หุ้นทอง
"โกลเบล็ก"ฟอร์มดี ครึ่งปีแรก โชว์ผลตอบแทน Structured Note 7-10%


“โกลเบล็ก”ฟอร์มดี ครึ่งปีแรก โชว์ผลตอบแทน Structured Note 7-10% ส่งซิกครึ่งปีหลัง เตรียมงัดหุ้น SET 50 ดึงนลท.ลงทุนหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงเพิ่ม


บล.โกลเบล็ก ปลื้มหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง “Structured Note” ครึ่งแรกปี 62 ประสบความสำเร็จกว่า 90% โดยที่ผ่านมามีหุ้นอ้างอิงเด่น 5 ตัว ในSET 50 อาทิ TOP-BJC-IVL- PTTEP-DTAC สร้างผลตอบแทนให้ลูกค้าเฉลี่ย 7-10% เชื่อครึ่งปีการลงทุนในรูปแบบอนุพันธ์แฝง ยังคงสดใส ระบุ ภาวะดอกเบี้ยลดลง ยิ่งเสริมความน่าลงทุนให้ Structured Note เหตุ ให้ดอกเบี้ยสูงกว่า10 % ต่อปี ขณะที่การแข่งขัน เพิ่ม ดันมูลค่าตลาดรวม ในอนาคตแตะระดับ 1 แสนล้านบาท จากปี 61 ที่ 7 หมื่นล้านบาท โดยครึ่งปีแรก 62 มีมูลค่าตลาดรวมแล้ว 3.5 หมื่นล้านบาท

 
 
 
 
นายวิสูตร พาราทิพย์เจริญชัย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS เปิดเผยว่าภาพรวมของการออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง “Structured Note” ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 มีการลงทุนอย่างคึกคัก โดยหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (GBS12)ได้มีการคัดกรองหุ้น อ้างอิงจาก SET 50 ที่มีความแข็งแกร่งด้านปัจจัยพื้นฐาน ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา มีหุ้นอ้างอิงเด่น อาทิ TOP, BJC, IVL, PTTEP และ DTAC เป็นหุ้นที่เหมาะกับการเข้าลงทุนใน หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (GBS12) ช่วงที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการผันผวนตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้จากการเลือกแนะนำหุ้น เพื่อลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ของบล.โกลเบล็ก จากการประเมินอัตราผลตอบแทนของกลุ่มนักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นอนุพันธ์ ดังกล่าว ปรากฏว่า นักลงทุนได้รับผลตอบแทนโดยเฉลี่ย 7-10% ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนของจำนวนนักลงทุนที่ลงทุนผ่านหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (GBS12)กว่า 90% ประสบความสำเร็จในการได้รับผลตอบแทนทั้งหมด

ปัจจุบัน บล.โกลเบล็ก มีลูกค้าที่ลงทุนในตราสารหนี้และหันมาลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงเพิ่มมากขึ้น เพราะได้ดอกเบี้ยที่สูงกว่า ซึ่งมีหลายๆ ชุดที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่า 10 % ต่อปี และลงทุนระยะสั้นเพียง 1 เดือน แถมคุ้มครองเงินลงทุน 80 % แต่อย่างไรก็ตามหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงมีความเสี่ยงมากกว่าหุ้นกู้ปกติ เนื่องจากเมื่อครบ 1 เดือน ปรากฏว่าหุ้นอ้างอิงลงต่ำกว่าราคาใช้สิทธินักลงทุนก็จะได้รับหุ้นอ้างอิงตัวนั้นไปแทนการรับเงินสด

“ครึ่งปีแรก 62 ที่ผ่านมา นักทุนได้รับการไถ่ถอนหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง เป็นเงิน 65 % และหุ้นคิดเป็น 35 % จากการติดตามนักลงทุนดังกล่าว พบว่าราคาหุ้นอ้างอิงปรับตัวสูงกว่าต้นทุนหุ้นอ้างอิงที่ได้รับไปเกือบทั้งหมด และมีกำไรจากการขายหุ้น และนำเงินจำนวนดังกล่าวมาซื้อหุ้นกู้อนุพันธ์แฝงซ้ำ ซึ่งได้รับทั้งดอกเบี้ยและกำไรจากการขายหุ้น นักลงทุนประสบความสำเร็จจากการลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงมากกว่า 90 % เนื่องจากผู้แนะนำการลงทุนของบริษัทฯมีประสบการณ์สูง ได้คัดเลือกผลิตภัณฑ์ และหุ้นอ้างอิงได้ที่เหมาะกับสภาพตลาด” นายวิสูตรกล่าว

ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง บล.โกลเบล็ก กล่าวถึงทิศทางหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง “Structured Note” ในครึ่งปีหลัง 2562 ว่า นักลงทุนหันมาสนใจหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงมากขึ้น เนื่องจากแนวโน้มดอกเบี้ยที่ลดลง ผู้ออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงมีมากขึ้น นักลงทุนมีความรู้ความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์มากขึ้น รวมทั้ง บริษัทหลักทรัพย์ และธนาคาร ต่างพร้อมที่จะเป็นผู้เสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงให้กับลูกค้าตนเองที่ต้องการดอกเบี้ย หรือผลตอบแทนสูงๆ แต่ก็รับความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะธนาคารซึ่งมีกลุ่มลูกค้าเงินฝาก และซื้อตราสารหนี้กับธนาคารจำนวนมาก หากมีการเลือกประเภทหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง และหุ้นอ้างอิงให้เหมาะกับสภาพตลาดก็จะให้ผลตอบแทนมากกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ และตั๋วแลกเงิน (B/E)

อย่างไรก็ตามในกรณีเลวร้ายจากการลงทุนหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงยังได้หุ้นใน SET 50 ซึ่งมีสภาพคล่องสูงพื้นฐานดี จึงมั่นใจว่าตลาดหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงของไทยยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก และคาดว่ามีมูลค่าตลาดแตะระดับ 100,000 ล้านบาทได้ในอนาคต จาก 2561 ที่มีมูลค่าตลาดรวม 70,000 ล้านบาท และครึ่งปีแรก 62 มีมูลค่าตลาดรวม 35,000 ล้านบาท จากผู้ออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่เป็นสถาบันการเงินในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 16 ราย โดยส่วนใหญ่ยังคงอ้างอิงเป็นหุ้นถึง 77% และขายให้กับนักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนรายใหญ่ทั้งหมด

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 24 ก.ค. 2562 เวลา : 16:49:30
16-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 16, 2024, 12:08 pm