แบงก์-นอนแบงก์
ธ.ออมสินหนุนประชาชนออมเงินเพื่ออนาคต โดยเฉพาะผู้สูงวัย


 

ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน แสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การออมเพื่ออนาคต” สนับสนุนให้ประชาชนออมเงินเพื่ออนาคต โดยเฉพาะผู้สูงวัยเพื่อไม่ให้เป็นภาระกับลูกหลาน ระบุไทยมีการสัดส่วนการออมเงินเป็นอันดับ3 ของอาเซียน รองจากบรูไนและสิงคโปร์

 


 
ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่าจากการศึกษาของศูนย์วิจัยธนาคารออมสินพบว่าภาพรวมการออมของประเทศไทยยังคงขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยเงินฝากขยายตัวลดลงขณะที่การออมเพื่อการลงทุนในกองทุนและเงินสำรองประกันภัยขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ประกอบกับเศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐจึงทำให้เงินออมในระบบชะลอตัวลงทั้งนี้ ภาพรวมเงินฝากและเงินออมเพื่อการลงทุนประกอบด้วย (1) เงินฝากสะสมในสถาบันรับฝากเงินอยู่ที่ 18.0 ล้านล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 58.7) ขยายตัวร้อยละ 3.4 (2) เงินออมเพื่อการลงทุนจำนวน 9.9 ล้านล้านบาท (สัดส่วน
ร้อยละ 32.0) ขยายตัวร้อยละ 9.0 และเงินสำรองประกันภัย 2.7 ล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 9) ขยายตัวร้อยละ 7.4เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้คนไทยมีสัดส่วนการออมเงินต่อจีดีพีคิดเป็นอันดัน3 ของอาเซียน  โดยบรูไนเป็นอันดับหนึ่งมีสัดส่วน 56%  สิงคโปร์มีสัดส่วน 53.2%  ส่วนไทยมีสัดส่วนที่35.1% 

 
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายจากการที่ประเทศเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว เนื่องจากมีประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปสูงถึง 9.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 14.9 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ของ UN ที่กำหนดที่ร้อยละ 10.0 จะถือว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งภาวะสังคมดังกล่าวจะส่งผลกระทบให้กำลังแรงงานลดลง การบริโภคลดลง และข้อเท็จจริงพบว่า
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ของไทยมีเงินออมไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิตหลังการเกษียณอายุ ซึ่งจะทำให้ประสบปัญหาคุณภาพชีวิตที่ด้อยลง ดังนั้นการส่งเสริมการออมและการวางแผนการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน 

 
 
ธนาคารออมสินมีพันธกิจหลักในการส่งเสริมการออมและสร้างวินัยทางการเงิน และได้ดำเนินโครงการส่งเสริมฯที่เกี่ยวข้องในรูปแบบต่างๆ โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถบรรลุผลสำเร็จอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากงานวิจัยของศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน ร่วมกับสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ในโครงการสำรวจทักษะทางการเงินและการออมของลูกค้าธนาคารออมสินปี 2562 ซึ่งครอบคลุมตัวอย่างจำนวน 5,679 ตัวอย่างทั่วประเทศ ภายใต้กรอบแนวคิดขององค์การเพื่อความร่วมมือและหน่วยบริหารสื่อเพื่อสร้างภาพลักษณ์องค์กร ส่วนประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กร ฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารออมสินการพัฒนาทางเศรษฐกิจ(OECD) ซึ่งผลสำรวจพบว่าค่าเฉลี่ยทักษะทางการเงินของลูกค้าธนาคารออมสินอยู่ที่ร้อยละ 66.8 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่ลูกค้าธนาคารออมสินที่มีคะแนนร้อยละ 60.7 และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยภาพรวมของประเทศไทยที่มีคะแนนร้อยละ 61.0 (BOT2559) อีกทั้งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยประชากรของกลุ่มประเทศOECD (2558) ที่มีคะแนนอยู่ที่ร้อยละ 62.9 ผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนผลสำเร็จตามพันธกิจของธนาคารออมสินในการเป็นผู้นำในการส่งเสริมออมและสร้างวินัยทางการเงิน

