เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
กระทรวงอุตฯ-รายใหญ่อาหาร-ค้าปลีกมั่นใจอาหารเพียงพอบริโภคในประเทศ


กระทรวงอุตสาหกรรม มั่นใจ อาหารในประเทศ เพียงพอความต้องการของคนในประเทศ หลังรายใหญ่อาหาร-ค้าปลีก ยืนยัน มีสินค้ามากพอรองรับ และสั่งเดินเครื่องผลิตเพิ่มแล้ว หลังก่อนหน้าผลิตไม่เต็มกำลัง


ดร.กฤชนนท์ อัยยปัญญา รองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยผ่านfacebook ว่าจากการประชุมร่วมกับรองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ สภาอุตสาหกรรม และผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่ในเมืองไทย เกี่ยวกับสถานการณ์อาหารในประเทศไทยว่าประเทศไทยมีโรงงานแปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม 53,642 โรงงาน ผลิตอาหารปีละ 3 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นครัวของโลก ที่นอกจากผลิตให้คนในประเทศแล้ว ยังส่งออกไปต่างประเทศด้วยมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท นับเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับ 11 ของโลก

 
 
 
 
ทั้งนี้ข้าวสารของไทยมีผลผลิตปีละ 18.7 ล้านตัน ขณะที่ที่ผ่านมาการบริโภคภายในประเทศมีปริมาณ 9 ล้านตัน และนำเอาไปแปรรูปอีก 1.5 ล้านตัน ซึ่งยังมีปริมาณข้าวเหลืออีกมาก

ขณะที่น้ำดื่ม ไทยมีกำลังการผลิต 444 ล้านลิตรต่อเดือน ปัจจุบันผลิตอยู่ 76% กำลังปรับเพิ่มกำลังการผลิต
ด้านบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งปกติผลิตอยู่ 10 ล้านซองต่อวัน แต่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 15 ล้านซองต่อวัน ซึ่งขณะนี้กำลังปรับเพิ่มการผลิต
ส่วนปลากระป๋อง ไทยมีกำลังการผลิต 2 หมื่นตันต่อเดือน ปัจจุบันใช้กำลังการผลิตเพียง 50% ซึ่งขณะนี้อยู่ในขบวนการปรับเพิ่มอัตราการผลิต

 
 
จากเหตุการณ์ปัจจุบัน ผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอาหาร พูดตรงกันว่าสถานการณ์ยังหนักน้อยกว่าเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 เนื่องจากในช่วงนั้น ระบบขนส่งใช้การไม่ได้

ด้านห้างแม็คโคร แจ้งว่า ประชาชนในกรุงเทพฯ ออกมาซื้อของมากขึ้นกว่าเดิมเป็นเท่าตัว แต่ต่างจังหวัดยังปกติ ภาพรวมจึง ยังถือว่าเพิ่มขึ้นไม่เยอะมาก ยังรับมืออยู่ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เติมสินค้าบนชั้นวางไม่ทัน ตอนนี้แก้ไข เพิ่มพนักงานวางสินค้าและพนักงานขนส่ง

7/11 ยืนยันว่า กว่า 1.1 หมื่นสาขา ทั่วประเทศ ยังมีสินค้าบริการประชาชนแน่นอน ตลอด 24 ชั่วโมง จะไม่ให้ขาดสินค้า
ด้าน CPF แจ้งว่า การผลิตอาหาร 1.2 ล้านกิโลกรัม ยังเพียงพอแน่นอน โดยมีจุดกระจายสินค้ามากกว่า 100 จุดเพื่อกระจายตามร้านค้าต่างๆทั่วประเทศ มีประสบการณ์จากการเป็นหนึ่งในผู้กระจายสินค้าในอู่ฮั่นมาก่อน พร้อมรับวิกฤตการณ์
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 18 มี.ค. 2563 เวลา : 15:17:12
19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 9:27 pm