หุ้นทอง
เอเซียพลัส เปิดกลุ่มหุ้น"ได้-เสีย" ประโยชน์ หากกนง.ลดดอกเบี้ยนโยบาย


วันนี้ (6พ.ย.)ประเด็นที่ต้องจับตาใกล้ชิดก็คือการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบที่ 7 จาก 8 รอบ ทั้งนี้ฝ่ายวิจัย บล.เอเซียพลัส หรือASP เชื่อว่ากนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่เหลือของปีนี้ 1 ครั้ง 25 bps มาที่ 1.25% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

 
 
 
ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯจึงให้น้ำหนัก กนง.จะปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมวันนี้ เนื่องจาก 1. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 2562-2563 ฟื้นตัวล่าช้า 2.เงินเฟ้อไทยล่าสุดเดือนต.ค.ขยายตัว 0.11% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือส่วนต่างระหว่างเงินเฟ้อและดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ 1.5% ปรับกว้างขึ้นเป็น 1.39% เป็นช่องว่างในการปรับลดดอกเบี้ยลงได้ 3. ค่าเงินบาทยังแข็งค่า ล่าสุดแกว่งที่ 30.1-30.2 บาทต่อดอลลาร์ นับตั้งแต่ต้นปีแข็งค่าราว 8% แข็งค่ามากสุดในภูมิภาค จึงคาดหวังกนง.มีโอกาสลดดอกเบี้ยรอบนี้
 
 
 
นอกจากนี้ฝ่ายวิจัยฯมองว่าหากวันนี้กนง.ปรับลดดอกเบี้ยฯตามคาดเชื่อว่าจะเป็น Sentiment เชิงบวกระยะสั้นต่อค่าเงินบาทให้ชะลอการแข็งค่า ขณะที่ประเมินหุ้นกลุ่มที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ย ได้แก่ กลุ่มเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่มีโครงสร้างสินเชื่อที่เป็นอัตราคงที่สูง (ยกเว้น IFS) ส่วนต้นทุนการกู้ยืมของกลุ่มส่วนใหญ่ เป็นหุ้นกู้หรือเงินกู้ยืมจากแบงก์ ดังนั้นเมื่อดอกเบี้ยปรับตัวลงจะทำให้ต้นทุนของกลุ่มเช่าซื้อถูกลง โดยเฉพาะบริษัทที่มีสัดส่วนหนี้สินระยะสั้นต่อระยะยาวมากกว่ากลุ่ม ซึ่งสามารถปรับต้นทุนให้เหมาะสมได้มากกว่า ได้แก่ ASK, SAWAD, THANI
 
แต่เนื่องจากหุ้นในกลุ่มนี้เกือบทั้งหมด ฝ่ายวิจัยฯแนะนำ Switch ยกเว้น MTC ที่ฝ่ายวิจัยฯเตรียมปรับไปใช้ Fair value ปี 63 ที่ 71 บาท จะมี Upside 20% ซึ่ง MTC เป็นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลงขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กมีโครงสร้างสินเชื่อที่เป็นดอกเบี้ยคงที่สูง แต่มีโครงสร้างเงินฝากบางส่วนเป็นดอกเบี้ยลอยตัว จึงเป็นบวกต่อ NIM  เช่น TCAP และ KKP 
 
หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงจะทำให้อัตราการผ่อนชำระต่องวดของผู้กู้ที่อยู่อาศัยลดลง ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นและได้ Sentiment เชิงบวกจากมาตรการกระตุ้น คือการลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนอง หุ้นในกลุ่มนี้ที่ชอบคือ LH , PSH และSPALI
 
ด้านหุ้นปันผลสูงการปรับลดดอกเบี้ยจะกดดันให้ผลตอบแทนจากตราสารหนี้ลดลง แต่ไม่น่าปรับลงมากนัก โดยปัจจุบัน Bond yield 10 ปีของไทยอยู่ระดับต่ำที่ 1.59% ลดลงจากต้นปี 2562 ที่อยู่ราว 2.58% ในทางตรงข้ามมีโอกาสที่เม็ดเงินจะย้ายมาลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น หุ้นปันผลสูง ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ แนะนำคาดหวัง Dividend Yield มากกว่า 6% คือ MCS, รวมถึง LH และ KKP
 
ส่วนหุ้นกลุ่มที่เสียประโยชน์ หากกนง.ปรับลดดอกเบี้ย ได้แก่ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะทำให้แบงก์ต้องปรับลดลดดอกเบี้ยเงินกู้ตามมา ส่งผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยรับและ NIM โดยเฉพาะแบงก์ขนาดใหญ่ เช่น BBL, KTB, KBANK, SCB

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 06 พ.ย. 2562 เวลา : 19:34:08
26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 12:40 am