 
นอกจากนี้ศูนย์วิจัยฯได้ทำการสำรวจพฤติกรรมการออมของประชาชนฐานรากจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000บาท ทั่วประเทศจำนวน2,186ตัวอย่าง พบว่าร้อยละ61.6 ของกลุ่มตัวอย่างมีเงินออม ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่อยู่ร้อยละ32.2 โดยส่วนใหญ่ของผู้ที่มีเงินออม ร้อยละ 79.9 มีการออมแบบรายเดือน จำนวนเงินออมเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000บาทต่อเดือน ทั้งนี้โดยภาพรวมการออมของประชาชนฐานรากปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบเท่าตัว แต่จำนวนเงินออมเฉลี่ยต่อครั้งลดลง 

สำหรับวัตถุประสงค์การออมของประชาชนฐานราก ส่วนใหญ่มีการออมเพื่อใช้ยามฉุกเฉิน/เจ็บป่วย(ร้อยละ 87.5) และออม เพื่อเป้าหมายต่างๆซึ่งพบว่า 3 อันดับแรก คือ ออมเพื่อเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ (ร้อยละ45.0) เป็นทุนประกอบอาชีพและเพื่อที่อยู่อาศัย(ร้อยละ 13.6) ซึ่งมีสัดส่วนเท่ากัน และซื้อยานพาหนะ (ร้อยละ 12.3) 

เมื่อสำรวจลักษณะการออมและการลงทุนที่มีในปัจจุบันของประชาชนฐานราก พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูกจ้างประจำจะมีการออมกับหน่วยงาน/บริษัทอาทิ จ่ายเงินสมทบ เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ประกันสังคมฯ และฝากกับธนาคาร ในขณะที่กลุ่มที่มีอาชีพอิสระจะฝากกับธนาคารเก็บไว้ที่บ้าน และเล่นแชร์อุปสรรคสำคัญ ที่ประชาชนฐานรากไม่สามารถออมเงินได้คือ ไม่มีเงินเหลือไว้ออม (ร้อยละ82.7) มีเหตุจำเป็นต้องใช้เงิน(ร้อยละ 55.5) และมีภาระหนี้สิน (ร้อยละ 28.0) 

สำหรับเงินสำรองของประชาชนฐานรากหากเกิดเหตุฉุกเฉินต้องหยุดงานหรือไม่มีรายได้ พบว่า ประชาชนฐานรากร้อยละ 33.7 ไม่มีเงินสำรองฉุกเฉินเลยซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วง ในขณะที่ (ร้อยละ33.3) มีเงินใช้จ่ายไม่เกิน1 เดือน และ (ร้อยละ 28.5)มีใช้จ่ายไม่เกิน 3 เดือน ถ้าหากมีเหตุฉุกเฉิน(ไม่มีรายได้) ประชาชนฐานรากจะทำอย่างไร ? พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 83.4 เลือกที่จะ ขอยืมเงินจากคนในครอบครัว/ญาติ/คนรอบข้างรองลงมาคือขายทรัพย์สินของตนเอง (ร้อยละ 34.1) และจำนอง/จำนำทรัพย์สินของตนเอง (ร้อยละ 33.1)

ทั้งนี้ปัจจุบันยอดเงินฝากของธนาคารอยู่ที่ 2.31 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสิ้นปีก่อนและทั้งปีตั้งเป้ายอดเงินฝากเติบโต 3-4% หรือเป็นเม็ดเงิน 7-8 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้สิ้นปีนี้ฐานเงินฝากของธนาคารอยู่ที่ 2.35-2.38 ล้านล้านบาท

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 31 ต.ค. 2562 เวลา : 16:11:53
26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 3:16 pm