดเสรีการค้าผักและผลไม้ตามพิกัดอัตราศุลกากรหมวดที่ 07-08 ระหว่างไทย-จีนในกรอบ FTA ASEAN- จีน ซึ่งเริ่มมีผลในทางปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2003 เป็นต้นมาได้ส่งผลให้มีการขยายการค้าสินค้า ผักและผลไม้เพิ่มขึ้น ด้วยจำนวนประชากรและเศรษฐกิจของประเทศจีนที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์อย่างมากจากการส่งผลไม้เมืองร้อนมายังตลาดจีน
 
จากสถิติตัวเลขการนำเข้าผลไม้ไทย ปัจจุบันรัฐบาลจีนอนุญาตให้ผลไม้ไทยนำเข้าได้จำนวน 23 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลำไย กล้วยไข่ลิ้นจี่ มะพร้าว มะละกอ มะเฟือง มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ เงาะ สับปะรด ละมุด เสาวรส น้อยหน่า มะขาม ขนุน สละ ลองกอง ส้มเขียวหวาน ส้ม ส้มโอ ตามลำดับ โดยผลไม้ที่ผู้บริโภคชาวจีนนิยมบริโภคมากได้แก่ ทุเรียน มังคุดลำไย กล้วยไข่ ชมพู่ทับทิมจันทร์ มะม่วงน้ำดอกไม้ เงาะโรงเรียน ส้มโอ มะขามหวาน เป็นต้นนอกจากนี้ผลไม้แปรรูป เช่น ลำไยอบแห้ง ทุเรียนทอดกรอบ/อบกรอบ กล้วยอบกรอบ ขนุนอบกรอบ สับปะรดอบกรอบและมะขามหวานแกะเมล็ด เป็นต้น ก็ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีนเช่นกัน

สำหรับช่องทางการนำเข้าผลไม้ไทยสู่ตลาดจีนส่วนใหญ่จะนำเข้าผ่านทางฮ่องกง - เซินเจิ้น -กวางโจว เนื่องจากการดำเนินพิธีศุลกากรในช่องทางนี้มีความสะดวก รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อย หลังจากนั้นผลไม้ไทยจะถูกนำมาที่ตลาดกลางผลไม้เจียงหนาน แล้วจึงกระจายไปยังมณฑลและเมืองอื่นๆของจีนต่อไป
 
ทั้งนี้รูปแบบการซื้อ-ขายผลไม้ไทยในตลาดกลาง ผลไม้เจียงหนานยังคงใช้ระบบการฝากขาย(Consignment) ซึ่งเป็นวิธีการค้าที่มีมาแต่ดั้งเดิมและต้องอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างผู้ส่งออกไทยและผู้นำเข้าจีน โดยจะไม่มีการเปิด L/C จากนั้น ผู้นำเข้าจะนำผลไม้ไปขายต่อให้กับพ่อค้าจีนตามเมืองต่างๆและขยายโอกาสทางการค้าของผลไม้ไทยในตลาดจีน สิ่งที่ต้องดำเนินการในช่วงแรกคือ การประชาสัมพันธ์ให้ชาวจีนรับรู้ถึงคุณภาพของผลไม้ไทยอย่างกว้างขวาง ให้ความรู้ในวิธีการบริโภคและสารอาหารที่มีคุณประโยชน์แก่ผู้บริโภคชาวจีน ตลอดจนการถนอมคุณภาพผลไม้ไทยแก่ผู้นำเข้าชาวจีน
 
อย่างไรก็ตามภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุน ผู้ส่งออกผลไม้ไทยเข้ามาค้าขายในประเทศจีนอย่างเป็นระบบและเป็นมาตรฐานสากล คือ สามารถเป็นผู้นำเข้าทำการตลาดและบริหารจัดการได้เองทั้งระบบตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ผู้ส่งออกผลไม้ไทยจะต้องจัดทำเอกสารหลักฐานประกอบการนำเข้าของผู้ประกอบการชาวจีนให้ถูกต้อง ชัดเจนและต้องหมั่นติดตามตรวจสอบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกฎระเบียบ ข้อบังคับของรัฐบาลจีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

สสว.คาดหวังว่าคลังข้อมูลองค์ความรู้สำหรับผู้ประกอบการหรือSME Knowledge Centerนี้จะเป็นศูนย์รวมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือให้คำปรึกษาธุรกิจด้านตลาด โดยเฉพาะตลาดส่งออกสินค้าไปจีนหรือด้านอื่นๆที่ผู้ประกอบการมีความต้องการ โดยคาดว่ามีผู้เข้ารับการพัฒนาองค์ความรู้ตลอดทั้งปี2562ไม่น้อยกว่า4,000 ราย และได้รับความรู้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ75 ซึ่งคาดว่าในปีแรกนี้ จำนวนการเข้าใช้บริการคลังข้อมูลองค์ความรู้ ไม่น้อยกว่า 200,000 ครั้ง

ทั้งนี้ในงาน“เจาะตลาดผลไม้ไทยไปจีน:ศักยภาพผลไม้ไทยในตลาดจีน”ผู้ประกอบการหรือผู้สนใจทำธุรกิจของตนเอง จะสามารถต่อยอดความเข้าใจจากเนื้อหาดังกล่าวและใช้ศูนย์ความรู้ SME Knowledge Center เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จอย่างรวดเร็วในการเข้าสู่ตลาดจีนอย่างมีความพร้อม มีระบบและมีมาตรฐาน จัดโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 25 ก.พ. 2562 เวลา : 17:41:35
25-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 4:56 am