การค้า-อุตสาหกรรม
ซีพีเอฟ ชูนวัตกรรม "อาหารสุกรรักษ์สิ่งแวดล้อม" ร่วมรักษ์โลก


บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ โชว์นวัตกรรมอาหารสุกรรักษ์สิ่งแวดล้อม ใช้กับฟาร์มสุกรทั่วประเทศและขยายผลไปยังธุรกิจผลิตอาหารสุกรอีก 7 ประเทศ    ลดปริมาณการปลดปล่อยแก๊สแอมโมเนียสู่สิ่งแวดล้อม 

  
 
 
 
 
ดร.ไพรัตน์ ศรีชนะ  รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส  สายงานวิชาการอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ   กล่าวว่า บริษัทฯให้ความสำคัญกับการคิดค้นนวัตกรรมด้านการผลิตอาหารสัตว์และพัฒนาเทคโนโลยีด้านโภชนศาสตร์สัตว์ที่เป็นมิตรกับชุมชนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาสูตรอาหารสัตว์ให้เหมาะสมกับความต้องการของสัตว์ ประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไบโอเทคโนโลยี โดยอาหารสุกรรักษ์สิ่งแวดล้อมที่คำนึงถึงการลดปริมาณสารอาหารส่วนเกินในสิ่งปฏิกูลที่สุกรขับถ่ายออกมา เช่น ปริมาณไนโตรเจนซึ่งเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม โดยล่าสุดได้นำแนวคิดดังกล่าวขยายผลไปยังธุรกิจไก่ไข่และธุรกิจไก่เนื้อด้วย  
 
 
 
 
 
 
ปัจจุบัน ฟาร์มสุกรของซีพีเอฟทั่วประเทศใช้อาหารสุกรรักษ์สิ่งแวดล้อม และได้ขยายผลไปยังธุรกิจผลิตอาหารสุกรในอีก 7 ประเทศ ได้แก่ ลาว  กัมพูชา เวียดนาม  ฟิลิปปินส์  จีน ไต้หวัน และรัสเซีย  โดยใน ปี 2561   อาหารสุกรรักษ์สิ่งแวดล้อม  สามารถลดปริมาณไนโตรเจนในมูลสุกรได้ถึงร้อยละ  20-30  เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ประมาณ  90 ตัน หรือเทียบเท่ากับการปลูกป่า 3,600 ไร่  ซึ่งสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 41,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์
 
 
 
 
“อาหารสุกรรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่เพียงช่วยลดต้นทุนการผลิตอาหารแต่ยังลดปริมาณไนโตรเจนที่สุกรขุนขับออกมาในรูปสิ่งขับถ่าย หรือลดการปล่อยไนไตรเจนในรูปแอมโมเนีย ซึ่งจากการวิจัยและพัฒนาสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ในอาหารสุกรอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณโปรตีนส่วนเกินลดลงจาก 20 %   เหลือ 18 %  และมีเป้าหมายจากอาหารสุกรรักษ์สิ่งแวดล้อมไปสู่อาหารสุกรที่มีโปรตีนต่ำ“   
 
 
 
 
 
 
 
ดร.ไพรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า  ซีพีเอฟมุ่งมั่นรักษาคุณภาพในการเป็นผู้ผลิตอาหารสัตว์อย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับ 3 ด้าน คือ  1.Healthy  People  คุณภาพของอาหารสัตว์ที่ทำให้สัตว์มีสุขภาพที่ดีจะส่งผลไปถึงสุขภาพของผู้บริโภคด้วย    2. Healthy Social   อาหารสัตว์ที่นำไปใช้ต้องทำให้ทั้งเกษตรกรและคู่ค้าของบริษัทเติบโตไปด้วยกัน   และ 3.Healthy Environment การผลิตอาหารสัตว์ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย     
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 15 ส.ค. 2562 เวลา : 12:27:17
18-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 18, 2024, 3:39 pm