หุ้นทอง
การแข็งค่าเงินบาทรอบนี้ มีข้อจำกัดในการแข็งค่าแตกต่างจากอดีต


ประเด็นทิศทางค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ กลับมาแข็งค่ากลับมาอีกครั้ง ถ้านับตั้งแต่ 1 เม.ย. 2563  คือ เงินบาทขึ้นไปทำจุดสูงสุด 33 บาทและแกว่งตัวในทิศทางขาลง จนล่าสุด ทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันอยู่  31.56 บาทต่อดอลลาร์ในปัจจุบัน หรือแข็งค่ารวมราว 4.6% และแข็งค่าเป็นลำดับ 2 รองรูเปียะห์อินโดนีเซียที่แข็งค่าราว 12%


หากพิจารณาในอดีต คือ เงินบาทแข็งค่ารอบที่ใกล้ที่สุด คือ กลาง ธ.ค. 2561- 30 ธ.ค.2562 กล่าวคือ 15 ธ.ค.2561 เงินบาทอยู่ที่  33 บาท และแข็งค่าต่อเนื่อง จนถึงสิ้นปี ณ.31 ธ.ค.2562 อยู่ที่ 29.68 บาท หรือแข็งค่าตลอดทั้งปี2562 ราว 10%

ดังนั้นฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย หรือ ASPS ประเมินว่าในช่วง 2Q63-3Q63 ค่าเงินบาทจะแข็งค่าแบบมีข้อจำกัด หรือ ไม่แข็งค่าลงไปแรงเหมือนปี  2562  ทั้งนี้มีเหตุผลสนับสนุน คือ

Fund Flow จากตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้   แม้จะไหลออกคล้ายกันทั้ง 2 รอบ  คือ (นับตั้งแต่ต้นปี 2563-ปัจจุบัน (ytd)  ต่างชาติขายสุทธิตลาดหุ้นรวม 1.92 แสนล้านบาท และขายสุทธิตราสารหนี้รวมกัน  1.38 แสนล้านบาท)  เทียบกับตลอดปี 2562 ต่างชาติขายตลาดหุ้นไทย ราว 4.5 หมื่นล้านบาท และขายตราสารหนี้ 7.9 หมื่นล้านบาท  (ดังรูป)   แม้ระยะสั้น mtd ต่างชาติจะกลับเข้ามาซื้อ แต่หากมองไปในอนาคต  valuation ตลาดหุ้นไทยที่แพงเมื่อเทียบกับเพื่อนบาท  ทำให้มีข้อจำกัดการไหลเข้า (Flow ออก ทำให้บาทอ่อนค่า)
 
 
ขณะที่ต้นตอที่ทำให้เงินบาทที่แข็งค่ามาจาก Flow ที่มาจากดุลบัญชีเดินสะพัด หรือ กลไกการค้าระหว่างประเทศ หากพิจารณาหลักๆ คือ

ดุลการค้า (สีน้ำเงินเข้ม) ตั้งแต่ต้นปี-ปัจจุบัน(Ytd)  ไทยเกินดุลการค้านับตั้งแต่ต้นปี 1.05 หมื่นล้านเหรีญ   เทียบกับทั้งปี 2562 เกินดุลการค้ารวมกัน 2.66  หมื่นล้านเหรีญ  หากมองช่วงที่เหลือของปีนี้ คือ คาดดุลการค้าจะชะลอการเกินดุล เนื่องจาก ภาคส่งออกมีแนวโน้มส่งลดเศรษฐกิจโลกที่ชะลอ และคาดว่าการส่งออกทองคำและ อาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกินดุลการค้าในเดือนในงวด 1Q2563 จะค่อยๆลดลง

ดุลบริการ (สีเขียว)   :  (Ytd) ขาดดุลบริการรวมกันราว 4.77 พันเหรียญฯ  เทียบกับปี 2562 เกินดุลบริการ  1.12 หมื่นล้านเหรียญฯ เนื่องจากภาคท่องเที่ยวของไทยยังขยายตัว หากมองช่วงที่เหลือของปีเชื่อว่า นักท่องเที่ยวจะยังชะลอการเข้าไทยและอยุ่ในระดับต่ำมากจนถึงปลายปี ผลจาก COVID-19
 

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ :  ASPS คาดกระทบภาคส่งออก คือ ผู้ส่งออกไทยแข่งขับกับประเทศในภูมิภาคลำบากขึ้น เพราะเมื่อเงินบาทแข็งค่า ราคาสินค้าส่งออกของไทย ในมุมมองต่างชาติ สินค้าเราจะดูแพงกว่า

ผลต่อบริษัทจดทะเบียน  : คาด Sentiment เชิงลบต่อส่งออก, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มส่งออกอาหาร

บันทึกโดย : วันที่ : 04 มิ.ย. 2563 เวลา : 15:58:51
26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 9:48 pm