คุณภาพชีวิต
กรุงเทพโพลล์ ผลสำรวจเรื่อง ''ประเมินความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการ COVID-19''


กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ  ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง ประเมินความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการ COVID-19  โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,214 คน พบว่า

 

ในภาพรวมประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการ COVID-19  ในด้านต่างๆ เฉลี่ย 3.79 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน ซึ่งแปลผลได้ว่ามีความพึงพอใจมาก โดยด้านที่ได้คะแนนมากที่สุดคือ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ COVID-19 ได้ 4.23 คะแนน (ความพึงพอใจมากที่สุด) รองลงมาคือ การบริหารจัดการ ควบคุม แก้ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ได้ 4.08 คะแนน (ความพึงพอใจมาก) การบริหารจัดการจัดการเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาให้กับประชาชนและการต่อต้านและป้องกันข่าวลวง (fake news) ได้ 3.43 คะแนนเท่ากัน (ความพึงพอใจมาก)             

เมื่อถามว่ากังวลต่อการกลับมาแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19  ในรอบ 2  มากน้อยเพียงใดพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.5 มีความกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 49.5 กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่า พ.ร.ก. ฉุกเฉินมีส่วนต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 มากน้อยเพียงใดพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 76.7 มีส่วนต่อการควบคุมค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 23.3 มีส่วนต่อการควบคุมค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

สำหรับข้อคำถาม จากนโยบายที่นายกฯ  แถลงการณ์วันที่ 17 มิ.ย. 2563 ท่านคิดว่าการขับเคลื่อนประเทศด้านใด ที่จะช่วยกำหนดอนาคตประเทศ ภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.3 เห็นว่าเป็นด้านความเป็นอยู่ของประชาชน รักษาระยะห่าง ใช้ชีวิต New Normal รองลงมาร้อยละ 42.8 เห็นว่าเป็นด้านเศรษฐกิจ การค้าต่างประเทศ และร้อยละ 32.5 เห็นว่าเป็นด้านการสาธารณสุข พัฒนาการรักษา วัคซีนป้องกัน               

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้    

1. คะแนนความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการ COVID-19  ในด้านต่างๆ

 การแปลความหมายผลการวิเคราะห์ดังนี้

ค่าเฉลี่ย 4.21 – 5.00          หมายถึง     มีความพึงพอใจมากที่สุด

ค่าเฉลี่ย 3.41 – 4.20          หมายถึง     มีความพึงพอใจมาก

ค่าเฉลี่ย 2.61 – 3.40          หมายถึง     มีความพึงพอใจปานกลาง

ค่าเฉลี่ย 1.81 – 2.60          หมายถึง     มีความพึงพอใจน้อย   

ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.80          หมายถึง     มีความพึงพอใจน้อยที่สุด

2. ความกังวลต่อการกลับมาแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19  ในรอบ 2 

ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 37.1 และมากที่สุดร้อยละ 13.4)

ร้อยละ

50.5

ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 33.9 และน้อยที่สุดร้อยละ 15.6)

ร้อยละ

49.5

3. ความเห็นต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉินมีส่วนต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 มากน้อยเพียงใด

ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 53.6 และมากที่สุดร้อยละ 23.1)

ร้อยละ

76.7

ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 15.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 7.8)

ร้อยละ

23.3

4. ข้อคำถามจากนโยบายที่นายกฯ  แถลงการณ์วันที่ 17 มิ.ย. 2563 ท่านคิดว่าการขับเคลื่อนประเทศด้านใด ที่จะช่วยกำหนดอนาคตประเทศ ภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19

 


LastUpdate 27/06/2563 09:48:55 โดย : acnews
24-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2024, 1:30 am