หุ้นทอง
10 หุ้นที่มีราคาต่ำกว่า Book Value


มูลค่าทางบัญชี (Book Value) ก็คือ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัท (Net Asset Value) ตามงบดุล สามารถคำนวณได้จากนำสินทรัพย์รวมลบด้วยหนี้สินรวม และเหลือเป็นส่วนของผู้ถือหุ้น

 
มิสเตอร์ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ คุณฐิติเมธ โภคชัย วันนี้ขออธิบายให้เห็นและเข้าใจง่ายขึ้น จากตัวตัวอย่างเช่น

บริษัท ABC มีมูลค่าสินทรัพย์รวมเท่ากับ 100 ล้านบาท และมูลค่าหนี้สินรวมเท่ากับ 80 ล้านบาท ดังนั้น มูลค่าทางบัญชีของบริษัทจะเท่ากับ 20 ล้านบาท

หรืออีกนัยหนึ่งถ้าบริษัทขายสินทรัพย์และจ่ายหนี้สินทั้งหมด ส่วนของผู้ถือหุ้นหรือมูลค่าสินทรัพย์สุทธิทางบัญชีของบริษัทจะเท่ากับ 20 ล้านบาท
 
 
ในขณะที่มูลค่าตามราคาตลาด (Market Value) คือ มูลค่าของบริษัทตามราคาหุ้น (ในปัจจุบัน) คูณด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมด ซึ่งมูลค่าตามราคาตลาดจะถูกประเมินมูลค่า ตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ นักลงทุนที่มีต่อบริษัทนั้นๆ
 
หนึ่งในอัตราส่วนทางการเงินยอดนิยมในการเปรียบเทียบราคาหุ้นกับมูลค่าทางบัญชีที่นักลงทุนคุ้นเคยกันดี คือ Price to Book Value (P/BV Ratio) เป็นการคำนวณจากราคาตลาดของหุ้น หารด้วยมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (ส่วนของเจ้าของ) ซึ่งเป็นการบอกให้รู้ว่าราคาหุ้น ณ ขณะนั้น สูงเป็นกี่เท่าของมูลค่าทางบัญชีของหุ้นตัวนั้น ยิ่งซื้อหุ้นได้ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีมากเท่าไหร่ยิ่งดี (P/BV Ratio ต่ำ) แสดงว่าสามารถซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีของบริษัท
 
ถ้า P/BV Ratio เท่ากับ 1 เท่า หมายความว่า นักลงทุนจ่ายเงินในการเป็นเจ้าของหุ้นตัวนั้นเท่ากับเจ้าของ เช่น ราคาหุ้น 10 บาท และมีมูลค่าหุ้นทางบัญชี 10 บาทต่อหุ้น ค่า P/BV Ratio ที่ได้ออกมาเท่ากับ 1 เท่า (10/10 = 1) หมายความว่า ถ้าเจ้าของมีหุ้นมูลค่า 1 บาทต่อหุ้น วันนี้นักลงทุนจะซื้อหุ้นตัวนี้ได้ 1 บาท เท่ากับเจ้าของ
 
ถ้า P/BV Ratio มีค่ามากกว่า 1 เท่า หมายความว่า นักลงทุนจ่ายเงินเพื่อเป็นเจ้าของหุ้นตัวนั้นมากกว่าเจ้าของ เช่น ราคาหุ้นเท่ากับ 10 บาท และมูลค่าหุ้นทางบัญชี 8 บาทต่อหุ้น ค่า P/BV Ratio ที่ได้ออกมาเท่ากับ 1.25 เท่า (10/8 = 1.25) หมายความว่า ถ้าเจ้าของมีหุ้นมูลค่า 1 บาทต่อหุ้น วันนี้นักลงทุนจะซื้อหุ้นตัวนี้แพงกว่าเจ้าของ 25 สตางค์
 
ถ้า P/BV Ratio มีค่าน้อยกว่า 1 เท่า หมายความว่า นักลงทุนจ่ายเงินเพื่อเป็นเจ้าของหุ้นตัวนั้นต่ำกว่าเจ้าของ เช่น ราคาหุ้น 10 บาท และมูลค่าหุ้นทางบัญชีเท่ากับ 12 บาทต่อหุ้น ค่า P/BV Ratio เท่ากับ 0.83 เท่า (10/12 = 0.83) หมายความว่า ถ้าเจ้าของมีหุ้นมูลค่า 1 บาทต่อหุ้น วันนี้นักลงทุนจะซื้อหุ้นตัวนี้ถูกกว่าเจ้าของ 17 สตางค์
 
ดังนั้น หากหุ้นที่มี P/BV Ratio มีค่าน้อยกว่า 1 เท่า ถือเป็นโอกาสดีของนักลงทุน เพราะจะได้ซื้อหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม P/BV Ratio ที่ต่ำกว่า 1 เท่า ไม่ได้แปลว่า ราคาหุ้นจะถูกเสมอไป เพราะอาจจะมาจากการถูกประเมินมูลค่าสินทรัพย์สุทธิที่สูงเกินไป หรือผลประกอบการของบริษัท กำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ รวมถึงการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่มีลักษณะขาดสภาพคล่อง
 
การวิเคราะห์ค่า P/BV Ratio เพื่อประเมินมูลค่าหุ้น ย่อมไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ดังนั้น นักลงทุนควรใช้เครื่องมือการวิเคราะห์อื่นๆ ตัวเลขผลประกอบการของบริษัท รวมถึงการติดตามข้อมูลข่าวสารควบคู่ไปด้วย
 
นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติม โดย คุณปริพรรห์ ปริยอุดมทรัพย์ มองว่า 1.อย่ามองข้ามหุ้น P/BV Ratio สูงๆ เพราะว่าการบันทึกมูลค่าตามบัญชีนั้น ทรัพย์สินบางอย่าง ไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเลขแล้วเอาไปใส่ในงบการเงินได้ ทำให้ทรัพย์สินใดก็ตามที่มีลักษณะแบบนี้ จะไม่มีการบันทึกลงในงบการเงิน เช่น ความน่าเชื่อถือของตราสินค้า ยี่ห้อของบริษัท ความเก่งกาจของผู้บริหาร พนักงาน ซึ่งถ้าบริษัทไหนมีทรัพย์สินประเภทนี้เยอะ มูลค่าตามบัญชีก็จะต่ำ และอาจส่งผลให้ P/BV Ratio สูง

ดังนั้น ถ้านักลงทุนเลือกหุ้นโดยพิจารณาแค่มี P/BV Ratio ต่ำ และมองข้ามหุ้นที่มี P/BV Ratio สูง ไม่แน่ว่าอาจกำลังมองข้ามโอกาสดีในการลงทุนก็ได้
 
2. อย่าเลือกแต่หุ้น P/BV Ratio ต่ำๆ เป็นธรรมดาของนักลงทุนที่เมื่อเห็นของที่มี “มูลค่าต่ำๆ” แล้ววิ่งเข้าหา แต่ในบางกรณี P/BV Ratio ต่ำๆ อาจจะต่ำโดยธรรมชาติของอุตสาหกรรมที่มักจะไม่ได้ซื้อขายกันที่ P/BV Ratio สูงๆ ก็ได้ หรือหุ้นตัวนั้นอาจไม่ดีจริงจนถึงขั้นที่นักลงทุนให้ค่าน้อยมาก ทำให้ P/BV Ratio ต่ำมาก แต่การที่นักลงทุนจะรู้ว่า P/BV Ratio ที่ควรจะเป็นมีค่าเท่าไหร่นั้น ก็ต้องดูอัตราส่วนทางการเงินอื่นๆ รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นร่วมด้วย
 
3. หุ้นขึ้นลงด้วยกำไรไม่ใช่มูลค่าตามบัญชี P/BV Ratio มูลค่าตามบัญชี P/BV Ratio เหมาะแก่การใช้วิเคราะห์ความถูกความแพงเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ได้บอกว่าน่าซื้อ น่าขาย ดีหรือไม่ดี เพราะ P/BV Ratio คำนึงถึงมูลค่าหุ้นตามบัญชีเป็นหลัก ซึ่งในความเป็นจริง เวลาหุ้นขึ้นหรือลงไม่ได้ขึ้นลงตามมูลค่าตามบัญชี แต่ขึ้นลงด้วยกำไร ถ้าบริษัททำธุรกิจเก่ง มีกำไรเพิ่มขึ้น หุ้นก็ต้องขึ้นแน่นอน แม้ว่ามูลค่าหุ้นตามบัญชีจะลดลงก็ตาม
 
เงื่อนไขในการคัดกรอง
 
1. P/BV Ratio ต่ำกว่า 1 เท่า (ข้อมูล ณ 24 เมษายน 2563)
2. รายได้รวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558 – 2562)
3. กำไรสุทธิต้องเป็นบวก (ห้ามขาดทุน) ต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558 – 2562)
4. P/E Ratio ต่ำกว่า 10 เท่า (ข้อมูล ณ 24 เมษายน 2563)
 

บันทึกโดย : วันที่ : 25 พ.ค. 2563 เวลา : 09:28:06
19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 3:29 pm